ปฏิเสธไม่เลยว่าในปัจจุบันการใช้คอมพิมเตอร์ และโทรศัพท์มือถือ สำคัญกับการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก เป็นปัจจัยที่ 5 ของการดำรงชีวิตเลยก็ว่าได้ ซึ่งการจ้องหย้าจอนานๆ มีผลเสียต่อดวงตาอย่างมาก นอกจากนี้การอ่านหนังสือ จ้องตัวหนังสือนานๆ ก็มีโทษด้วยเช่นกัน คือ Eye Fatigue & Eye Strain หรือ อาการดวงตาเหนื่อยล้า วันนี้ ไบรท์ ทีวี (BrightTV) อยากพาทุกคนมาเช็กอาการของดวงตาตนเองว่า กำลังเข้าสู่การตาล้าแล้วหรือยัง และมีวิธีการแก้ไขอยากไร เพื่อถนอมสายตาให้อยู่กับเราได้นานที่สุด
- วิธีสังเกตและจัดการความโกรธ ที่อาจลุกลามไปสู่ความรุนแรง
- คำถามยอดฮิตของคู่รัก ก่อนการเตรียมตัวทำ ICSI เพื่อมีบุตร
- แนะ! หลีกเลี่ยงใส่เสื้อผ้าสีเข้ม ป้องกันการเกิดโรคฮีทสโตรก
อาการของ ดวงตาเหนื่อยล้า
ปวดตา เคืองตา ตาพร่ามัว โดยเฉพาะคนที่อยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์หลายชั่วโมงต่อวันรวมทั้งคนที่ใช้สายตาเพ่งจ้องเป็นเวลานาน หรือใช้สายตาไม่เหมาะสม เช่น มองใกล้ไป วัตถุสว่าง หรือ มืดเกินไป ซึ่งอาการดวงตาเหนื่อยล้า อาจส่งผลไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ปวดต้นคอ ไหล่ หรือหลัง และอาจกระทบถึงการนอนหลับ ทำให้รู้สึกเพลีย ไม่สดชื่น สมองไม่แล่น
การดูแล และวิธีการป้องกันภาวะตาล้า
การป้องกันภาวะตาล้า มีหลัก กฎ “ 20-20-20” ซึ่งทางสมาคมจักษุแพทย์และทัศนมาตรแห่งสหรัฐอเมริกา แนะนำว่าวิธีนี้ช่วยลดอาการตาล้าจากการใช้คอมพิวเตอร์ได้ คือ การดูหน้าจอคอมพิวเตอร์ 20 นาที ควรละสายตามองไปที่อื่นระยะ 20 ฟุตขึ้นไปสัก 20 วินาที ค่อยกลับมาดูหน้าจอคอมพิวเตอร์ใหม่นอกจากนี้ การปรับความสว่างหน้าจอ การเพิ่ม contrast และการลด glare (แสงสะท้อน) โดยสวมแว่นตาที่ใช้เลนส์ประเภทลดการเพ่ง EyeZen และเลนส์ Blue Cut ที่ช่วยตัดแสงสีฟ้าจากหน้าจอดิจิทัล พบว่าลดอาการการล้าตาได้ดี และควรเว้นระยะห่างระหว่างจอคอมพิวเตอร์และดวงตาประมาณ 24-26 นิ้ว ตั้งจออยู่ต่ำกว่าระดับสายตาเล็กน้อย เพื่อให้ดวงตากลอกลงด้านล่าง ซึ่งจะทำให้กล้ามเนื้อกลอกตาอยู่ในภาวะสมดุล
ควรพบจักษุแพทย์เมื่อไร เมื่อพักสายตาแล้วอาการไม่ดีขึ้น ทานยาแก้ปวดไม่บรรเทา มองภาพไม่ชัดเจน เห็นภาพซ้อน ดูเหมือนมีอาการตาเหล่ ปวดตามากเหมือนความดันตาสูง เหล่าอาการข้างต้นควรมาพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพดวงตาและปัญหาสายตา เพื่อหาสาเหตุอื่นร่วมกับอาการตาล้า และทำการรักษาที่ถูกต้องต่อไป