ฟังแล้วกลัว ชายป่วยมะเร็งหายาก พบ 1 ในล้าน เพราะนิสัย "แคะหู" แบบที่หลายคนชอบทำ

Home » ฟังแล้วกลัว ชายป่วยมะเร็งหายาก พบ 1 ในล้าน เพราะนิสัย "แคะหู" แบบที่หลายคนชอบทำ
ฟังแล้วกลัว ชายป่วยมะเร็งหายาก พบ 1 ในล้าน เพราะนิสัย "แคะหู" แบบที่หลายคนชอบทำ

หมอแชร์เคส ผู้ชายเป็น “มะเร็ง” ชนิดหายาก พบ 1 ในล้านคน เพราะติดนิสัยชอบ “แคะหู” แบบที่หลายคนทำ ไม่รู้อันตรายมาก!

จากกรณีชายชาวจีนวัย 50 ปี ชื่นชอบการใช้ไม้แคะหู นิสัยนี้กินเวลามาเกือบ 10 ปีแล้ว จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้เขาต้องเข้ารับการรักษาทางการแพทย์เนื่องจากอาการปวดหูข้างซ้าย และมีหนองในหู ก่อนพบว่าเป็น “มะเร็ง” โชคดีที่การผ่าตัด ร่วมกับรังสีรักษาและเคมีบำบัด ผลลัพธ์การรักษาออกมาเป็นที่น่าพึงพอใจ

แพทย์อธิบายว่าการแคะหูเป็นเวลานานจะทำให้ผิวหนังชั้นนอกของช่องหูระคายเคือง ทำให้เกิดภาวะผิวหนังหลุดออกมา วงจรที่เลวร้ายนี้ทำให้เกิดมะเร็งช่องหูภายนอก

“จาง หงเจิ้ง” ผู้อำนวยการศูนย์ศัลยศาสตร์โสตศอนาสิก ของโรงพยาบาล Zhujiang กล่าวว่า มะเร็งช่องหูภายนอก เป็นเนื้องอกมะเร็งที่พบได้ยาก ซึ่งคิดเป็นประมาณ 0.2% ของมะเร็งช่องหู เนื้องอกที่ศีรษะและคอ และอัตราการเกิดโดยรวมประมาณ 1 ต่อ 1 ล้านคน เป็นโรคที่หายากมากๆ

อาการทางคลินิกของมะเร็งช่องหูภายนอกนั้น ในระยะแรกไม่ค่อยแสดงอาการ จึงเกิดการวินิจฉัยผิดพลาดได้ง่าย บางครั้งอาจมีความคล้ายคลึงกับโรคหูน้ำหนวกภายนอก หรือหูชั้นกลางอักเสบ ได้แก่ มีของเหลวในหู ปวดหู สูญเสียการได้ยิน หูอื้อ อาการวิงเวียนศีรษะ และอาการอื่นๆ

กระทั่งในระยะสุดท้ายจึงแสดงอาการชัดเจน เนื่องจากการขยายขอบเขตของการลุกลาม อาการของเส้นประสาทใบหน้าและเส้นประสาทสมองด้านหลังที่สอดคล้องกันอาจเกิดขึ้นได้ เช่น อัมพาตของเส้นประสาทใบหน้า, เสียงแหบ, ไอเมื่อดื่มน้ำ, กลืนลำบาก เป็นต้น รวมทั้งผลกระทบต่อข้อต่อขากรรไกร อาจทำให้อ้าปากได้จำกัดด้วย

  • ลูกชายวัย 12 ป่วยมะเร็งปอด “ระยะสุดท้าย” พ่อแม่ฟังแล้วทรุด หมอชี้พลาดที่การกิน-นอน
  • นศ.ปล่อยโฮ อายุแค่ 20 เป็นมะเร็งปากมดลูก หมอชี้สาเหตุ “กระดาษชำระ” ที่เลือกใช้

จาง หงเจิ้ง ชี้ให้เห็นว่าการวินิจฉัยโรคมะเร็งช่องหูภายนอกนั้นขึ้นอยู่กับพยาธิวิทยา นอกจากนี้ยังต้องใช้การตรวจทางโสตสัมผัสวิทยา, CT กระดูกขมับ, MRI เสริมกระดูกขมับ, CT ปอด และการตรวจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และจำเป็นต้องมี PET-CT สามารถช่วยระบุได้ว่ามีการแพร่กระจายในระยะไกลหรือไม่

มะเร็งช่องหูภายนอกพบได้บ่อยในผู้ใหญ่อายุ 40-60 ปี และมีความเกี่ยวข้องกับปัจจัยที่มีความเสี่ยงสูงหลายประการ รวมถึงการกระตุ้นเยื่อบุผิวซ้ำๆ เช่น การแคะหูเป็นประจำ โรคหูน้ำหนวกอักเสบเรื้อรังในระยะยาว และโรคหูน้ำหนวกภายนอก นอกจากนี้ ในผู้ป่วยมะเร็งโพรงจมูกที่ได้รับรังสีรักษาแล้ว ในหมู่ชาวเอเชียอุบัติการณ์ของมะเร็งเซลล์สความัสของช่องหูภายนอกนั้นสูงกว่าคนที่มีสุขภาพดีประมาณ 0.15%

การรักษามะเร็งช่องหูภายนอกนั้น ส่วนใหญ่เป็นการผ่าตัด และการบำบัดอื่นๆ ร่วมด้วย หากพบโรคและรักษาได้อย่างรวดเร็ว อัตราการรอดชีวิตอาจสูงถึง 90%-100% ใสทางตรงกันข้ามหากพบในระนะหลัง อาจอยู่ที่เพียง 35.8%-72.5% ดังนั้น ควรรักษานิสัยการใช้ชีวิตที่ดี พยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งช่องหูภายนอก และไปพบแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ตรวจพบตั้งแต่เนิ่นๆ และวินิจฉัยโรคได้ตั้งแต่เนิ่นๆ และการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ

 

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ