ที่บ่อเลี้ยงปลากะพงของนายวัลลภในตำบลแพรกหนามแดง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม นายวัลลภเล่าว่าเขาเคยเลี้ยงกุ้งในพื้นที่ 520 ไร่ แต่ในปี 2554 ปลาหมอคางดำเริ่มระบาด เขาจึงทดลองเลี้ยงปลากะพงในบ่อขนาด 20 ไร่ โดยปล่อยลูกพันธุ์ปลากะพง 5,000 ตัว แต่สุดท้ายกลับเหลือไม่ถึง 1,000 ตัว ในขณะที่ปลาหมอคางดำกลับมากถึง 9 ตัน การทดลองนี้ทำให้นายวัลลภรู้ว่าปลากะพงขนาด 3-4 นิ้ว ไม่สามารถสู้กับปลาหมอคางดำได้
นายวัลลภยังคงทดลองต่อไป โดยขุดบ่อขนาด 10 ไร่ ปรับพื้นที่ตากบ่อให้แห้งนานเกือบ 2 เดือนก่อนปล่อยน้ำที่ผ่านการกรองเข้าไป หลังจากนั้นครึ่งเดือนพบว่าลูกปลาหมอคางดำเต็มบ่ออีกครั้ง นายวัลลภจึงปล่อยปลากะพงขนาด 4 นิ้ว จำนวน 1,000 ตัวลงไป ผลปรากฏว่าได้ปลาหมอคางดำ 7 ตัน และปลากะพงกลับมาไม่กี่ร้อยตัว
ไม่ยอมแพ้ นายวัลลภปล่อยน้ำที่มีปลาหมอคางดำจำนวนมากออกแล้วปล่อยปลากะพงขนาดใหญ่ขึ้น 7-8 นิ้วลงไปอีก 1,000 ตัว ช่วงแรกเหมือนปลาหมอคางดำลดลง แต่หลังจากนั้น 5-6 เดือน ปลาหมอคางดำก็กลับมาเต็มบ่ออีกครั้ง ครั้งนี้เมื่อวิดบ่อขึ้นมาได้ปลาหมอคางดำ 5 ตัน แต่ปลากะพงยังอยู่ครบ
นายวัลลภกล่าวว่าปลากะพงไม่สามารถกินปลาหมอคางดำที่ใหญ่กว่าได้และกินลูกปลาหมอคางดำขนาดเล็กมากไม่ได้เช่นกัน การที่กรมประมงบอกว่าปล่อยปลากะพงมากินไข่และลูกปลาตัวเล็กนั้นเป็นไปไม่ได้ เพราะปลาหมอคางดำตัวผู้จะอมไข่และลูกไว้ในปาก นอกจากนี้ การปล่อยในธรรมชาติยังมีที่หลบซ่อนมากมายที่ปลากะพงเข้าไปกินลำบาก และถ้าปล่อยในลำคลองขนาดเล็ก ปลากะพงจะถูกปลาหมอคางดำตัวใหญ่ไล่กิน นายวัลลภไม่เห็นด้วยกับการปล่อยปลากะพงขนาด 2-3 นิ้ว เพราะจะไม่สามารถกำจัดปลาหมอคางดำได้
- เจ้าของป้ายโฆษณาภาษาจีน ไม่รอด กทม.เตรียมเอาผิด แอบลักลอบขึ้นป้าย!
- อ.มหาลัยดัง แขวะ สว.หมอเกศ ทำลายภาพพจน์นักวิชาการหนักมาก!
- อุกอาจ! คนร้ายบุกกราดยิงคนแก่ ในบ้านพักคนชรา เสียชีวิต 6 ราย
นายวัลลภเห็นว่าการรับซื้อปลาหมอคางดำกิโลกรัมละ 15 บาทไม่เพียงพอ เนื่องจากเมื่อหลายปีก่อนที่ปลาหมอคางดำระบาดในพื้นที่สมุทรสงครามและเพชรบุรีมีการรับซื้อกิโลกรัมละ 20 บาท แต่จำกัดเวลารับซื้อเพียง 2 วัน ทำให้ไม่สามารถจับปลาได้ทัน เขาจึงเสนอว่าควรเปิดรับซื้ออย่างไม่มีข้อจำกัดเวลาเพื่อแก้ปัญหาอย่างแท้จริง
นายณัฏฐพล เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในพื้นที่หมู่ 4 ตำบลยี่สาร อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม กล่าวเสริมว่าเขาเคยเลี้ยงสัตว์น้ำแบบธรรมชาติในพื้นที่กว่า 500 ไร่ แต่ตั้งแต่ปี 2554 ปลาหมอคางดำเริ่มระบาดและกินลูกกุ้งลูกปลาจนหมด แม้เขาจะพยายามพัฒนาบ่อและจัดระบบกรองน้ำเข้า แต่ปลาหมอคางดำก็ยังคงกลับมาอีก ทำให้เขาต้องลดพื้นที่เลี้ยงสัตว์น้ำลงและเปลี่ยนมาเลี้ยงปลากะพง ซึ่งราคาก็ไม่ดีเท่ากับราคากุ้งและปลาชนิดอื่น ๆ ในอดีต
ที่ผ่านมาตนเคยสู้กับปลาหมอคางดำ โดยพัฒนาบ่อให้เป็นเชิงพาณิชย์มีการจัดระบบกรองน้ำเข้า และจับปลาขึ้นให้หมด จากนั้นตากบ่อใช้เวลาประมาณ 2 เดือน จนดินแห้งแตกระแหงเป็นฝุ่น แล้วก็นำรถแบกโฮ เข้าไปดันบ่อปรับพื้นแต่งบ่อใหม่ และตากบ่อต่ออีกอีกระยะหยึ่ง คิดว่าจะฆ่าปลาหมอคางดำให้หมด
แต่เมื่อฝนตกลงมา ตนสังเกตเห็นว่ามีอะไรดำผุดในน้ำ แรกๆ คิดว่าลูกอ๊อด แต่เข้าไปดูใกล้ๆ พบว่าเป็นลูกปลาหมอคางดำ ตนยังงงว่าลูกปลาหมอคางดำมาได้อย่างไร แต่จากการวิเคราะห์จึงสรุปว่า ปลาหมอคางดำมันน่าจะคายไข่ทิ้งไว้ในบ่อ มันอดทนมาก พอมีน้ำเข้ามามันก็ฟักเป็นตัว กลับมาอีก มันไม่ยอมตาย ตนจึงไม่รู้จะแก้ปัญหายังไง ก็เลยเลิกเลี้ยงไปเยอะ ตอนนี้เหลือไม่กี่ไร่ และก็ต้องเปลี่ยนมาเลี้ยงปลากะพง แต่ราคาก็ไม่ดีสู้ราคากุ้งราคาปลากระบอก ราคาสัตว์น้ำเมื่อก่อนไม่ได้
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์เพจเฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana ระบุว่า มีคนถามมาว่าข่าวไข่ปลาหมอคางดำอยู่ทน 2 เดือนเป็นจริงหรือไม่ จากการลองทำการค้นคว้าดู เชื่อว่ามีความเป็นไปได้สูงครับ เพราะไข่ปลาหลายชนิดเคยมีรายงานมาว่าสามารถทนต่อสภาวะที่ไม่เป็นมิตรต่างๆได้ดีมาก โดยเฉพาะกรณีในข่าว คือ สภาวะที่แห้ง ไม่มีน้ำ ไข่ปลาจะมีคุณสมบัติพิเศษในการลดการสูญเสียน้ำได้ดีมาก ผนังของเซลล์ไข่ปลาที่มีหลายชั้นแทบที่จะไม่ให้โมเลกุลของน้ำจากภายในหลุดออกไปข้างนอกได้เลย ในสภาวะตามข่าวไข่ก็จะอยู่นิ่งๆรอจนมีโอกาสกลับมาโตเป็นปลาเต็มวัยได้
ที่น่าสนใจกว่านั้นคือมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร PNAS เมื่อ 4 ปีก่อน พบว่า ไข่ปลาสามารถรอดอยู่ในระบบทางเดินอาหารของเป็ด หรือ นกน้ำ เช่น หงส์ได้ เรียกว่า endozoochory มีการทำการทดลองให้นกน้ำ เช่น เป็ดกินไข่ปลา แล้วไปพบว่ามูลของเป็ดที่ถ่ายออกมายังมีไข่ปลาที่สามารถเจริญออกมาเป็นลูกปลาได้อีก ถึงแม้จะเหลือไข่ที่ฟักออกมาเป็นตัวได้ไม่มาก ในการศึกษาพบว่ามีประมาณ 0.2% แต่ก็อาจจะสามารถอธิบายได้ว่า ทำไมปลาที่เป็น alien species สามารถพบได้ในแหล่งน้ำอื่นที่อยู่ห่างไกลได้ เป็นเพราะมีนกน้ำพาไข่ปลาไปขยายพันธุ์ในแหล่งน้ำอื่นได้
ข้อมูลนี้น่าสนใจมากครับ ประกอบกับข่าวที่ออกมาเกี่ยวกับไข่ปลาหมอคางดำที่ดูทนทานต่อสภาวะแวดล้อมได้ดี ด้วยข้อมูลในการศึกษานี้ สมมติฐานที่ว่าการแพร่กระจายของประชากรปลาอาจเกิดขึ้นทางอากาศผ่านนกที่บินไปมาก็อาจเป็นไปได้เช่นกัน