ARV-AIS 5G ต่อยอดความร่วมมือในพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ ดึงศักยภาพปัญญาประดิษฐ์

Home » ARV-AIS 5G ต่อยอดความร่วมมือในพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ ดึงศักยภาพปัญญาประดิษฐ์
ARV-AIS 5G ต่อยอดความร่วมมือในพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ ดึงศักยภาพปัญญาประดิษฐ์

จากการทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องระหว่าง AIS 5G และ กลุ่ม ปตท. ตั้งแต่ปี 2561 ในการนำ 5G และแพลตฟอร์มมาเป็นโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล เพื่อประยุกต์ใช้กับการดำเนินงานในพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ พัฒนาโดยกลุ่ม ปตท. และเป็นฐานที่ตั้งสำคัญของเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EECi ผ่านการทำงานอย่างใกล้ชิดกับบริษัท ARV ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาและให้บริการเทคโนโลยีหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ของไทย ภายใต้ ปตท.สผ. เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์ม อากาศยานไร้คนขับ หรือ โดรน เพื่อนำมาใช้ในภาคอุตสาหกรรม

arv-ais5g(12)

วันนี้ได้ยกระดับการทำงานของโดรนไปอีกขั้นสู่ 5G AI Autonomous Drone System (Horrus) ครั้งแรกของไทยที่พัฒนาโดยฝีมือคนไทย ซึ่งนำเทคโนโลยี AI หรือปัญญาประดิษฐ์ มีความฉลาดและอัจฉริยะเข้ามาเสริมขีดความสามารถการทำงาน และเป็นครั้งแรกของโดรนที่ทำงานจริงบนโครงข่ายอัจฉริยะ 5G ผ่านเทคโนโลยี Autonomous Network มาใช้ในการบริหารจัดการระบบ Network ได้อย่างคล่องตัว ช่วยให้บริหารจัดการระบบการรักษาความปลอดภัยได้ตลอด 24 ชม. ในพื้นที่เมืองอัจฉริยะวังจันทร์วัลเลย์ มีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานของ Smart City พร้อมทั้ง Regulatory & Innovation Sandbox หรือ พื้นที่ผ่อนปรนกฎระเบียบสำหรับการพัฒนานวัตกรรม ทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่ ด้านอากาศยานไร้คนขับ ด้านยานยนต์อัตโนมัติ ด้านนวัตกรรมพลังงาน และด้านคลื่นความถี่พิเศษ ซึ่งเป็นจุดแข็งของพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ ทำให้พื้นที่นี้มีความพร้อมและเหมาะสมอย่างยิ่งต่อการพัฒนานวัตกรรมแห่งอนาคต นับเป็นการพลิกโฉมการทำงานของโดรนที่จะเข้ามามีบทบาทต่อภาคอุตสาหกรรม ช่วยลดความเสี่ยงจากการปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยงหรือมีข้อจำกัด

710901

นายธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กร AIS กล่าวว่า “จากเป้าหมายการทำงานของ AIS ที่มุ่งสู่การเป็นองค์กรเทคโนโลยีโทรคมนาคมอัจฉริยะหรือ Cognitive Tech-Co ผ่านแนวคิด Ecosystem Economy ด้วยการสร้างการเติบโตแบบร่วมกัน ผ่านการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ที่หลากหลายเพื่อส่งเสริมการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันของภาคอุตสาหกรรมและองค์กรภาคธุรกิจของประเทศ โดยเฉพาะการทำงานร่วมกับ กลุ่ม ปตท. ในฐานะ Strategic Partner ที่ร่วมทำงานกันเพื่อพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่สำหรับภาคอุตสาหกรรมในหลากหลายพื้นที่รวมถึงการลงทุนสร้างโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลเพื่อสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรม ในพื้นที่โครงการวังจันทร์วัลเลย์และ EECi ให้เป็นศูนย์กลางการพัฒนาและทดสอบโซลูชัน โดยมุ่งเน้นการขยายผลเพื่อการใช้งานจริงมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ทีมวิศวกรของ AIS ได้จัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานไว้อย่างสมบูรณ์ อาทิ การออกแบบ Network Architecture หรือ สถาปัตยกรรมโครงข่าย 5G SA (Standalone) บนคลื่น 2600 MHz โดยใช้ศักยภาพของเทคโนโลยี Autonomous Network ซึ่งมีความอัจฉริยะในการจัดการระบบได้ด้วยตัวเอง, การใช้ Network Slicing เพื่อตอบสนองแอปพลิเคชันที่ต้องการคุณสมบัติทางเครือข่ายที่แตกต่างกัน รวมถึงบริการ MEC (Multi-access EDGE Computing) และ PARAGON Platform เพื่อรองรับการบริหารจัดการ และพัฒนาโซลูชันที่ต้องการความหน่วงต่ำด้วย ถือเป็น 5G Testbed พื้นที่สำหรับทดสอบทดลองที่เปิดกว้างให้องค์กรธุรกิจและอุตสาหกรรมไทยในการพัฒนาโซลูชันเพื่อการใช้งานจริง

ครั้งนี้ถือเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จของทีมงานทุกฝ่ายที่ สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถของคนไทยในการพัฒนาแพลตฟอร์มอัตโนมัติสำหรับโดรน ด้วยการผสานเทคโนโลยี AI และขีดความสามารถของ 5G เป็นครั้งแรก เพื่อรองรับและตอบโจทย์การทำงานของ AI Autonomous Drone System(Horrus) ที่พัฒนาโดยบริษัท ARV ในด้านต่างๆ ที่ต้องครอบคลุมเส้นทางการบินให้มีความเสถียรและปลอดภัย สามารถทำงานได้อย่างอัจฉริยะในการตรวจสอบ รับและส่งต่อข้อมูลทั้งภาพ เสียง และวิดีโอ กลับมายังศูนย์ควบคุมได้แบบรวดเร็วและ Real time นับเป็นการยืนยันถึงความมุ่งมั่นตั้งใจของ AIS ในการนำขุมพลังของ 5G เข้ามาสร้างโอกาสใหม่ให้กับภาคอุตสาหกรรม และนำไปสู่การสร้างจุดแข็งให้กับประเทศต่อไป”

149873

ด้าน ดร.ธนา สราญเวทย์พันธุ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด (ARV) ในเครือ ปตท. สผ. กล่าวเสริมว่า “ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาและให้บริการเทคโนโลยีหุ่นยนต์ และปัญญาประดิษฐ์ของไทย เรามุ่งสร้างความเชี่ยวชาญด้านปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์เพื่อยกระดับโครงสร้างพื้นฐานและสนับสนุนความเป็นอยู่ของผู้คนในทุกระดับ โดย 5G AI Autonomous Drone System (Horrus) เป็นอีกหนึ่งใน Use Case ที่ประสบความสำเร็จ สามารถใช้งานได้จริงแล้วในพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ที่มีความพร้อมด้านพื้นที่เพื่อการทดสอบทดลอง จากการผ่อนปรนกฎระเบียบพิเศษ สำหรับทดลองทางวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม หรือ UAV Regulatory Sandbox และความพร้อมทางด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล 5G ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสำคัญที่นำมาใช้พัฒนา Solution นี้  ถือเป็นครั้งแรกที่มีการพัฒนาโดรนอัจฉริยะฝีมือคนไทยที่มีระบบ AI เข้ามาเป็นหัวใจหลักในการทำงานด้วยเครือข่ายไร้สายอัจฉริยะ”

673232

5G และ Network Slicing ช่วยเพิ่มความเร็วในการรับส่งข้อมูล ลดความหน่วงในการสั่งการควบคุมโดรน อีกทั้งยังรองรับการควบคุมระยะไกลที่เสถียรมากกว่าสัญญาณวิทยุและ Wifi การทำงานร่วมกับ AIS ในครั้งนี้เป็นการยกระดับศักยภาพการทำงานของโดรนให้ก้าวไปอีกขั้น ด้วยการทำงานได้แบบอัตโนมัติตามเวลาและเส้นทางการบินที่กำหนด นอกจากนี้ยังสามารถตรวจจับสิ่งผิดปกติและส่งแจ้งเตือนกลับมาที่ศูนย์ควบคุมได้แบบ Real time ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในการบริหารจัดการความปลอดภัย และยังลดความเสี่ยงจากการปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยงหรือมีข้อจำกัด อาทิ การใช้โดรนตรวจสอบการทำงานในพื้นที่โรงงาน หรือในพื้นที่สำรวจแหล่งก๊าซธรรมชาติ และโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ในธุรกิจของกลุ่ม ปตท. ดังนั้นการทำงานร่วมกันในครั้งนี้จึงเป็นการเชื่อมโยงกับภารกิจหลักของบริษัท ARV และที่สำคัญยังสอดคล้องกับเป้าหมายใหญ่ของเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกที่ต้องการสร้าง New
S-Curve ด้วยนวัตกรรมและดิจิทัลเทคโนโลยี

ARV และ AIS พร้อมร่วมผลักดันการพัฒนานวัตกรรมให้กับองค์กรทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคอุตสาหกรรม เพื่อร่วมขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่โลกยุคดิจิทัลอย่างยั่งยืน  ผู้สนใจสามารถตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อมูลโครงการวังจันทร์วัลเลย์ได้ที่ www.wangchanvalley.com หรือ ข้อมูลการพัฒนานวัตกรรมและโซลูชั่นบน 5G ได้ที่  https://business.ais.co.th/5g/

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ