ป่วยมะเร็งตับเพราะ “ตะเกียบ” ผู้เชี่ยวชาญด้านพิษวิทยาชี้สาเหตุ เป็นเพราะวิธีล้างผิดๆ ที่หลายคนทำ
หลายคนคุ้นเคยกับการล้างตะเกียบแบบถูล้างที่เดียวทั้งกำมือ แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านพิษวิทยาออกมาเปิดเผยว่านั่นเป็นวิธีที่ผิดมหันต์ วิธีนี้ไม่สามารถทำความสะอาดได้เลย
Tan Dunci ผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลในภาควิชาพิษวิทยาคลินิก ของโรงพยาบาล Linkou Chang Gung Memorial Hospital ได้เล่าในรายการเกี่ยวกับการแพทย์และสุขภาพ ถึงวิธีการล้างตะเกียบอย่างถูกต้อง
เธอกล่าวว่าตะเกียบมักจะมีรอยบากในแนวนอน และควรล้างตามรอยบาก จากนั้นให้ถูตะเกียบทั้งหมดเป็นแนวตรงหลายๆ ครั้ง ที่สำคัญ “อย่าลืมล้างทีละอัน” และควรใช้ฟองน้ำที่มีความนุ่มล้างตะเกียบ เพราะตะเกียบที่มีลวดลายอาจจะหลุดลอก หรือตะเกียบโลหะอาจเป็นรอย ทำให้คุณได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกาย แนะนำให้เปลี่ยนตะเกียบสแตนเลสหากมีรอยขีดข่วนหรือเป็นสนิม
ในจีนแผ่นดินใหญ่ มีหลายกรณีที่สมาชิกในครอบครัวเป็น “มะเร็งตับ” เนื่องจากตะเกียบไม้ไผ่ที่พวกเขาใช้กันทั่วไปนั้นติดเชื้อและสกปรกได้ง่าย และไม่เคยเปลี่ยนจนกลายเป็นเชื้อรา สารพิษจากเชื้อราอย่าง “อะฟลาทอกซิน” เป็นอันตรายต่อตับอย่างมากและได้รับการระบุว่าเป็นสารก่อมะเร็ง การศึกษาพบว่าอะฟลาทอกซินเป็นพิษมากกว่าสารหนูถึง 68 เท่า
นอกจากนี้ Tan Dunciti ยังกล่าวอีกว่าครอบครัวของเธอใช้ตะเกียบสแตนเลส เนื่องจากตะเกียบเมลามีนหรือพลาสติกนั้นเสียรูปง่าย ถ้ากินหม้อไฟ อย่าแช่ตะเกียบเมลามีนในหม้อน้ำซุป เพราะเมลามีนทนความร้อนไม่ได้ อาจปล่อยสารที่เป็นอันตรายต่อตับและไตออกมาได้
ในเรื่องนี้ Yan Zonghai ผู้อำนวยการศูนย์พิษวิทยาโรงพยาบาล Linkou Chang Gung Memorial Hospital ยังชี้ให้เห็นว่าตะเกียบเมลามีน แม้ว่าบนพื้นผิวจะสามารถทนต่ออุณหภูมิสูงได้มากกว่า 100 องศาเซลเซียส แต่ในการใช้งานจริงก็อาจเริ่มสลายตัวได้ที่ 40 หรือ 50 องศาเซลเซียส นอกจากนี้เขายังเน้นย้ำว่าภาชนะเมลามีนบนโต๊ะอาหารไม่ควรใส่ซุปเดือดๆ หรือใส่ในเครื่องอบจาน เพราะจะเสื่อมสภาพได้ง่าย ทางที่ดีควรเปลี่ยนอันใหม่ทุก ๆ 1-2 ปี