Builder.ai เปิดตัว Natasha (นาตาชา) รุ่นเบต้า ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ซอฟท์แวร์ที่ขับเคลื่อนโดยระบบ AI

Home » Builder.ai เปิดตัว Natasha (นาตาชา) รุ่นเบต้า ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ซอฟท์แวร์ที่ขับเคลื่อนโดยระบบ AI

วันนี้ Builder.ai ได้เปิดตัว Natasha (นาตาชา) รุ่นเบต้า ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ซอฟท์แวร์ที่ขับเคลื่อนโดยระบบ AI รายแรกของโลก ซึ่งเกิดจากความพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะพัฒนาซอฟต์แวร์ด้วย Builder Studio 3.0 เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีนี้ได้อย่างทั่วถึง นับเป็นครั้งแรกที่ Natasha (AI) สามารถโต้ตอบกับลูกค้าได้ ควบคู่กับความสามารถในการลดอัตราการเกิดข้อผิดพลาดและความแปรปรวนของมนุษยตลอดกระบวนการพัฒนาซอฟท์แวร นับตั้งแต่เริ่มมีความคิดในหัวครั้งแรกไปจนถึงเมื่อแอปพลิเคชั่นพร้อมใช้งานอยู่ในมือ ซึ่งนับเป็นส่วนที่ยากที่สุดของการพัฒนาระบบโดยมนุษย์ทั้งหมด เพราะความแปรปรวนของมนุษย์มักส่งผลต่อความสม่ำเสมอและความสามารถในการคาดการณ์ของแต่ละงาน ส่งผลต่อระยะเวลาการทำงาน รวมไปถึงค่าใช้จ่ายที่บานปลาย

ด้วยความสามารถและศักยภาพของ Natasha ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงกระบวนการพัฒนาระบบ จากขั้นตอนการทำงานที่ต้องผ่านการปรึกษาซึ่งใช้เวลานาน จนกลายเป็นกระบวนการที่ราบรื่น คาดการณ์ได้ สม่ำเสมอ และทำซ้ำได้ง่าย ดังนั้นผลิตภัณฑ์ทุกชิ้นที่สร้างขึ้นจึงมีคุณภาพและมีกระบวนการที่ไร้ที่ติเหมือนกัน ในเวอร์ชั่นเบต้านี้ Natasha จะเป็นส่วนหนึ่งของทั้ง Builder Studio เพื่อดูแลประสบการณ์การแชทสำหรับลูกค้า เปรียบเสมือนเจ้าหน้าที่ที่รับฟังการสนทนาของลูกค้าพร้อมฟีเจอร์การแท็กอัตโนมัติ ก่อนส่งคำถามไปยังฝ่ายดูแลลูกค้าผ่านการแชท ซึ่งจะทำให้มั่นใจได้ว่าทุกการสนทนานั้นขับเคลื่อนโดยข้อมูลเชิงลึกจากบทสนทนาทั้งหมด

ภารกิจของ Builder.ai คือการเป็นสะพานให้ทุกความคิดได้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์เต็มรูปแบบ เพื่อให้ลููกค้าสามารถควบคุมอนาคตของพวกเขาได้อย่างเต็มที่” คุณ Sachin Dev Duggal ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานกรรมการบริหารของ Builder.ai กล่าว “เราได้เปิดตัว Builder Studio 3.0 ใหม่พร้อมกับ Natasha รุ่นเบต้า เพื่อผลักดันสิ่งที่เราทุกคนเชื่อว่าจะต้องเป็นไปได้ ลองนึกภาพโลกที่คุณสามารถหยิบโทรศัพท์ คุยกับ Natasha และมีแอปของคุณเองใน AppStore อีก 3 วันต่อมา นี่คือสิ่งที่เรากำลังสร้างขึ้นเพื่อยุคแห่งอนาคต”

Natasha สามารถจัดการงานได้แบบเรียลไทม์ด้วยความโปร่งใสและความสม่ำเสมอที่ไม่เหมือนใคร โดยลดระยะเวลาของงาน จากหลายสัปดาห์เหลือแค่ไม่กี่ชั่วโมง เธอมีหลักการคิดที่สมเหตุสมผลในการแปลงไอเดียให้เป็นฟีเจอร์ต่างๆ แบ่งการทำงานเพื่อให้สามารถเสร็จภารกิจไปได้ในเวลาพร้อมๆกันเพื่อความรวดเร็วในการสร้างระบบ เลือกนักพัฒนาที่ดีที่สุด กำหนดระยะเวลาการทำงาน และคำนวณงบประมาณ ซึ่งก่อนหน้านี้เราต้องทำเองทั้งหมด โดยขั้นตอนแรกของการเริ่มพัฒนาระบบหรือการแปลงความคิดให้อยู่ในรูปแบบเอกสารข้อมูลจำเพาะ  ซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 2-6 สัปดาห์ ผ่านการประชุมหลายสิบครั้งเป็นเวลาหลายสัปดาห์ จนกว่าผลิตภัณฑ์จะเริ่มเป็นรูปเป็นร่าง แต่ด้วย Natasha ทุกอย่างสามารถเกิดขึ้นได้โดยใช้เวลาเพียงหนึ่งชั่วโมง

Builder.ai ได้รับการยอมรับให้เป็นส่วนหนึ่งของ Gartner 2021 Magic Quadrant สำหรับการพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อประสบการณ์ที่หลากหลาย (Multiexperience Development Platform) ในส่วนของ Visionary หรือ ‘ผู้มีวิสัยทัศน์’ Gartner กล่าวว่า “ผู้มีวิสัยทัศน์ แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับตลาด MXDP พร้อมกับความรู้ด้านเทคนิคและความเป็นเลิศในการเข้าสู่ตลาดเพื่อการพัฒนา” เราเชื่อว่าการที่ Gartner เลือก Builder.ai เป็นหนึ่งในสามหน้าใหม่ใน Magic Quadrant นี้ เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรม ความเข้าใจตลาด และแผนการเติบโตเชิงกลยุทธ์ Gartner ประเมินบริษัทต่างๆ ในด้านความสมบูรณ์ของวิสัยทัศน์และประสิทธิภาพในการดำเนินการ รวมไปถึงแพลตฟอร์มที่ขับเคลื่อนด้วย AI ของ Builder.ai ที่ได้อยู่ในตำแหน่งที่สมบูรณ์แบบมากที่สุดบนแกนด้านขวา โดย Builder.ai ช่วยให้ธุรกิจที่ไม่มีความรู้ด้านเทคโนโลยีหรือไม่มีเวลาทำเอง สามารถสั่งซื้อซอฟต์แวร์ที่กำหนดเองได้

 04_usd_-scaled

แพลตฟอร์มแบบดั้งเดิม (low-code/no-code/SaaS) มุ่งไปที่การใช้งานสำหรับผู้เชี่ยวชาญ ที่ต้องผ่านการฝึกอบรมมาก่อน แต่สิ่งเหล่านี้ไม่ได้ลบความเชี่ยวชาญออกจากสมการ ทั้งยังจำเป็นต้องเสริมด้วยบริการระดับมืออาชีพที่มีประสบการณ์ที่ใช้แพลตฟอร์มที่เกี่ยวข้อง

การได้รับการยอมรับจาก Gartner Magic Quadrant ทำให้เห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้นเกี่ยวกับความเชื่อของบริษัทที่ว่าลูกค้าต้องการซอฟต์แวร์ที่ “สร้างขึ้นสำหรับพวกเขา” ไม่ใช่ซอฟต์แวร์ที่ต้องสร้างเอง ซึ่งทำให้ลูกค้าไม่จำเป็นต้องพึ่งผู้เชี่ยวชาญ โดยรวบรวมเอาฟีเจอร์ที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ เหมือนการต่อเลโก้ ที่ครอบคลุม AI สำหรับ Machine Learning, Computer Vision และ Knowledge Graph เอาไว้ด้วยกันเพื่อช่วยลดขั้นตอนที่ลูกค้าต้องลงมือเองออกไป แล้วจึงเลือกผู้เชี่ยวชาญจากเครือข่ายที่สามารถพัฒนาแพลตฟอร์มต่อไปจนจบ ส่วนที่ต่างจากแพลตฟอร์มอื่นๆ คือลูกค้าจะได้รับสำเนาของโค้ดทั้งหมด ซึ่งทำให้พวกเขาสามารถควบคุมเทคโนโลยีของตนได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงช่วยให้แอปฯที่สร้างบน Builder.ai ได้เข้าไปอยู่ใน AppStore และ Google Play (แอป LCNC ส่วนใหญ่จะใช้ภายในองค์กรเท่านั้น)

“ตั้งแต่เดือนเมษายน 2020 เราได้เห็นรายได้สุทธิรายเดือนเพิ่มขึ้นถึง 12  เท่าสำหรับผลิตภัณฑ์ Builder Studio และมีลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้น 6 เท่าในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ในฐานะผู้จัดการผลิตภัณฑ์เสมือน Natasha จะช่วยส่งเสริมประสบการณ์และกำลังผลิตของลูกค้าเหล่านี้” คุณ Sachin Dev Duggal กล่าวเสริม “การพัฒนาพนักงานอัจฉริยะอย่าง Natasha เป็นกระบวนการของการเรียนรู้และการปรับแต่งอย่างต่อเนื่อง เธอจะพัฒนาและเรียนรู้ต่อไปตามเวลา ขณะที่เธอได้รับข้อมูลมากขึ้นและมีประสบการณ์ในการมีส่วนร่วมกับลูกค้ามากขึ้น”

Natasha ขับเคลื่อนโดยระบบ AI  ที่บริษัทสร้างขึ้นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาจากแอปพลิเคชัน Machine Learning (ML) หลายตัว ซึ่งรวมถึง Natural Language Processing (NLP) การแนะนำฟีเจอร์และแม่แบบตลอดจนแบบจำลองทางสถิติสำหรับการกำหนดราคาและการประมาณระยะเวลาการทำงานทั้งหมดนี้ขับเคลื่อนโดย Knowledge Graph ที่กำลังรอการจดสิทธิบัตรของ Builder.ai แต่สิ่งที่ทำให้ Natasha พิเศษกว่า AI อื่นๆก็คือศักยภาพในการให้แนะนำของเธอ ซึ่งเธอเรียนรู้และปรับตัวกับทุกการสนทนาใหม่เพื่อพัฒนาสิ่งที่เธอรักซึ่งก็คือการสร้างซอฟต์แวร์ให้ดีขึ้นนั่นเอง

Gartner ไม่รับรองผู้จำหน่าย ผลิตภัณฑ์ หรือบริการใดๆ ที่ปรากฎในเอกสารการวิจัย และไม่แนะนำให้ผู้ใช้เทคโนโลยีเลือกเฉพาะผู้ขายที่มีคะแนนสูงสุดหรือตำแหน่งอื่นใด เอกสารเผยแพร่งานวิจัยของ Gartner ประกอบด้วยความคิดเห็นขององค์กรวิจัยและที่ปรึกษาของ Gartner (Gartner’s Research & Advisory) และไม่ควรตีความว่าเป็นข้อเท็จจริง Gartner ปฏิเสธการรับประกันทั้งหมด ไม่ว่าโดยชัดแจ้งหรือโดยนัย ที่ข้องเกี่ยวกับการวิจัยนี้ รวมถึงการรับประกันใดๆ เกี่ยวกับความสามารถในการซื้อขายหรือความเหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะ

Gartner และ Magic Quadrant เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของ Gartner, Inc. และ/หรือบริษัทในเครือในสหรัฐอเมริกาและนานาชาติ และขอสงวนลิขสิทธิ์ ได้รับอนุญาตให้ใช้มา ณ ในที่นี้

ข่าวประชาสัมพันธ์

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ