เป็นที่ทราบกันดีว่า “รังนก” มาจากส่วนหนึ่งของน้ำลายนกนางแอ่นที่นกผลิตออกมาเพื่อทำรังและวางไข่ มนุษย์เก็บรังนกมาทำเป็นอาหารเพราะเชื่อว่ามีคุณค่าทางสารอาหารที่ดีต่อร่างกาย แต่จะสารอาหารอะไรบ้าง มากน้องแค่น้อย มาลองดูรายละเอียดกัน
ส่วนประกอบของ “รังนก”
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ระบุว่า รังนก (สีขาว) ประกอบด้วย
โปรตีน 60.9%
น้ำ 5.11%
แคลเซียม 0.85%
โพแทสเซียม 0.03%
จะเห็นได้ว่า รังนก (รังนกแห้ง) มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เนื่องจากเป็นผลิตผลจากน้ำลายนกที่มีเอนไซม์ซึ่งเป็นโปรตีนประเภทหนึ่งเป็นส่วนประกอบหลัก รังนกจึงเป็นอาหารในกลุ่มโปรตีนที่มีคุณประโยชน์ต่อร่างกาย โดยพบปริมาณโปรตีนสูงถึง 50-60๔ และมีแร่ธาตุหลายชนิด
ส่วนประกอบของ “รังนกสำเร็จรูป”
สำหรับรังนกสำเร็จรูปพร้อมบริโภคที่มีจำหน่ายในท้องตลาด (70 มิลลิลิตร) ประกอบด้วยรังนก 1% น้ำตาลกรวดประมาณ 12% นั้น
สารอาหารโดยประมาณจากสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล พบรายละเอียด ดังนี้
พลังงาน 52 กิโลแคลอรี่
โปรตีน 0.28 กรัม
ไขมัน 0.01 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 11.8 กรัม
วิตามินบี 1 0.001 มิลลิกรัม
วิตามินบี 2 0.018 มิลลิกรัม
แคลเซียม 17 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 2.3 มิลลิกรัม
เหล็ก 0.06 มิลลิกรัม
เมื่อเปรียบเทียบปริมาณสารอาหารของ ไข่ไก่ 1 ฟอง ได้เป็น ดังนี้
พลังงาน 81 กิโลแคลอรี่
โปรตีน 6.5 กรัม
ไขมัน 5.8 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 0.4 กรัม
วิตามินบี 1 0.05 มิลลิกรัม
วิตามินบี 2 0.19 กรัม
แคลเซียม 30 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 111 มิลลิกรัม
เหล็ก 1.6 มิลลิกรัม
จะเห็นได้ว่า พลังงานที่ได้จากรังนกสำเร็จรูป ได้จากนํ้าตาลกรวดที่เติมลงไปและมีปริมาณน้อยกว่าไข่ไก่ 1 ฟองเสียอีก ถ้าต้องการได้โปรตีนจากรังนกสำเร็จรูปเท่ากับไข่ไก่ 1 ฟอง จะต้องกินรังนกมากถึง 26 ขวด
อย่างไรก็ตาม การบริโภครังนกสำเร็จรูปเป็นความชอบส่วนบุคคล หากชื่นชอบในรสชาติของรังนกสำเร็จรูป สามารถหาซื้อมารับประทาน หรือซื้อเป็นของฝากให้กับญาติผู้ใหญ่ได้ตามสะดวก หรือพลิกดูคุณค่าทางสารอาหารที่ฉลากโภชนาการด้านข้างผลิตภัณฑ์เพื่อประกอบการตัดสินใจได้อีกครั้งก่อนซื้อ