พ่อพาลูกสาวไป คลินิก หมอจ่าย ยาหมดอายุ ให้กิน กลับไปถาม ยัน กินได้

Home » พ่อพาลูกสาวไป คลินิก หมอจ่าย ยาหมดอายุ ให้กิน กลับไปถาม ยัน กินได้

สรุปกินได้หรือไม่

สรุปยังไงแน่! พ่อพาลูกสาวไปหาหมอที่ คลินิก ไม่ทันดูวันหมดอายุยา กินเกือบหมดพึ่งเห็น จึงเอากลับไปถาม หมอยัน กินได้ ชาวเน็ตแตก 2 ฝั่งถกกันสนั่น

กลายเป็นที่ถกเถียงกันอย่างมากในโลกโซเชียล เมื่อมีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กเพจ พวกเราคือผู้บริโภค ว่าลูกสาวของตนไม่สบายจึงพาไปหาหมอที่คลินิกแถวบ้าน (ซอยรองเมือง 1 มีอยู่คลินิกเดียวเลย เปิดตอน 17.00 น.)

ต่อมาหมอได้มีการจ่ายยามาให้ แต่ลูกสาวไม่ทันได้ดูวันหมดอายุ เพิ่งมาเห็นวันที่ 2 ตุลาคม 2567 เลยถ่ายรูปส่งมาให้ตนดู หลังเลิกงานจึงได้พาลูกสาวไปสอบถามเรื่องยาหมดอายุ และได้คำตอบกลับมาจากหมอที่เป็นคนจ่ายยา (เป็นหมอที่มีอายุเยอะมากๆๆๆๆ) ว่า ถึงยาหมดอายุแล้ว แต่ยังสามารถกินได้อยู่ 3-6 เดือน ตนได้ยินแบบนั้นก็เลยย้อนถามกลับไปว่า แล้วจะมีวันหมดอายุเพื่ออะไร แต่ก็ได้คำตอบเดิมว่า กินได้ พอกันทีกับคลินิกนี้ ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ ไม่ได้อยากให้ลูกสาวไปหาที่นี่แม่แต่น้อย

ยาหมดอายุ
ยาหมดอายุ2
  • ลูกค้าโอด พ่อค้า-แม่ค้า ขายอาหารเจแพง 80 บาท ได้แค่ผักกับทอดมัน
  • เสียตังฟรี! สาวรีวิว ‘สินค้าป้ายเหลือง’ ทำพิษ ปวดท้องหนัก ยันตี 5
  • แรงไปมาก! สาวโวย สั่งข้าวผัด 110 บาท ได้กุ้งแค่ 3 ตัว ราดข้าว

เมื่อโพสต์ดังกล่าวเผยแพร่ออกไปนั้น ก็ทำให้ชาวเน็ตแตกเป็น 2 ฝ่าย ซึ่งฝ่ายนึงบอกว่าหมดอายุแล้วก็ยังกินได้ อาทิเช่น “จริงๆวันหมดอายุยาในเมืองไทย ถูกทะยอยๆปรับให้ร่นสั้น โดยไม่ทราบเหตุผลมานานแล้วผลก็คือยาจากเดิม ที่หมดอายุ 5 ปี มาหมดลงใน 2 ปีหลังวันผลิต ทำให้บริหารไม่ทัน ต้องขึ้นราคา แถมเกิดขยะยามากมาย ทั้งๆที่ยังใช้ได้วันหมดอายุจริง บางคนอาจจะยังถือ 5 ปีอยู่ หลังวันหมดอายุก็ 6 เดือนหรือปี ในความจริงก็ยังกินได้ ไม่เกิดอันตรายใดๆแต่ต้องบอกคนใช้ก่อน ว่าว่ายาหมดอายา ยังใช้ได้อยู่ถ้าไม่มียาอื่น สะดวกใจจะรับไหม ในแง่คนใช้ยา อาจจะไม่มั่นใจ ถ้ไม่มีตัวยาก็ไปซื้อร้านอื่น หรือไปคลินิกอื่น นี่คือตัวอย่างครับ ผลิตเดือน 6 หมดปี 28 ผลิตเดือน 11 หมดปี 25”, “หมอพูดถูกแล้วครับ ปกติการหมดอายุขึ้นอยู่กับกฏหมายหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนด ปกติแล้วถ้ายาถูกเก็บรักษาอย่างถูกต้องยังสามารถใช้ได้หลังวันหมดอายุครับ แต่หากเลือกได้และเป็นไปตามมาตรฐาน ไม่ควรใช้ยาหมดอายุครับ” และ “ทั้งอาหารและยา กินได้หลังวันหมดอายุทั้งนั้นค่ะ แต่ระยะกินได้หลังวันหมดอายุไม่เท่ากัน หลังวันหมดอายุนิดหน่อยเช่นไม่เกิน 3วัน7วันกินได้แน่นอนค่ะ แต่ทั้งนี้อาหารและยาต้องอยู่ในสภาพปกตินะคะ” เป็นต้น

ส่วนอีกฝ่ายที่บอกว่าเมื่อยาหมดอายุแล้วไม่สามารถกินได้ ก็แสดงความคิดกันเยอะไม่แพ้กันเช่น “อันตรายนะแบบนี้ งงใจหมอมาก ไม่เก็บไว้กินเองละเนาะ พูดมาได้ไง หมดอายุกินได้”, “เห็นมีบางคอมเมนท์บอกยาหมดอายุกินได้ ทำไมมันไม่ซื้อตุนยาหมดอายุให้พ่อแม่มันกิน”, “ยาผลิตตั้งแต่ปี 21 แค่ยาผ่านมาสองปีเรายังทิ้ง นี่หมดอายุ ยังจ่ายให้ ร้อง สคบ / สภาแพทย์ ค่ะ จรรยาบรรณ หรือแพทย์จริงหรือเปล่า เพราะเคยมีข่าวหมอปลอมเมื่อไม่นานมานี้ แถมปลอมมาเป็นสิบ ๆ ปีด้วย”, “อย่าเสี่ยงเลยค่ะ ตอนเด็กๆเคยกินยาน้ำแก้ไข้ไปละมันหมดอายุ ตาปูดเลยได้ไปหาหมอซ้ำอีกรอบ” เป็นต้น

ไม่ควรกินยาหมดอายุ เนื่องจากยาที่หมดอายุอาจมีคุณสมบัติลดลงหรือเสื่อมสภาพ ซึ่งอาจทำให้ไม่ออกฤทธิ์หรืออาจเกิดพิษต่อร่างกายได้ ญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการนำยาหมดอายุมาใช้ดังนี้

อาจเกิดพิษจากยา – ยาบางชนิด เช่น เตตราชัยคลิน อาจมีปีพิษต่อไต และไม่ควรใช้หลังวันหมดอายุ.

อาจไม่ออกฤทธิ์ – ยาหลายชนิด เช่น ยาอมใต้ลิ้น, อินซูลิน, ยาปฏิชีวนะชนิดน้ำ, ยากันชัก, วาร์ฟาริน, ไทรอยด์ฮอร์โมน, ยาเม็ดคุมกำเนิด, ยาหยอดตา เป็นต้น อาจไม่ออกฤทธิ์หรือมีผลลัพธ์ที่ไม่ดี

    ดังนั้น การตรวจสอบวันหมดอายุของยาตามฉลากหรือบรรจุภัณฑ์เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้แน่ใจว่ายามีคุณภาพและปลอดภัยในการใช้งาน

    ข้อมูลจาก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

    แท็กที่เกี่ยวข้อง

    เรื่องอื่นที่น่าสนใจ