FootNote ประวัติศาสตร์แห่งการ ยุบสภา บทเรียนต่อ ประยุทธ์ จันทร์โอชา
ในบรรยากาศแห่งความปั่นป่วนทางการเมืองก่อนนำไปสู่การตัดสินใจยุบสภา ไม่ว่าจะเป็นภายในต้นปี 2565 ไม่ว่าจะเป็นภายใน ต้นปี 2566 ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
มีความจำเป็นเป็นอย่างสูงที่จะต้องนำเอาประวัติศาสตร์ของการยุบสภาย้อนกลับมาทบทวนอย่างจริงจัง
เป็นประวัติศาสตร์ยุคใกล้ในทางการเมือง
ไม่ว่าการยุบสภาของ นายชวน หลีกภัย เมื่อเดือนมิถุนายน 2537 ไม่ว่าการยุบสภาของ นายบรรหาร ศิลปอาชา เมื่อเดือนตุลา คม 2538 ไม่ว่าการยุบสภาของ นายชวน หลีกภัย ในเดือนพฤศจิกายน 2544
ถามว่าเป็นความสุกงอมของนายกรัฐมนตรีแต่ละคนหรือเนื่อง จากถูกบีบคั้นจากสถานการณ์กระทั่งจำเป็นต้องยุบสภา
ถามว่าแล้วจากการตัดสินใจยุบสภาผลการเลือกตั้งเป็นเช่นใด
นี่ย่อมเป็นคำถามที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และคณะเสนาธิ การจำเป็นต้องขบคิดพิจารณาและค้นหาคำตอบก่อนการตัดสินใจครั้งสำคัญในทางการเมือง
กล่าวโดยสรุป ไม่ว่าในยุค นายชวน หลีกภัย ไม่ว่า นายบรรหาร ศิลปอาชา ไม่ว่า นายชวน หลีกภัย รอบที่ 2 การตัดสินใจยุบสภาล้วนมาจากปัจจัยภายใน
นั่นก็คือ ความขัดแย้งภายในของรัฐบาล ความไม่สามารถบริหารราชการต่อไปได้โดยราบรื่น
เมื่อปี 2536 เนื่องจากพรรคพลังธรรมถอนตัวออกจากรัฐบาล เมื่อปี 2538 เนื่องจากเกิดความขัดแย้งภายในพรรคชาติไทย เมื่อปี 2539 เนื่องจากเกิดการหยุดชะงักและเห็นว่าเป็นเวลาอันเหมาะสม
หลังยุบสภาเมื่อปี 2536 นายบรรหาร ศิลปอาชา ได้เป็นนายก รัฐมนตรี หลังการยุบสภาเมื่อปี 2538 พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ได้เป็น
หลังยุบสภาเมื่อปี 2539 นายทักษิณ ชินวัตร ได้เป็น
มีความเชื่อมั่นเป็นอย่างสูงว่า ไม่ว่าจะมีการยุบสภาเมื่อใดโอกาสที่นายกรัฐมนตรีจะยังเป็นของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีสูงมากกว่าคนอื่น
กระนั้น หากพิจารณาจากบทเรียนในประวัติศาสตร์ก็จะเห็น
เห็นในชะตากรรมของ นายชวน หลีกภัย ของ นายบรรหาร ศิลปอาชา ของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
การยุบสภาของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จึงสำคัญ