ร้อยตำรวจโท เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง เกิดเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2516 ชื่อเล่น โก้ เป็นอดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทย ในตำแหน่งกองหน้า
เกียรติศักดิ์ เคยเป็นอดีตหัวหน้าผู้ฝึกสอนและนักฟุตบอลทีมชาติไทย เขามีชื่อเล่นที่สื่อมวลชนสายกีฬาตั้งให้ว่า ซิโก้ ตามชื่อของนักฟุตบอลชาวบราซิลที่มีชื่อเสียงอันมีที่มาจากชื่อเล่น (โก้) ของเขาเอง
ประวัติ
ซิโก้ เกิดเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2516 ที่อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี เป็นบุตรคนสุดท้องจากทั้งหมด 3 คน ของ สุริยา (บิดา) และ ริสม (มารดา) มีพี่สาวสองคน แต่ภายหลังราวปี พ.ศ. 2525 เขาตามบิดา-มารดาย้ายกลับไปภูมิลำเนาเดิมที่อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น จึงถือว่าเขาเป็นชาวจังหวัดขอนแก่นอย่างเต็มตัว
ซิโก้ เริ่มศึกษาที่โรงเรียนบ้านหนองแดง อำเภอกุมภวาปี จนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จากนั้นจึงย้ายมาศึกษาต่อชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่โรงเรียนน้ำพองศึกษา อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น จนสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 6 จึงย้ายเข้ามาศึกษาต่อที่กรุงเทพมหานคร ในระดับอนุปริญญา สาขาการบัญชี ที่โรงเรียนพาณิชยการกรุงเทพ และจบการศึกษาคณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการ จากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และจบการศึกษาระดับปริญญาโท หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการกีฬา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ชีวิตส่วนตัว ซิโก้ สมรสกับ อัสราภา (สกุลเดิม วุฒิเวทย์) เมื่อปี พ.ศ. 2545 มีบุตรสาวทั้งหมด 3 คน คือ อธิชา, มุกตาภา และ กฤตยา
เกียรติประวัติ
นักฟุตบอล
ทีมชาติไทย
– 2536 ชนะเลิศ ซีเกมส์ครั้งที่ 17 ประเทศสิงคโปร์
– 2537 ชนะเลิศ คิงส์คัพ ครั้งที่ 25
– 2537 ชนะเลิศ อินดิเพนเดนต์คัพ ครั้งที่ 7 ประเทศอินโดนีเซีย
– 2538 ชนะเลิศ ซีเกมส์ครั้งที่ 18 ประเทศไทย
– 2539 ชนะเลิศ ไทเกอร์คัพครั้งที่ 1 ประเทศสิงคโปร์
– 2540 ชนะเลิศ ซีเกมส์ครั้งที่ 19 ประเทศอินโดนีเซีย
– 2541 อันดับที่ 4 เอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 ประเทศไทย
– 2542 ชนะเลิศ ซีเกมส์ครั้งที่ 20 ประเทศบรูไน
– 2543 ชนะเลิศ คิงส์คัพ ครั้งที่ 31
– 2543 ชนะเลิศ ไทเกอร์คัพครั้งที่ 3 ประเทศไทย
– 2544 รอบ 10 ทีมสุดท้าย ฟุตบอลโลก 2002 รอบคัดเลือกโซนเอเชีย
– 2545 อันดับที่ 4 เอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 14 ประเทศเกาหลีใต้
– 2545 ชนะเลิศ ไทเกอร์คัพครั้งที่ 4 ประเทศสิงคโปร์/อินโดนีเซีย
สโมสร
– 2532 ชนะเลิศ ถ้วย ก (ธนาคารกรุงไทย)
– 2536 ชนะเลิศ ถ้วย ข (ธนาคารกรุงไทย)
– 2541 ชนะเลิศ กีฬากองทัพไทย (ตำรวจ)
– 2542 รองชนะเลิศ มาเลเซียซูเปอร์ลีก (ปะลิส)
– 2543 รองชนะเลิศ ดิวิชั่น 1 อังกฤษ (ฮัดเดอส์ฟีลด์ทาวน์)
– 2545 ชนะเลิศ เอส.ลีก (สิงคโปร์ อาร์มฟอร์ซ)
– 2546 ชนะเลิศ วี-ลีก (ฮหว่างอัญซาลาย)
– 2546 ชนะเลิศ เวียดนามซูเปอร์คัพ (ฮหว่างอัญซาลาย)
– 2547 ชนะเลิศ วี-ลีก (ฮหว่างอัญซาลาย)
– 2547 ชนะเลิศ เวียดนามซูเปอร์คัพ (ฮหว่างอัญซาลาย)
หัวหน้าผู้ฝึกสอน
ทีมชาติไทย
– ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน ชนะเลิศ (2); 2557, 2559
– คิงส์คัพ ชนะเลิศ (1); 2559
ทีมชาติไทย U-23
– ซีเกมส์ เหรียญทอง (1); 2556
– เอเชียนเกมส์ อันดับสี่ (1); 2557
สโมสร
ชลบุรี
– ถ้วย ก. ชนะเลิศ (1); 2551
ฮหว่างอัญซาลาย
– เวียดนามคัพ รองชนะเลิศ; 2553
– ถ้วยจักรพรรดิกวางจุง ชนะเลิศ: 2565
เกียรติประวัติส่วนบุคคลอื่นๆ
– 2530 รางวัลดาวซัลโว ฟุตบอลเขตการศึกษาแห่งประเทศไทย
– 2542 รางวัลดาวซัลโว ซีเกมส์ครั้งที่ 20 ประเทศบรูไน
– 2543 เกียรติประวัติ ผู้เป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคมไทย “คนต้นแบบ” โดยสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ
– 2543 รางวัลนักฟุตบอลทรงคุณค่า ไทเกอร์คัพครั้งที่ 3 ประเทศไทย
– 2543 รางวัลนักกีฬายอดเยี่ยม อีเอสพีเอ็น
– 2543 รางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยม อีเอสพีเอ็น
– 2544 รางวัลดาราเอเชีย
– 2544 รางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยม คมชัดลึกอวอร์ด ครั้งที่ 1
– 2544 รางวัลนักฟุตบอลดีเด่น ซันโย
– 2546 รางวัลนักกีฬาต่างชาติยอดเยี่ยม ประเทศเวียดนาม
– 2547 รางวัลนักกีฬาต่างชาติยอดเยี่ยม ประเทศเวียดนาม
– 2548 เข็มเกียรติยศ ผู้ทำคุณประโยชน์แก่ฟุตบอลเวียดนาม จากรัฐมนตรีกีฬาประเทศเวียดนาม
– 2547-ปัจจุบัน ผู้ให้การสนับสนุนกิจการ มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
– 2550 โล่ประกาศเกียรติคุณ ชมรมเชียร์ไทย
– 2551 รางวัลสุดยอดคนต้นแบบ เมืองขอนแก่น
– 2557 รางวัลผู้ฝึกสอนยอดเยี่ยม สยามกีฬาอวอร์ดส์ ครั้งที่ 8[32][33]
– 2557 รางวัลผู้ฝึกสอนนักกีฬาสมัครเล่นดีเด่น วันกีฬาแห่งชาติ[34]
– 2557 รางวัลผู้ฝึกสอนยอดเยี่ยม สยามโกลเดนอวอร์ดส์
– 2558 ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง[35]
– 2558 รางวัลผู้ฝึกสอนนักกีฬาสมัครเล่นดีเด่น วันกีฬาแห่งชาติ
– 2558 บุคคลแห่งปี สำนักข่าวเนชั่น[36]
– 2558 เอ็มไทยท็อปทอล์กอะเบาต์ 2015 สาขาบุคคลชายที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด[37]
– 2559 Fever Awards 2016 รางวัลนักกีฬาฟีเวอร์ปี 2016