พ่อแม่ลูก 3 คน ต่างป่วยเป็น “มะเร็งต่อมไทรอยด์” เฉลย “ตัวปัญหา” จากเมนูที่คุ้นเคยบนโต๊ะอาหารของคนไทย
ผักเป็นอาหารที่ดี แต่ไม่ได้หมายความว่าผักทุกชนิดหรือวิธีการปรุงทุกแบบจะดีต่อสุขภาพ หากทานไม่ถูกต้องอาจเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งได้
เร็ว ๆ นี้ มีข่าวที่ทำให้หลายคนตกใจ เมื่อครอบครัวหนึ่งในกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน มีสมาชิก 3 คนที่ป่วยเป็น “มะเร็งต่อมไทรอยด์” จากการทานผักดองมากเกินไป ซึ่งเป็นเมนูที่หลายคนคุ้นเคยกันดี หลายคนยังเข้าใจว่าการทานผักดองนั้นดี เพราะวัตถุดิบมาจากผักซึ่งเป็นกลุ่มอาหารที่ดี และการหมักดองด้วยวิธีธรรมชาติยังช่วยเรื่องการย่อยอาหาร แต่ความจริงกลับไม่เป็นเช่นนั้น
คุณโง่ว ซึ่งปีนี้อายุเกิน 50 ปี เล่าว่า ครอบครัวของเขาชอบทานผัก แต่ด้วยความที่ยุ่งและไม่อยากเสียเวลาปรุงอาหาร พวกเขาจึงเลือกทำผักดองเองเพราะประหยัด สะอาด และสะดวก เวลาทานก็เพียงแค่ตักใส่ชาม เมนูผักดองจึงกลายเป็นอาหารที่ขาดไม่ได้บนโต๊ะของครอบครัวนี้มาเกือบสิบปีแล้ว
2 เดือนก่อน คุณโง่วไปตรวจสุขภาพเพราะมีอาการไอเรื้อรัง กลืนลำบาก และพบก้อนแข็งที่คอ แพทย์วินิจฉัยว่าเขาเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ระยะที่ 3 หลังจากวิเคราะห์และพบว่าโรคนี้มีสาเหตุมาจากนิสัยการกิน โดยเฉพาะการบริโภคผักดองเปรี้ยวในปริมาณมาก แพทย์จึงแนะนำให้สมาชิกในครอบครัวตรวจคัดกรองมะเร็งด้วย ผลปรากฏว่าภรรยาและลูกของเขาซึ่งชอบทานผักดองเปรี้ยวเช่นกัน ต่างก็ป่วยด้วยโรคเดียวกัน แต่ในระยะที่เบากว่า
ทำไมการทานผักดองมากเกินไปจึงเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งต่อมไทรอยด์?
ตามที่ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพกล่าว การทานผักดองมากเกินไปอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งต่อมไทรอยด์ เนื่องจากกระบวนการหมักดองจะสร้างสารไนไตรต์และไนโตรซามีน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งที่มีผลต่อการทำลาย DNA และเซลล์ของต่อมไทรอยด์
นอกจากนี้ อาหารดองมักมีปริมาณโซเดียมสูง ซึ่งอาจทำให้ร่างกายสูญเสียสมดุลของแร่ธาตุ ส่งผลเสียต่อการทำงานของต่อมไทรอยด์ และเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งอีกด้วย การหมักยังทำให้เกิดอนุมูลอิสระและสารออกซิแดนท์ ซึ่งสามารถทำลาย DNA และเซลล์ ทำให้เกิดการอักเสบและความเครียดจากออกซิเดชั่น
การบริโภคอาหารดองบ่อยและเป็นระยะเวลานาน โดยเฉพาะหากการผลิตไม่ได้มาตรฐานสุขอนามัย อาจทำให้เกิดการสะสมของสารที่เป็นอันตราย ซึ่งนอกจากจะเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งต่อมไทรอยด์แล้วยังอาจนำไปสู่มะเร็งชนิดอื่น ๆ เช่น มะเร็งตับ กระเพาะอาหาร ไต รวมถึงปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น ระบบย่อยอาหาร โรคหัวใจ และทำลายกระดูก
เพื่อปกป้องสุขภาพ ควรทานผักดองในปริมาณที่พอเหมาะ โดยทานประมาณ 50-100 กรัมต่อครั้ง และไม่เกิน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ควรระวังเรื่องปริมาณเกลือ รักษาความสะอาดในการดอง หลีกเลี่ยงการทานผักดองที่ดองยังไม่สุก หรือดองจนนานเกินไป และมีสัญญาณว่าเสียแล้ว ควรทานร่วมกับอาหารที่มีโพแทสเซียมสูงและดื่มน้ำให้เพียงพอเพื่อช่วยรักษาสมดุลของโซเดียมในร่างกาย และควรเน้นทานผักสด โดยปรุงในวิธีที่ใช้เกลือน้อย เช่น ลวก นึ่ง ต้มแกง มากกว่าการดอง