ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ แนะนำวัคซีนโควิด-19 สำหรับเด็ก

Home » ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ แนะนำวัคซีนโควิด-19 สำหรับเด็ก
ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ แนะนำวัคซีนโควิด-19 สำหรับเด็ก

ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ แนะนำวัคซีนโควิด-19 สำหรับเด็กไทย โดยวัคซีนที่แนะนำคือ “ไฟเซอร์” อายุ 16-18 ปี แนะนำให้ฉีดทุกคน ถ้าไม่มีข้อห้าม อายุ 12-16 ปี ฉีดในกลุ่มเสี่ยงที่มีโรคเรื้อรัง และหลังฉีด งดออกกำลังหนัก 1 สัปดาห์

ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ออกประกาศใหม่ล่าสุดเกี่ยวกับคำแนะนำการฉีดวัคซีนโควิด-19 สําหรับเด็กและวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป (ฉบับที่ 2) เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2554 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

การระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทยในปัจจุบันพบว่าแม้จะมีการติดเชื้อในเด็กอายุน้อยกว่า 18 ปี ในสัดส่วนที่สูงขึ้น แต่ผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 ส่วนใหญ่มักมีอาการไม่รุนแรงและมีอัตราการเสียชีวิตน้อยมาก และเด็กติดเชื้อโควิด-19 ที่เสียชีวิตคือผู้มีโรคประจำตัวเรื้อรังที่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทําให้โรคโควิด-19 ที่รุนแรงและถึงแก่ ชีวิตได้ ร่วมกับข้อมูลเรื่องประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 สําหรับเด็กและวัยรุ่นมีมากขึ้น 

ดังนั้น ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย จึงเห็นสมควรมีคำแนะนําในการฉีดวัคซีนโควิด-19 สําหรับเด็กและ วัยรุ่นอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป เพิ่มเติมจากคำแนะนําฉบับที่ 1 ลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2564 ดังต่อไปนี้

  • แนะนําให้เด็กและวัยรุ่นฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิดที่ได้รับการรับรอง ขึ้นทะเบียนกับองค์การอาหารและยาแห่งประเทศไทยให้ใช้ในเด็กและวัยรุ่น โดยให้ตรงตามอายุที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ และวัคซีนได้ผ่านการพิจารณาด้านความปลอดภัยและประสิทธิภาพจากคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน ซึ่งในขณะนี้ (ณ วันที่ 7 กันยายน 2564) มีวัคซีนโควิด-19 เพียงชนิดเดียวคือ วัคซีนชนิด mRNA ของ Pfizer-BioNTech (ไฟเซอร์) ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนให้ใช้ในเด็กและวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป
  • แนะนําให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในเด็กและวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 16 ปีจนถึงน้อยกว่า 18 ปี ทุกรายหากไม่มีข้อห้ามในการฉีด ทั้งเด็กที่ปรกติแข็งแรงดีและที่มีโรคประจำตัวเรื้อรังที่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทําให้เกิดโรค โควิด-19 ที่รุนแรงอาจถึงแก่เสียชีวิต เพราะเป็นกลุ่มอายุที่กําลังเติบโตเป็นผู้ใหญ่ มีการดำเนินชีวิต ใกล้เคียงกับผู้ใหญ่และมีข้อมูลเรื่องประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในเด็กและวัยรุ่นมากเพียงพอ
  • สําหรับเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไปจนถึงน้อยกว่า 16 ปี แนะนําให้ฉีดวัคซีนในกรณีเป็นผู้ป่วยเด็กกลุ่มเสี่ยงที่มีโรค เรื้อรัง ซึ่งจะทําให้เกิดโควิด-19 ที่รุนแรงดังต่อไปนี้
  1. บุคคลที่มีโรคอ้วน (ดัชนีมวลกายมากกว่า 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร หรือมีน้ำหนัก 70 กิโลกรัมขึ้นไปในเด็กอายุ 12-13 ปี น้ำหนัก 80 กิโลกรัมขึ้นไปในเด็กอายุ 13-15 ปี น้ำหนัก 90 กิโลกรัมขึ้น ไปในเด็กอายุ 15-18 ปี หรือเด็กอ้วนที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากภาวะทางเดินหายใจอุดกั้น)
  2. โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง รวมทั้งโรคหอบหืดที่มีอาการปานกลางหรือรุนแรง
  3. โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง
  4. โรคไตวายเรื้อรัง
  5. โรคมะเร็งและภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ
  6. โรคเบาหวาน
  7. กลุ่มโรคพันธุกรรมรวมทั้งกลุ่มอาการดาวน์ เด็กที่มีภาวะบกพร่องทางระบบประสาทอย่างรุนแรง เด็กที่มีพัฒนาการช้า
  8. แนะนําให้งดออกกําลังกายอย่างหนักหรือการทํากิจกรรมอย่างหนักเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ภายหลัง
  9. จากการฉีดวัคซีน ป้องกันโรคโควิด-19 เนื่องจากมีรายงานการเกิดผลข้างเคียงกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบภายหลังการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด mRNA ซึ่งพบในอัตราที่ต่ำมาก จึงแนะนําให้เด็กและวัยรุ่นทุกราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและวัยรุ่นชายที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรค โควิด-19 ทั้งโดสที่ 1 และ 2 ควรงดการออกกำลังกายหรือการทํากิจกรรมอย่างหนักเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ ภายหลังจากการฉีดวัคซีน และในเวลาดังกล่าวนี้หากมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก หายใจเหนื่อยหรือ หายใจไม่อิ่ม ใจสั่นหน้ามืดเป็นลมควรรีบไปพบแพทย์ โดยหากแพทย์สงสัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหรือ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบควรพิจารณาทําการตรวจค้นเพิ่มเติม
  10. สําหรับเด็กอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไปจนถึงน้อยกว่า 16 ปี ที่สุขภาพแข็งแรงดี และในเด็กอายุน้อยกว่า 12 ปี รวมทั้งการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิดอื่นๆ ในเด็ก ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการติดตามผลการศึกษาถึงประสิทธิภาพ และความปลอดภัย ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย จะมีคำแนะนําเพิ่มเติมในการฉีดวัคซีนป้องกันโรค โควิด-19 ในอนาคตต่อไป
  11. ในการให้คำแนะนําด้านการฉีดวัคซีนแก่เด็กและวัยรุ่น ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย จะมุ่งให้ เกิดประโยชน์แก่ตัวของเด็กและวัยรุ่น โดยชั่งน้ำหนักระหว่างผลเสียที่อาจเกิดขึ้น และประโยชน์ที่เด็กจะได้รับจาก วัคซีน ทั้งนี้จะให้น้ำหนักแก่ของความปลอดภัยแก่เด็กเป็นสิ่งสำคัญ และจะต้องมีประโยชน์คุ้มค่ากับความเสี่ยง

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ