ที่มาของแนวความคิดสู่ภาพยนตร์โฆษณา ทั้ง 3 เรื่องของแคมเปญ เล่นอิสระอย่างสร้างสรรค์

Home » ที่มาของแนวความคิดสู่ภาพยนตร์โฆษณา ทั้ง 3 เรื่องของแคมเปญ เล่นอิสระอย่างสร้างสรรค์
ที่มาของแนวความคิดสู่ภาพยนตร์โฆษณา ทั้ง 3 เรื่องของแคมเปญ เล่นอิสระอย่างสร้างสรรค์

การเล่นถือเป็นเรื่องธรรมชาติของเด็ก และนับเป็นหนึ่งในการสร้างพัฒนาการที่ดีของเด็ก และเสริมทักษะต่างๆที่สำคัญต่อการเติบโตในอนาคตได้ ซึ่งผู้ปกครองมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการส่งเสริมให้เด็กได้ “เล่นอิสระอย่างสร้างสรรค์” (Free Play) ซึ่งเป็นการเล่นที่เด็กได้เลือกเองว่าจะเล่นอะไรและเล่นอย่างไร โดยไม่มีการกำหนดรูปแบบหรือวิธีการเล่นจากผู้ใหญ่ เพราะประสบการณ์ของการเล่นอย่างสร้างสรรค์ที่เด็กเป็นผู้เลือกและออกแบบเอง จะช่วยให้เด็กๆ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ได้ลองและได้เรียนรู้ที่จะรู้จักตัวเอง กล้าตัดสินใจด้วยตัวเอง

แม้ว่าผู้ปกครองส่วนใหญ่จะสนับสนุนการเล่นของเด็ก แต่เนื่องจากธรรมชาติความอยากรู้อยากลองของเด็ก บางสถานการณ์อาจจะนำมาซึ่งความกังวลใจของผู้ปกครองเรื่องปลอดภัย จนอาจเผลอห้าม หรือชี้นำ จำกัดการเล่นอย่างสร้างสรรค์ของเด็กไป หากไม่เข้าใจคอนเซ็ปต์แนวคิดของ “การเล่นอิสระอย่างสร้างสรรค์” ก็อาจส่งผลในทางลบกับเด็กได้

สสส. จึงอยากชวนให้พ่อแม่ผู้ปกครองตระหนักถึงโอกาส เห็นความสำคัญของการเล่นอิสระอย่างสร้างสรรค์ของเด็ก และสร้างความรู้ความเข้าใจต่อบทบาทของตัวเอง ในการเป็น ผู้อำนวยการเล่น (Play Worker) ว่าจะสนับสนุนและดูแลการเล่นให้เด็กมีความสุข และปลอดภัยได้อย่างไร

แนวคิดของแคมเปญ “การเล่นอิสระอย่างสร้างสรรค์” นี้ จึงถูกสร้างขึ้น โดยนำเสนอผ่านภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์จำนวน 2 เรื่อง และภาพยนตร์โฆษณาทางออนไลน์อีก 1 เรื่อง ซึ่งเนื้อหาจะเล่าผ่านสถานการณ์ที่พ่อแม่และผู้ปกครองทั่วไปมีประสบการณ์ร่วมสามารถเข้าใจและเชื่อมโยงถึงได้ง่าย กระตุ้นให้ผู้ปกครองพิจารณาว่าความคาดหวังและการเป็นห่วงลูกจนเผลอชี้นำการเล่นของลูกอาจทำให้เด็กสูญเสียความสนุกและความคิดสร้างสรรค์ที่แท้จริงไป ดังนั้น ผู้ปกครองจึงควรเปิดโอกาสและสนับสนุนการเล่นอิสระของเด็ก ให้เด็กได้คิด และสร้างสรรค์การเล่นด้วยตนเอง ซึ่งจะส่งเสริมพัฒนาการและความมั่นใจในตัวเองของเด็กๆ ได้อย่างดี

ภาพยนตร์โฆษณาทั้ง  3 เรื่อง ได้แก่

เรื่อง ระบายสีแม่ ความยาว 30 วินาที และ 15 วินาที

เมื่อลูกระบายสีคุณแม่… หน้าเป็นสีฟ้า ผมเป็นสีเขียว ปากเป็นสีม่วงแล้วคุณแม่ควรทำยังไง?

Concept : การเล่นที่ดีที่สุดสำหรับเด็ก คือการที่พ่อแม่ ปล่อยให้เขาได้เล่นอย่างอิสระ โดยพ่อแม่ไม่ควรไปชี้นำการเล่นของลูก เพราะนั้นคือการไปปิดกันพัฒนาการของเขา

Synopsis : ภาพยนตร์โฆษณาเรื่องนี้เล่าเรื่องราวระหว่างคุณแม่และลูกชาย ในขณะที่ลูกชายกำลังเล่นเล่นระบายสีอยู่ คุณแม่ก็ได้เข้ามาถามไถ่ดูผลงานของลูกชาย แต่เมื่อเห็นว่าลูกชายระบายสีไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ก็ทำให้คุณแม่เผลอชี้นำการเล่นของลูกว่าควรจะใช้สีไหนในการระบายจึงจะถูกต้อง ทำให้ลูกชายหมดสนุกในการเล่นระบายสี จนมีเสียงโฆษกเข้ามาแนะนำคุณแม่ บอกคุณแม่ว่าที่ลูกชายระบายสีแบบนั้นเกิดจากการใช้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ อย่าเพิ่งไปกรอบความคิดเขา คุณแม่จึงหยุดชี้นำ แล้วปล่อยให้ลูกชายได้กลับไปเล่นอย่างอิสระ ทำให้ลูกชายกลับไปสนุกกับการระบายสีและได้ใช้จินตนาการอย่างเต็มที่ ถือเป็นการยกตัวอย่างสถานการณ์ง่ายๆ ที่ทำให้พ่อ แม่ หรือผู้ปกครองที่ได้ดูฉุกคิดว่าครั้งหนึ่งเคยชี้นำการเล่นของลูกๆ ไม่ได้ปล่อยให้ลูกได้เล่นอิสระ ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ของตัวเองอย่างที่ควรหรือเปล่า

เรื่อง กีตาร์ไม้แบด ความยาว 30 วินาที และ 15 วินาที

เมื่อลูกสาวเอาตะกร้อลวกก๋วยเตี๋ยวไปเล่นเป็นกีตาร์ แล้วคุณพ่อควรทำยังไง?

Concept :การเล่นอิสระ เด็กสามารถหยิบจับเอาสิงของรอบตัวมาเล่นได้หมด เช่น ข้าวของเครื่องใช้ในบ้าน  แต่บางครั้งเมื่อเขาหยิบเอาของที่ไม่เหมาะสมมาเล่น ผู้ปกครองไม่ควรดุ หรือห้ามปราม  แต่ควรหาของทดแทนที่เหมาะสมกว่า ให้แก่เขาเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระต่อไป

Synopsis : ภาพยนตร์โฆษณาเรื่องนี้เล่าเรื่องราวของคุณพ่อและลูกสาว ในขณะที่คุณพ่อกำลังขายก๋วยเตี๋ยวอยู่ ลูกสาวได้เข้ามาแอบหยิบตะกร้อลวกก๋วยเตี๋ยวของคุณพ่อไปเล่น สมมติว่าเป็นกีตาร์ เมื่อคุณพ่อรู้ก็แสดงอาการไม่พอใจ คว้าไม้แบดคล้ายจะเตรียมไปฟาดลูกสาว แต่ความจริงแล้วคุณพ่อเอาไม้แบดไปให้ลูกสาวเล่นแทนตะกร้อก๋วยเตี๋ยว ทำให้ลูกสาวได้เล่นอิสระ สมมติว่าตัวเองเป็นมือกีตาร์ต่อ จนได้เป็นมือกีตาร์ตัวจริงในตอนโต เรื่องราวนี้เป็นการแสดงให้เห็นว่าเมื่อเด็กๆ นำของที่ไม่เหมาะสมไปเล่น แทนที่จะดุหรือจะห้ามไม่ให้เขาเล่น พ่อ แม่ ผู้ปกครองสามารถหาสิ่งของอื่นมาทดแทนให้เขาเล่นอิสระและสนุกต่อได้ เป็นโอกาสดีที่จะให้เด็กๆ ได้ค้นหาสิ่งที่ตัวเองชอบ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีในการต่อยอดการเรียนรู้และการใช้ชีวิตของเขาได้ในอนาคต

ชื่อเรื่อง ลำดวน ความยาว 126 วินาที (2.06 นาที)

เมื่อลูกโดนกรอบการเล่นจนกลายเป็นเหมือนหุ่นยนต์ แล้วคุณพ่อคุณแม่ควรทำยังไง?

Concept :การห้ามไม่ให้ลูกทำนู่นทำนี่และกำหนดกะเกณฑ์เกี่ยวกับการเล่นของลูกจนมากเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการด้านต่างๆ ของลูกได้

แต่การให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างสร้างสรรค์ ให้เขาได้คิด แก้ปัญหา และตัดสินใจเอง โดยมีพ่อแม่คอยสนับสนุนอยู่ห่างๆ  จะช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เพิ่มความสนุกสนาน และสร้างความมั่นใจในตนเองของเด็กๆ ได้

Synopsis : ภาพยนตร์โฆษณาเรื่องนี้เล่าเรื่องราวของคู่พ่อแม่ที่สังเกตเห็นว่าลูกของพวกเขาทำตัวเหมือนหุ่นยนต์ ไม่สนุกสนานมีชีวิตชีวาเหมือนเด็กทั่วไป จนคู่พ่อแม่ได้ถามอุปกรณ์อัจฉริยะที่อยู่ภายในบ้านว่าทำไมลูกของพวกเขาถึงเหมือนหุ่นยนต์ อุปกรณ์อัจฉริยะจึงได้ตอบกลับมาว่า ‘พฤติกรรมของเด็กอาจเกิดจากการเลี้ยงดูของผู้ใหญ่’ ทำให้พ่อแม่ได้ทบทวนการกระทำของตัวเอง และเริ่มเข้าใจว่าการห้ามไม่ให้ลูกทำนู่นทำนี่และกำหนดกะเกณฑ์เกี่ยวกับการเล่นของลูกจนมากเกินไปก็ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการด้านต่างๆ ของลูกได้ พ่อแม่คู่นี้จึงตัดสินใจให้ลูกได้มีอิสระในการเล่น โดยมีพวกเขาคอยสนับสนุนอยู่ห่างๆ ดูลูกออกไปผจญภัยในจินตนาการ แสดงให้เห็นว่าการให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างสร้างสรรค์ ให้เขาได้คิด แก้ปัญหา และตัดสินใจเอง จะช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เพิ่มความสนุกสนาน และสร้างความมั่นใจในตนเองของเด็กๆ ได้

 

รายละเอียดผู้จัดทำ

Client: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
Agency: Leo Burnett Thailand
Creative Director: ศรายุทธ ตั้งพงศ์ศิรประภา
Art Director: พริม ศักดิ์กำจร
Copy Writer: ณัฐธิณี เรืองเวส
Producer: ศราวุธ เลิศกิตติพาพร
Client Service: รัฐวัน สุขเอนก / ภัทรา เกตุสมาธิ / นภสร ประจำเมือง
Production House: บริษัท มํ่าฟิล์ม จำกัด
Film Director: สุธน เพชรสุวรรณ

กดติดตามข้อมูลข่าวสาร แคมเปญที่น่าสนใจ และกิจกรรมดีๆ จาก สสส  เพิ่มเติมได้ที่ :

Facebook : Social Marketing Thaihealth by สสส.
Line : @thaihealththailand
Tiktok: @thaihealth
Youtube: SocialMarketingTH
Website : Social Marketing Thaihealth

 

[Advertorial]

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ