ไขข้อสงสัย ทำไม ฝรั่งเศสได้รับเลือก เป็นเจ้าภาพจัด โอลิมปิก 2024

Home » ไขข้อสงสัย ทำไม ฝรั่งเศสได้รับเลือก เป็นเจ้าภาพจัด โอลิมปิก 2024

โอลิมปิกฝรั่งเศส5.png

เหตุผลที่ประเทศฝรั่งเศส และกรุงปารีส ได้รับเลือกให้จัดงาน โอลิมปิกเกมส์ 2024 ทั้ง ประวัติศาสตร์ ประสบการณ์ และแผนการจัดงานที่ยั่งยืน

เมื่อได้ยินชื่อ “โอลิมปิก” ภาพการแข่งขันกีฬาระดับโลกคงผุดขึ้นในหัวของใครหลายคน แต่หากได้ค้นหาความเป็นมาของ “โอลิมปิก” แล้วจะพบว่า โอลิมปิกไม่ใช่แค่การแข่งขันกีฬา แต่เป็นตัวแทนของการเฉลิมฉลองความเป็นเลิศทางด้านกีฬา ความหลากหลายทางวัฒนธรรม และความสามัคคีในระดับสากลทำให้โอลิมปิกเกมส์เป็นหนึ่งในงานกีฬา (Sport Event) ที่สำคัญและมีชื่อเสียงที่สุดในโลก ซึ่งในการแข่งขันโอลิมปิก 2024 ที่กำลังจะมาถึงนี้ ฝรั่งเศสได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพต่อจากประเทศญี่ปุ่น

ปารีสเคยเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกมาแล้วสองครั้ง ในปี 1900 และ 1924 โดยการได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพในครั้งนี้ถือเป็นการครบรอบ 100 ปีของการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกอีกครั้ง ซึ่งนับเป็นความภาคภูมิใจอย่างมากสำหรับชาวฝรั่งเศส ในครั้งแรก ปารีสได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันโอลิมปิกในปี 1900 หรือที่รู้จักอย่างเป็นทางการในชื่อ ‘มหกรรมกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 2’ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 14 พฤษภาคม ถึง 28 ตุลาคม 1900 แต่การจัดการแข่งขันครั้งนั้นไม่ได้สร้างการจดจำเท่าที่ควร เนื่องจากถูกครอบอยู่ภายใต้การจัดงานใหญ่ระดับโลก Universal Exhibition (Exposition Universelle de 1900) ที่กินระยะเวลายาวนานเกือบห้าเดือน ส่งผลให้สถานะการแข่งขันโอลิมปิกถูกมองข้าม

ในทางตรงกันข้าม โอลิมปิกปี 1924 นั้น ได้ทำให้โอลิมปิกเกมส์ได้รับการยอมรับว่าเป็น Mega Event ที่มีความสำคัญระดับนานาชาติและได้รับความสนใจอย่างมาก โดยมีจำนวนประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขันเพิ่มขึ้นเป็น 44 ประเทศ จาก 29 ประเทศในครั้งก่อนหน้า ซึ่งก่อให้เกิดความสนใจในกลุ่มสื่อมวลชนทั่วโลก และมีนักข่าวเข้าร่วมงานมากกว่า 1,000 คน

โอลิมปิก 1924 ยังได้ส่งต่อมรดกทางวัฒนธรรมของการแข่งขันโอลิมปิก เช่น Olympic Village ซึ่งเป็นต้นแบบของหมู่บ้านนักกีฬาโอลิมปิกในปัจจุบัน โดยแนวคิดนี้เกิดขึ้นจากนาย Pierre de Coubertin ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากลในขณะนั้น

  • รบ.ฝรั่งเศส สั่งอพยพคนไร้บ้าน ออกจากกรุงปารีส ก่อนพิธีเปิดโอลิมปิก
  • ด่วน! รถไฟความเร็วสูง กรุงปารีส ถูกป่วน ก่อนพิธีเปิดโอลิมปิก 2024

จากกระบวนการคัดเลือกและการประเมินศักยภาพเมืองที่ยื่นใบสมัครเข้ามาอย่างเข้มงวด ท้ายที่สุดกรุงปารีสก็ได้รับเลือกให้เป็นเมืองเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน สิ่งหนึ่งที่ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นที่ต้องคำนึงถึงคือ การได้รับคัดเลือกให้เป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกถือเป็นเกียรติยศอันยิ่งใหญ่ ที่ช่วยส่งเสริมและสร้างโอกาสในการพัฒนา รวมทั้งสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวจำนวนมหาศาล แต่อย่างไรก็ดี การบริหารจัดการและการลงทุนที่ล้มเหลวอาจก่อให้เกิดความเสี่ยง หนี้สิน และการสูญเสียเงินจำนวนมาก ซึ่งอาจนำพาประเทศเข้าสู่สภาวะวิกฤตได้เช่นเดียวกับประเทศกรีซ ที่ค่าใช้จ่ายในการจัดโอลิมปิก 2004 กลายเป็นสาเหตุหนึ่งของวิกฤตหนี้สินของประเทศที่ตามมาในภายหลัง

โอลิมปิกฝรั่งเศส3
The Olympic and Paralympic Village | Paris 2024

ด้วยเหตุนี้เองกระบวนการคัดเลือกเจ้าภาพจึงได้รับการปฏิรูปในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มความยั่งยืน โดยต้องเน้นความเป็นไปได้ในการใช้สถานที่ที่มีอยู่แล้ว สร้างสิ่งปลูกสร้างชั่วคราวเท่าที่จำเป็น และสร้างใหม่เฉพาะกรณีที่ต้องการส่งต่อเป็นมรดกตกทอดสู่ชุมชนในระยะยาวเท่านั้น นอกจากนี้ กระบวนการคัดเลือกเจ้าภาพที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ยังให้สิทธิเจ้าภาพสามารถจัดงานในหลายเมือง หลายภูมิภาค หรือร่วมจัดกับประเทศอื่นได้อีกด้วย

ฝรั่งเศสได้ลงชื่อสมัครเป็นเจ้าภาพโอลิมปิก 2024 อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2015 หลังจากผิดหวังติดต่อกันมาสามครั้งในอดีต แต่สืบเนื่องจากสภาวะทางเศรษฐกิจ และปัญหาระยะยาวจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้หลายประเทศที่มีความพร้อมสละสิทธิ์ จนกระทั่งในวันที่ 13 กันยายน 2017 คณะกรรมการโอลิมปิกสากลได้ประกาศอย่างเป็นทางการให้ปารีสเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในปี 2024 การตัดสินของคณะกรรมการฯ ในครั้งนี้ ส่งผลให้ปารีสกลายเป็นเมืองที่ได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อนถึง 3 ครั้ง เทียบเท่ากับลอนดอนที่เคยได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพ 3 ครั้งเช่นกัน

นอกจากความพร้อมและศักยภาพที่ปารีสมีอยู่แล้ว ยังมีปัจจัยสำคัญอื่น ๆ ที่ช่วยเกื้อหนุนให้ปารีสได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพ ได้แก่ แนวคิดการจัดการบนพื้นฐานความยั่งยืนและความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม การใช้ทรัพยากรอย่างจำกัดและคุ้มค่าเป็นหัวใจและเป้าหมายหลักของ Paris 2024 โดยฝรั่งเศสมีความตั้งใจอย่างแรงกล้าในการสนับสนุนและส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงทางระบบนิเวศการแข่งขันกีฬาที่ให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

โอลิมปิกฝรั่งเศส2
Eiffel Tower Stadium | Paris 2024

จากข้อมูลของเว็บไซต์ Paris 2024 การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยเฉลี่ยจากการจัดโอลิมปิกครั้งที่ผ่าน ๆ มาอยู่ที่ 3.5 ล้านตัน ในขณะที่ประมาณการการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ของ Paris 2024 อยู่ที่ 1.5 ล้านตัน เนื่องจากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิกที่ปารีสจะเน้นไปที่การใช้โครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่แล้ว หรือสถานที่ที่สร้างขึ้นชั่วคราวกว่า 95% เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยโครงสร้างชั่วคราวจะสร้างอยู่ใกล้บริเวณ Landmark สำคัญที่มีความพร้อมอยู่แล้ว เช่น การแข่งขันยิงธนูที่ Invalides การแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาดและฟุตบอล Cécifoot บริเวณหอไอเฟล และการแข่งสเก็ตบอร์ดที่ Place de la Concorde

การสร้างสิ่งปลูกสร้างชั่วคราวเหล่านี้เป็นโอกาสอันดีที่จะได้ย้ายกีฬาออกจากสนามกีฬาในรูปแบบดั้งเดิม และเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการแข่งขันได้มากขึ้น พร้อมทั้งลดผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมจากการใช้เครื่องปรับอากาศเมื่อเปรียบเทียบกับการสร้างโครงสร้างใหม่ ในขณะเดียวกัน เมื่อการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกสิ้นสุดลง วัสดุและโครงสร้างที่ติดตั้งชั่วคราวเหล่านี้ก็จะถูกนำกลับมาใช้ซ้ำหรือถูกนำไปรีไซเคิลต่อไป

  • โอลิมปิก 2024 เดือด! นักกีฬา-ช่างภาพ-นทท. โดนปล้นรายชั่วโมง

การเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนในระยะยาว แม้ค่าใช้จ่ายจะสูง แต่โอลิมปิกปี 2024 ที่กรุงปารีสจะส่งต่อมรดกที่ยั่งยืนให้กับประเทศฝรั่งเศสและกรุงปารีส โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านโครงสร้างพื้นฐาน การเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกจะช่วยเร่งให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของปารีสและพื้นที่โดยรอบ เช่น การปรับปรุงระบบขนส่งสาธารณะ การก่อสร้างสนามกีฬาและหอพักนักกีฬา ซึ่งจะยังคงใช้ประโยชน์ได้หลังจบการแข่งขัน อย่างหมู่บ้านนักกีฬาในตัวเมืองแซน-แซ็ง-เดอนี (Seine-Saint-Denis) และหมู่บ้านสื่อมวลชนที่เมือง Dugny ในย่านเดียวกัน ที่จะกลายเป็นที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุหรือหอพักนักศึกษา เป็นต้น

การจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกจะดึงดูดนักท่องเที่ยวจำนวนมากให้เข้ามายังปารีส ก่อให้เกิดรายได้จากการท่องเที่ยวและการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวในระยะสั้น และยังมีการลงทุนจากภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจในระยะยาว นอกจากนี้ การได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิม

ขอบคุณข้อมูลจาก TAT Review

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ