ทำความรู้จัก “ปลากะพงขาว” นักล่าเอเลี่ยนน้ำปลาหมอคางดำ

Home » ทำความรู้จัก “ปลากะพงขาว” นักล่าเอเลี่ยนน้ำปลาหมอคางดำ

ปลากะพงขาว-min

ปลากะพงขาว จะทำให้ ปลาหมอคางดำ หมดไปได้จริงหรอ? วันนี้เราไปทำความรู้จัก ปลากะพงขาว ที่ไม่ได้มีดีแค่อร่อย

ปลากะพงขาว หรือชื่อทางวิทยาศาสตร์ Lates calcarifer (Bloch) เป็นหนึ่งในประเภทของกะพง ที่มีรสชาติดี ทำให้ได้รับความนิยม และนำมาประกอบอาหารกันอย่างแพร่หลาย โดยสามารถนำมาทำได้หลายเมนู เช่น ปลากะพงขาวทอดน้ำปลา ต้มยำปลากะพงขาว ปลากะพงขาวราดพริก เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ปลากะพงขาวจึงมักขายได้ในราคาที่สูง

สำหรับลักษณะของปลากะพงขาว เป็นปลาที่สามารถอยู่ได้ในน้ำจืดและน้ำกร่อย มีรูปร่างลำตัวหนาและด้านข้างแบน หัวโต จะงอยปากค่อนข้างยาวและแหลม พื้นลำตัวสีขาวเงินปนน้ำตาล แนวสันท้องสีขาวเงิน มีขนาดความยาวประมาณ 20-40 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 2 เมตร 

  • ระวัง! ปล่อย ‘กะพงขาว’ ล่า ‘ปลาหมอคางดำ’ มันจะยิ่งทำลายระบบนิเวศน์
  • ผู้ว่าฯชัชชาติ ลงพื้นที่ เก็บซาก ‘ปลาหมอคางดำ’ หลังลอยตายเต็มบึง
  • ปลาหมอคางดำ โผล่ทะเลอ่าวไทย ชาวประมงหวั่นผลกระทบอาหารทะเล

ส่วนการกินทั่วไปจะเป็นปลากินเนื้อ โดยจะกินสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่มีขนาดเล็กกว่า โดยเฉพาะปลาขนาดเล็ก (หรือลูกปลา) กุ้ง ปูต่าง ๆ อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าจะเป็นปลากินเนื้อ แต่ก็สามารถให้อาหารเม็ดได้เช่นกัน เรียกได้ว่าเป็นปลาที่กินไม่เลือก ฟาดเรียบหมดเลยก็ว่าได้

ปลากะพงขาว

ด้วยความที่ปลากะพงขาวดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการกินสัตว์น้ำทุกชนิดที่ขนาดเล็กกว่า ทั้งยังเป็นสัตว์ที่เกิดในน้ำกร่อย และเติบโตได้ในน้ำจืด นั่นจึงเท่ากับว่าสามารถอาศัยอยู่ได้ในทั้งสองระบบนิเวศ ในขณะที่ปลาหมอคางดำเกิดในน้ำจืด และโตในน้ำกร่อย เช่นนั้นแล้ว ‘ปลากะพงขาว’ จึงถือเป็นคู่ปรับที่เยี่ยมยอดในการใช้เป็นเครื่องมือกำจัด ปลาหมอคางดำ

โอกาสเดียวที่สามารถใช้ปลากะพงขาวได้การสยบปลาหมอคางดำก็คือ อาศัยช่วงที่ปลาหมอคางดำอยู่ในช่วงเติบโตน้ำจืด และยังคงเป็นเพียงลูกปลาตัวอ่อน ขนาดไม่เกิน 7 เซนติเมตร ต่อมาจึงค่อยทำการปล่อยปลากะพงขาวตัวเต็มวัยลงไปในแหล่งน้ำเดียวกัน จากนั้นก็ปล่อยให้สัญชาตญาณการล่าสัตว์เล็กของปลากะพงขาวได้ทำหน้าที่กัดกินลูกปลา

แนวทางนี้จะช่วยยับยั้งไม่ให้ปลาหมอคางดำเจริญเติบโตถึงช่วงเต็มวัยจนไปทำลายระบบนิเวศอื่น ๆ ในขณะที่ปลากะพงขาวก็สามารถเจริญเติบโตได้ตามวัฏจักรชีวิต มีอาหารกิน โตเป็นแม่พันธุ์พ่อพันธุ์ต่อไป หรือบางส่วนอาจถูกจับไปปรุงอาหาร และเอาไปเพาะพันธุ์ค้าขาย

ข้อแม้คือ แหล่งน้ำนั้นจะต้องเป็นบ่อปิด เหตุเพราะปลาหมอคางดำโดดเด่นเรื่องความว่องไว และความอึด หากปล่อยรวมในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่รายล้อมไปด้วยผลาชนิดอื่น ๆ ปลากะพงขาวจะเลือกกัดกินลูกปลาสายพันธุ์อื่น ๆ ที่เชื่องช้ากว่า เพื่อจะได้ไม่ต้องเหนื่อยในขณะหาอาหาร

สรุปแล้ว ปลากะพงขาวจะสามารถกำจัดปลาหมอคางดำได้เฉพาะในช่วงที่ปลาหมอคางดำยังเป็นลูกปลา และจะต้องอยู่ร่วมกันในบ่อปิดเท่านั้น อย่างไรก็ดี นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ปลากะพงขาวถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการจำกัดปลาเอเลี่ยนสปีชีส์เท่านั้น แต่ก่อนหน้านี้ก็เคยมีกรณีที่นำปลากะพงขาวมาควบคุมปริมาณลูกปลานิลด้วย

https://www.facebook.com/reel/1155057265797499

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ