บริษัทรักษาความปลอดภัย จัดอันดับ รหัสผ่านยอดนิยม ที่ผู้คนใช้บ่อยและถูกแฮกง่ายที่สุดในโลกบางรหัสสามารถถูกแฮกได้ภายในไม่ถึงวินาที
กรุณาตั้งรหัสผ่าน ไม่ว่าจะทำอะไร ทุกอย่างในชีวิตตอนนี้ล้วนมีความเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของเรา ทั้งโลกส่วนตัวที่เรามักจะอัปเดตเรื่องราวอย่างสม่ำเสมออย่างโซเชียลเน็ตเวิร์ค เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ การทำุรกรรมกการเงินอย่างแอปฯธนาคาร หรือแม้แต่อุปกรณ์เครื่องมือสื่อสารอย่างมือถือที่เราแทบจะเรียกมันว่าอวัยวะส่วนที่ 13 ได้อย่างไม่ติดขัด
ทุกสิ่งอย่างที่กล่าวมาในข้างต้นแทบจะไม่มีใครเลยที่จะไม่ตั้งรหัสผ่าน แต่บางคนกลับทำเป็นว่าเหมือนแค่ผ่านมาตั้งรหัส เพราะมันแสนจะง่ายต่อการล้วงลึกจับข้อมูลลับออกมาเผยแพร่สะเหลือเกิน
Nord Security บริษัทรักษาความปลอดภัยในประเทศปานามาที่ให้บริการเครื่องมือจัดการรหัสผ่าน จึงได้ออกมาจัดอันดับรหัสผ่านที่เหมือนกับแค่ผ่านมาตั้ง จนต้องถามว่าปลอดภัยจริงหรือมาให้ชาวโลกได้รับรู้กันว่า สิ่งนี้มันเป็นการกระทำที่เสี่ยงต่อการถูกแฮกข้อมูลมากแค่ไหน
โดย Nord Security ให้ข้อมูลว่า รหัสผ่าน ที่มีการใช้งานกันมากที่สุดในปี 2021 คือ 123456 ซึ่งมีผู้ใช้รหัสนี้กว่า 103,170,552 คน ส่วนอันดับ 2 คือ 123456789 มีผู้ใช้รวม 46,027,530 คน และอันดับ 3 คือ 12345 มีผู้ใช้รวม 32,955,431 คน
โดยทั้งสามอันดับนี้แทบจะมองไม่เห็นความต่างกันเลยแม้แต่น้อย ถึงจะต่างก็แค่จำนวนตัวเลขที่น้อยลง นอกจากนี้รหัสผ่านเหล่านี้ยังสามารถถูกแฮกข้อมูลได้ภายใน 1 วินาที ซึ่งการรวบรวมนี้ใช้ฐานข้อมูลที่มีพาสเวิร์ดทั้งหมดเกือบ 300 ล้าน พาสเวิร์ด
สำหรับในประเทศไทยเองก็ได้มีการจัดอันดับ รหัสผ่าน ที่ถูกใช้มากที่สุด 10 อันดับเช่นกัน ซึ่งได้แก่
- 12345 มีผู้ใช้ทั้งสิ้น 1,006,334
- 123456 มีผู้ใช้ทั้งสิ้น 246,576
- 123456789 มีผู้ใช้ทั้งสิ้น 179,622
- 12345678 มีผู้ใช้ทั้งสิ้น 59,737
- 1234567890 มีผู้ใช้ทั้งสิ้น 46,034
- password มีผู้ใช้ทั้งสิ้น 22,237
- 987654321 มีผู้ใช้ทั้งสิ้น 19,543
- 1234567 มีผู้ใช้ทั้งสิ้น 19,220
- thailand มีผู้ใช้ทั้งสิ้น 7,601
- qwerty มีผู้ใช้ทั้งสิ้น 6,678
นอกจากความง่ายในการจดจำของรหัสทั้งหลายเหล่านี้ของผู้ใช้แล้ว ยังง่ายต่อการแฮกของเหล่าผู้ไม่หวังดีอีกด้วย โดย 6 อันดับแรก แฮกเกอร์สามารถใช้เวลาแฮกข้อมูลน้อยกว่า 1 วินาที อันดับที่ 7 ใช้เวลาแฮก 2 วินาที ส่วนอันดับที่ 8 ถึง 10 ก็ไม่น้อยหน้า ใช้เวลาแฮกน้อยกว่า 1 วินาทีเช่นกัน เพราะฉะนั้น รหัสผ่านควรคำนึงถึงความปลอดภัย ไม่ใช่แค่การผ่านมาตั้งรหัส
และด้วยความเป็นห่วงความปลอดภัยของผู้ท่องอินเทอร์เน็ต กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จึงได้จัดทำข้อแนะนำจากคู่มือ คนไทยรู้ทันภัยไซเบอร์ เพื่อช่วยให้เห็นหลักการง่ายๆ สำหรับการตั้งรหัสมี ดังนี้
ควรทำ
- ใช้พาสเวิร์ดแบบไม่ซ้ำในทุกบริการ เช่น Email , Facebook, Instragram
- ตั้งพาสเวิร์ดให้มีความยาวอย่างน้อย 8 ตัวอักษร
- เพิ่มความซับซ้อนของพาส์เวิร์ด
- ติดตามข่าวสารและเปลี่ยนพาสเวิร์ดเมื่อได้รับแจ้งว่าข้อมูลรั่ว
ไม่ควรทำ
- ตั้งพาสเวิร์ดโดยใช้คำที่คาดเดาได้ง่าย เช่น ชื่อหรือเบอร์โทร
- ตั้งพาสเวิร์ดโดยใช้แป้นตัวอักษรเรียงกัน เช่น qwerty
- ตั้งพาสเวิร์ดเป็นภาษาไทยแต่พิมพ์ด้วยแป้นภาษาอังกฤษ
- บอกพาสเวิร์ดให้คนอื่นรู้
ถึงมันอาจจะดูยุ่งยาก แต่อย่าลืมว่า มันก็ยากพอที่จะทำไม่ให้ความลับของเราถูกใครมาล้างไปง่ายๆ น๊าาา