“อกหักมาเหรอ ดื่มน้ำใบบัวบกสิ” ประโยคนี้อาจจะเคยได้ยินกันมาบ้างตามบทละคร หรือในหมู่เพื่อนของเราเมื่อหลายปีก่อน แต่นอกจาก ใบบัวบก จะช่วยแก้ช้ำใจ เอ้ย ช้ำในแล้ว ใบบัวบกยังมีสรรพคุณดีๆ ที่ไม่ต้องรอให้อกหักก่อนถึงจะกินได้ด้วย
บัวบก ภาษาอังกฤษ คือ Gotu Kola หรือ Centella asiatica เป็นสมุนไพรที่ได้รับความนิยมและมีการใช้ในหลายประเทศ โดยเฉพาะในแถบเอเชีย บัวบกมีชื่อเสียงในเรื่องของสรรพคุณที่หลากหลาย เช่น การช่วยบำรุงสมอง เสริมสร้างความจำ การคิด และการทำงานของระบบประสาท แต่ยังมีสรรพคุณอื่นๆ และผลข้างเคียงที่ผู้ใช้ควรทราบเช่นกัน
ประเภทของใบบัวบก
-
บัวบกหัว (Stephania Erecta Craib หรือ Menisapermaceae) เป็นพืชที่มักจะขึ้นบริเวณที่มีความชื้นสูง ลักษณะเด่นคือหัวอยู่ใต้ดิน ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้ทางยามากที่สุด แต่ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าบัวบกใบ เนื่องจากสรรพคุณในการบำรุงร่างกายน้อยกว่า
-
บัวบกใบ (Centella Asiatica) เป็นประเภทที่ได้รับความนิยมและมีชื่อเสียงด้านสรรพคุณทางยามากที่สุด บัวบกใบเป็นพืชล้มลุกที่ขึ้นตามบริเวณที่มีความชื้น ลักษณะใบกลม ขอบใบหยักเล็กน้อย ใบมีสีเขียวสด และมักถูกนำมาใช้ในการทำยา เครื่องดื่ม หรือผลิตภัณฑ์บำรุงผิว
ประโยชน์ของใบบัวบก
- ใบบัวบกแก้อาการช้ำใน ลดอาการอักเสบ
- ใบบัวบกเสริมสร้าง และกระตุ้นการสร้างคอลาเจน และอิลาสติกให้ผิวหนังเปล่งปลั่ง
- บำรุง และรักษาดวงตา และสายตา เพราะใบบัวบกมีวิตามินเอสูง
- บำรุงประสาท และสมอง เพิ่มความสามารถในการจำ ลดความเสี่ยงอัลไซเมอร์ หรือสมองเสื่อม
- ลดความเครียด และคลายความกังวลได้
- แก้อาการปวด เวียนศีรษะ
- บรรเทาอาการเจ็บคอ ร้อนใน กระหายน้ำ
- ลดระดับน้ำตาลในเลือด
- รักษาโรคความดันโลหิตสูง
- บำรุงโลหิต รักษาภาวะโลหิตจาง
ผลข้างเคียงของบัวบก
- อาการแพ้ผิวหนัง: บางคนอาจมีการแพ้เมื่อใช้บัวบกทาที่ผิว ทำให้เกิดอาการผื่นแดงหรือคัน ควรทดลองใช้ในบริเวณเล็กๆ ก่อนใช้ทั่วร่างกาย
- ปัญหาเกี่ยวกับตับ: การรับประทานบัวบกในปริมาณมาก หรือใช้เป็นเวลานาน อาจส่งผลกระทบต่อตับ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้งานหากมีปัญหาเกี่ยวกับตับ
- ปฏิกิริยาต่อยา: บัวบกอาจมีปฏิกิริยากับยาบางชนิด โดยเฉพาะยาที่เกี่ยวกับระบบประสาท หรือยาที่ส่งผลต่อตับ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้งาน
- การใช้ในหญิงตั้งครรภ์: ควรหลีกเลี่ยงการใช้บัวบกในช่วงตั้งครรภ์ เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับผลกระทบต่อแม่และทารก
- ผลกระทบทางระบบย่อยอาหาร: การรับประทานบัวบกในปริมาณมากอาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย คลื่นไส้ หรือการระคายเคืองในกระเพาะอาหาร
วิธีทำน้ำใบบัวบก ดื่มเองที่บ้าน
- นำใบบัวบกทั้งต้นมาล้างน้ำให้สะอาด
- หั่นต้น และใบบัวบกเป็นท่อนๆ ราว 2-3 ท่อน
- นำใบบัวบกมาปั่นรวมกับน้ำเปล่า โดยใส่น้ำเปล่าลงไปให้ท่วมใบบัวบก
- กรองเอาแต่น้ำมาดื่ม อาจปรุงรสด้วยน้ำผึ้งได้เล็กน้อยเพื่อลดความขม
วิธีดื่มน้ำใบบัวบก ที่กระทรวงสาธารณสุขแนะนำ
ดื่มครั้งละ 120-200 มิลลิลิตร วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร อาจดื่มน้ำกว่านี้ได้
- “ใบบัวบก” มากกว่าแก้ช้ำรัก
- “ใบบัวบก” ไม่ต้องช้ำในก็กินได้ มีประโยชน์สุขภาพสารพัดอย่าง
- วิธีคลายร้อนแบบไทยกับ 5 น้ำสมุนไพรสุดอร่อย สู้อุณหภูมิ 42 องศา!