จากกรณี การเมืองร้อนแรงที่น่าจับตามองอยู่ในขนาดนี้ สำหรับ พรรคก้าวไกล เมื่อ ศาลรัฐธรรมนูญ นัดวินิจฉัยคดียุบพรรคก้าวไกล
วันที่ 7 ส.ค. 2567 เวลา 15.00 น. ที่ศาลรัฐธรรมนูญ เริ่มอ่านคำวินิจฉัย เรื่องคณะกรรมการการเลือกตั้งขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยเพื่อมีคำสั่งยุบพรรคก้าวไกล โดยศาลได้มอบหมายให้ณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัย
ซึ่งฝ่ายผู้ร้อง นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เดินทางมารับฟังด้วยตนเอง โดยสรุปสาระสำคัญคำวินิจฉัยได้ว่า ผู้ถูกร้อง (พรรคก้าวไกล) มีการกระทำต่อเนื่องหลายพฤติการณ์ มีเนื้อหาลดทอนคุณค่าสถาบันพระมหากษัตริย์ และใช้เป็นนโยบายในการหาเสียง การรณรงค์ การแสดงความคิดเห็นบนเวทีปราศรัยต่างๆ หากปล่อยให้ทำต่อไป ย่อมไม่ไกลเกินเหตุที่นำไปสู่การล้มล้างการปกครอง จึงถือเป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพล้มล้างการปกครอง ถือว่าความผิดสำเร็จแล้ว แม้ภายหลังจะมีการนำออกจากเว็บไซต์ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้เลิกการกระทำ
การเสนอร่างแก้ประมวลกฎหมายมาตรา 112 มีเนื้อหาลดทอนคุณค่าสถาบันพระมหากษัตริย์ ผู้ถูกร้องร่วมกับ สส.ก้าวไกล เสนอร่างกฎหมายดังกล่าว และใช้ในการหาเสียงเลือกตั้ง รณรงค์ ปราศรัย มุ่งหวังผลักดัน ถือเป็นการกระทำความผิดโดยอ้อม โดยใช้สภาผู้แทนราษฎรเป็นเครื่องมือ ไม่อาจหลีกเลี่ยงความรับผิดได้
การกระทำอันเป็นการล้มล้างระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ย่อมเป็นการกระทำอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การหาเสียงด้วยนโยบายดังกล่าวเป็นการใช้ประโยชน์จากสถาบันพระมหากษัตริย์ ให้อยู่ในฐานะคู่ขัดแย้ง เข้าลักษณะการกระทำอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ผู้ถูกร้อง และ สส. ร่วมกันเสนอร่างกฎหมายแก้ไขมาตรา 112 ลดทอนสถาบัน เป็นนโยบายพรรค และยังเข้าร่วมการปราศรัย เคยแสดงความเห็นให้แก้ไขและยกเลิกหลายครั้ง เจตนามุ่งหมายที่จะแยกสถาบันพระมหากษัตริย์กับความเป็นชาติไทยออกจากกัน เป็นอันตรายต่อความมั่นคง ใช้ประโยชน์สภาบันเพื่อหวังคะแนนเสียงและชนะการเลิกตั้ง ทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ถูกโจมตี ติเตียน
ผลคำวินัยฉัย
โดยผลการวินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญ สั่งให้ยุบพรรคก้าวไกล ผู้ถูกร้อง เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของคณะกรรมการบริหารพรรค (กก.บห.) ของผู้ถูกร้อง ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคการเมือง เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของคณะกรรมการบริหารพรรค ชุดที่ 1 และ 2 ดำรงตำแหน่งระหว่างวันที่ 25 มีนาคม 2564 – 31 มกราคม 2567 มีกำหนดเวลา 10 ปีนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคผู้ถูกร้อง และห้ามมิให้ผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารของพรรคผู้ถูกร้องดังกล่าวไปจดทะเบียนพรรคการเมืองขึ้นใหม่ หรือเป็นกรรมการบริหารพรรคการเมืองหรือมีส่วนร่วมในการจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่อีก ภายในกำหนด 10 ปีนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ยุบพรรคผู้ถูกร้อง
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
อุดม สิทธิวิรัชธรรม , จิรนิติ หะวานนท์ , วิรุฬห์ แสงเทียน , นภดล เทพพิทักษ์ , ปัญญา อุดชาชน อ่านคำวินิจฉัย