TikTok เปิดตัว #คนไทยรู้ทัน ศูนย์ข้อมูลดิจิทัลต้านภัยออนไลน์

Home » TikTok เปิดตัว #คนไทยรู้ทัน ศูนย์ข้อมูลดิจิทัลต้านภัยออนไลน์
TikTok เปิดตัว #คนไทยรู้ทัน ศูนย์ข้อมูลดิจิทัลต้านภัยออนไลน์

TIKTOK โซเชียลแบบวิดีโอสั้นชื่อดังได้ เปิดตัว #คนไทยรู้ทัน ศูนย์ข้อมูลดิจิทัลต้านภัยออนไลน์ (Anti-Scam Digital Literacy Hub) เพื่อสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการหลอกลวงและฉ้อโกงทางออนไลน์แห่งแรกในไทยบนแพลตฟอร์ม พร้อมผนึกกำลังภาครัฐและประชาสังคมกว่า 8 หน่วยงาน อาทิ

  • กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES)
  • สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (OCPB)
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (BOT)
  • กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (CIB)
  • สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (SEC)
  • สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA)
  • โครงการโคแฟค (COFACT)
  • สภาองค์กรของผู้บริโภค (TCC)

เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ผ่านแคมเปญ #คนไทยรู้ทัน ติดอาวุธทางความคิด พร้อมปลุกกระแสให้คนไทยรู้เท่าทันและสามารถรับมือกับปัญหาการถูกหลอกลวงบนโลกออนไลน์

 241698

สถิติการหลอกล่วงในประเทศไทยที่ยังน่ากลัวอัตราที่สูง

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เปิดตัวเลขการร้องเรียนปัญหาออนไลน์ของศูนย์ช่วยเหลือและจัดการปัญหาออนไลน์ในครึ่งปีแรก (มกราคม – มิถุนายน 2567) พบปัญหาร้องเรียนออนไลน์แล้ว 19,960 กรณี โดยเรื่องที่ถูกร้องเรียนมากที่สุดคือปัญหาซื้อขายออนไลน์ (43.44%)

รองลงมาคือปัญหาเว็บไซต์ผิดกฎหมาย (31.27%) และปัญหาอื่นๆ (25.29%) จะมีทั้งในเรื่องปัญหาการหลอกลวงลงทุน หลอกให้ทำงานออนไลน์ และปัญหาการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ฯลฯ ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับทั้งบุคคลและธุรกิจขนาดเล็กเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ ธุรกิจหลายรายยังถูกโจมตีทางไซเบอร์

ทำให้ข้อมูลสำคัญถูกขโมยและนำไปสู่ช่องทางการเข้าถึงเป้าหมายในการหลอกลวงอย่างง่ายดาย เนื่องจากปัญหาดังกล่าวได้ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเหล่ามิจฉาชีพยังมีการพัฒนากลเม็ดการหลอกลวงใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา การรู้เท่าทันกลโกงจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น เพื่อปกป้องผู้บริโภคและเสริมสร้างความมั่นคงในโลกดิจิทัลอย่างยั่งยืน

สำหรับแคมเปญ #คนไทยรู้ทัน ถือเป็นการร่วมมือเชิงกลยุทธ์ของ TikTok กับพันธมิตรที่มุ่งเน้นไปที่การสร้างสรรค์คอนเทนต์ให้ความรู้ตามความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ ของแต่ละหน่วยงาน โดยหน่วยงานภาครัฐ เข้ามาให้ความรู้ในเรื่องการบังคับใช้กฏหมายและมาตรการเพื่อป้องกันและรับมือกับมิจาชีพออนไลน์

ทางด้านภาคประชาสังคมในฐานะผู้ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ให้ความรู้ด้านสิทธิ์และการคุ้มครองผู้บริโภค และภาคประชาชน ที่ TikTok เป็นแกนนำในการนำทัพครีเอเตอร์ที่มีอิทธิพลบนแพลตฟอร์มเข้ามาเป็นกระบอกเสียงในการเตือนภัยและสร้างองค์ความรู้แก่ผู้ใช้ เพื่อส่งสารที่สำคัญและเป็นประโยชน์ไปถึงกลุ่มผู้ใช้งานทุกเพศทุกวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ซึ่งครีเอเตอร์เหล่านี้ไม่เพียงแต่จะช่วยในการสร้างคอนเทนต์บนแคมเปญที่สนุกสนานและเข้าใจง่าย แต่ยังมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นการตระหนักรู้เกี่ยวกับภัยออนไลน์ในหลากหลายรูปแบบ สอดคล้องกับรายงาน The TikTok Effect: Accelerating Southeast Asia’s Business, Education, and Community Report 90% ของผู้ใช้ TikTok ได้รับความรู้และทักษะใหม่บนแพลตฟอร์ม

นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า “การสร้างความตระหนักรู้และภูมิคุ้มกันด้านดิจิทัลให้กับประชาชนถือเป็นหนึ่งในมาตรการสำคัญของการแก้ไขปัญหาการหลอกลวงทางออนไลน์อย่างยั่งยืน เมื่อภาคประชาชนมีความเข้มแข็ง ทุกคนย่อม ‘รู้ทัน’ ภัยออนไลน์ต่างๆ ทำให้โอกาสที่จะตกเป็นเหยื่อของการหลอกลวงออนไลน์น้อยลง และสามารถช่วยภาครัฐจัดการกับผู้ไม่หวังดีได้ ทางกระทรวงฯ ขอชื่นชมความมุ่งมั่นของพันธมิตรทุกๆ ภาคส่วน ในการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยและเสริมสร้างทักษะด้านดิจิทัลให้แก่ประชาชนในตลอดหลายปีที่ผ่านมา และยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะสานต่อความร่วมมือต่อไปในอนาคต” 

 tiktokanti-scameducationca

รับแจ้ง ตรวจสอบ และปราบปรามอย่างเข้มงวด

ในฐานะหน่วยงานหลักผู้บังคับใช้กฏหมายและการสืบสวนสอบสวนคดีฉ้อโกงทางออนไลน์ ทางกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเน้นย้ำถึงหลักการป้องกันโกง 4ไม่: ไม่กดลิงก์ ไม่เชื่อ ไม่รีบ ไม่โอน และทางกระทรวงฯ ยังพร้อมช่วยเหลือผู้เสียหายในการรับเรื่องร้องเรียนและอายัดบัญชีของคนร้ายผ่านศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านอาชญากรรมออนไลน์ AOC 1441 ตลอด 24 ชม.

นอกจากนี้ยังมอบหมายสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในการกำกับดูแลช่องทาง call center 1212 ศูนย์ช่วยเหลือและจัดการปัญหาออนไลน์ ที่มีส่วนช่วยปรึกษาปัญหาทางธุรกรรมออนไลน์ และแจ้งเบาะแสบัญชีม้า อีกทั้งผลักดันให้ประชาชนร่วมแจ้งเบาะแสบัญชีม้า พร้อมออกโรงเตือนประชาชนในการหลีกเลี่ยงการเปิดบัญชีม้า

ซึ่งเอื้อต่อกลุ่มมิจฉาชีพในการฉ้อโกงออนไลน์ สำหรับกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เข้ามามีส่วนร่วมสืบสวนสอบสวน ปราบปรามมิจฉาชีพออนไลน์และบัญชีม้าเป็นภารกิจหลัก โดยมีการจับและดำเนินคดีจริงมาแล้วนับไม่ถ้วน ด้วยความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานเหล่านี้ แต่ละหน่วยงานมีความมุ่งมั่นที่จะกระจายความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่ภาคประชาชนผ่านแพลตฟอร์มแนวหน้าอย่าง TikTok เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ประชาชนในยุคดิจิทัลไม่ให้เกิดความเสียหายจากมิจฉาชีพ

batch_prasertchanthararuangt

สารพัดกลหลอก คนไทยต้องรู้ทัน

การหลอกลวงให้ทำธุรกรรมทางการเงินด้วยกลโกงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหลอกกู้เงิน หลอกลงทุน หรือหลอกให้รักเพื่อลักทรัพย์ เป็นอีกประเด็นที่สำคัญในแคมเปญ #คนไทยรู้ทัน ธนาคารแห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ จึงเข้ามามีบทบาทในการให้ความรู้และสร้างความตระหนักเกี่ยวกับภัยคุกคามเหล่านี้ โดยได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการ ‘เช็คให้ชัวร์’ เช่นการตรวจสอบผู้ให้บริการสินเชื่อว่าเป็นตัวจริง

ด้วยการตรวจสอบกับต้นสังกัดผู้ให้บริการ หรือในด้านการลงทุน ควรตรวจสอบผู้ให้บริการลงทุนว่าเชื่อถือได้หรือไม่ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ผ่านแอปพลิเคชัน SEC Check First หรือปรึกษาและแจ้งเบาะแสหลอกลงทุนปลอมได้ที่สายด่วนแจ้งหลอกลงทุน ก.ล.ต. โทร 1207 กด 22 พร้อมย้ำเตือนให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการกดลิงก์ที่มาพร้อม SMS เบอร์แปลกหน้า

ในขณะเดียวกัน โครงการโคแฟคที่ยืนหยัดบนบทบาทการเป็นพื้นที่ตรวจสอบข่าวลวง ยังได้ตอกย้ำถึงความจำเป็นของการตรวจสอบข้อมูลอย่างรอบคอบในยุคแห่งสื่อดิจิทัล ที่ผู้ประสงค์ร้ายสามารถเข้าถึงและหลอกลวงประชาชนได้อย่างง่ายดาย ไม่ให้หลงเชื่อข้อมูลเท็จและสารพัดกลลวงที่อาจสร้างความเสียหายให้กับตนเอง

 823344

เมื่อตกเป็นเหยื่อ ยังมีหน่วยงานยืนหยัดพร้อมคุ้มครอง 

การคุ้มครองผู้บริโภคนับเป็นเรื่องที่มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน ในความร่วมมือครั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และสภาองค์กรของผู้บริโภค ได้ร่วมมอบความรู้เกี่ยวกับแนวทางปฎิบัติเมื่อตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพออนไลน์ รวมถึงกรณีของผู้บริโภคที่ได้รับสินค้าอย่างไม่เป็นธรรม แนะผู้บริโภคให้เก็บรวบรวมหลักฐานตั้งแต่การสั่งซื้อจนกระทั่งการเปิดสินค้า หากได้รับสินค้าที่ไม่ถูกต้องตามมาตรฐาน สามารถร้องเรียนได้ที่สายด่วน 1166 หรือผ่านทาง www.ocpb.go.th สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคมุ่งหวังให้ผู้บริโภคได้รับประสบการณ์ที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้จากการช้อปปิ้งออนไลน์ อีกทั้งยังยืนหยัดติดตามและต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมของผู้บริโภค

“COFACT เชื่อว่าความสามารถในการแยกแยะข้อมูลอันเป็นเท็จเป็นอีกหนึ่งพื้นฐานสำคัญของการสร้างสภาพแวดล้อมออนไลน์ที่ปลอดภัย ซึ่งความร่วมมือของเรากับ TikTok และพันธมิตรทุกราย ผ่านแคมเปญ #คนไทยรู้ทัน ถือเป็นก้าวสำคัญในการมอบความรู้และเครื่องมือที่จำเป็นให้กับผู้ใช้ชาวไทยในการท่องโลกดิจิทัลอย่างปลอดภัย

ช่วยสะท้อนถึงความมุ่งมั่นของเราในการส่งเสริมความรู้ด้านดิจิทัล พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และการให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ประชาชน เรามุ่งหวังที่จะร่วมสร้างคอมมูนิตี้ที่เข้มแข็งที่สามารถรับมือกับกลโกงต่างๆ ได้อย่างมั่นใจ เพื่อให้เกิดสังคมดิจิทัลที่ปลอดภัยและมีข้อมูลที่ถูกต้องยิ่งขึ้น” นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ ผู้ร่วมก่อตั้งโคแฟค (ประเทศไทย) กล่าว

TikTok ตั้งเป้าให้แคมเปญ #คนไทยรู้ทัน เป็นศูนย์ข้อมูลความรู้ดิจิทัลที่ครอบคลุมและครบถ้วน เพื่อปลุกกระแสการตระหนักรู้ของคนไทยเกี่ยวกับปัญหาการหลอกลวงออนไลน์ รวมถึงส่งเสริมให้ผู้ใช้งานแพลตฟอร์มได้เข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและรับมือกับปัญหากลโกงบนสังคมออน์ไลน์ในรูปแบบต่างๆ

batch_prasertchanthararuangt

ด้วยการนำเสนอวิธีการรับมืออย่างสร้างสรรค์ผ่านคอนเทนต์วิดีโอสั้นที่สามารถเข้าถึงผู้คนได้ทุกเพศทุกวัยบนแพลตฟอร์ม TikTok ทั้งนี้ TikTok ยังวางเป้าหมายระยะยาวในการสร้างพื้นที่ดิจิทัลที่ช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ด้วยการสร้างสภาพแวดล้อมบนแพลตฟอร์มที่เอื้อประโยชน์ต่อครีเอเตอร์ แบรนด์ และธุรกิจต่างๆ ให้สามารถเติบโตได้อย่างมั่นคงและปลอดภัย ซึ่งไม่เพียงแต่จะเป็นพื้นที่ที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์และความบันเทิงเท่านั้น แต่ยังเป็นพื้นที่แห่งคอนเทนต์ที่เชื่อถือได้สำหรับทุกคน 

TikTok พร้อมเดินหน้าร่วมมือกับทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ สื่อมวลชน และประชาชนทั่วไป ในการสร้างความเปลี่ยนแปลงเพื่ออนาคตที่ปลอดภัยยิ่งขึ้นในโลกดิจิทัล ทั้งนี้ ทุกท่านสามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญต่อต้านการหลอกลวงออนไลน์ได้ ผ่านการแชร์คอนเทนต์ไอเดียต่อกรกับกลโกงต่างๆ

พร้อมติดแฮชแท็ก #คนไทยรู้ทัน บน TikTok ซึ่งคอนเทนต์ที่มีเนื้อหาดีเด่นและโดนใจจะได้รับรางวัลจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม อาทิเช่น iPhone 15 Pro Max, Apple Watch และ iPad Air M2 ได้ตั้งแต่ 26 กรกฎาคม – 9 สิงหาคม 2567 และประกาศผลในวันที่ 19 สิงหาคม 2567 

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ