ถ้าพูดถึง 5G หลายคนบอกว่ามันเร็วมากและสูบ Data ค่อนข้างมากแต่แลกกับผลลัพธ์ที่เร็ว แต่ถ้าจะบอกว่านั่นเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของการใช้งาน 5G เท่านั้นคุณอาจจะตกใจเพราะจริงๆ แล้ว 5G มันทำอะไรได้มากกว่าที่คิด เช่นเดียวกับวันนี้ที่ Sanook Hitech พาคุณไปดูโรงงานแห่งหนึ่งที่เรียกว่าเป็น Smart Factory อย่างแท้จริงครั้งแรกในเมืองไทย อย่าง Thailand Midea Smart Factory
Midea คือใครผลิตอะไรกัน
ก่อนอื่นเรามารู้จักกับ ไมเดีย กรุ๊ป (Midea Group) กันก่อน โดยบริษัทนี้ถือว่าเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านสัญชาติจีน จากข้อมูล ณ ปี 2564 บริษัทฯ มีจำนวนพนักงานรวมกว่า 150,000 คน ประจำอยู่ทั้งในจีนและต่างประเทศ
และเป็นผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าที่หลากหลาย ทั้งอุปกรณ์ให้แสงสว่าง เครื่องใช้ไฟฟ้าเกี่ยวกับน้ำ อุปกรณ์ทำความสะอาดพื้น อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวขนาดเล็ก เครื่องซักผ้า อุปกรณ์ประกอบอาหารขนาดใหญ่ และเครื่องทำความเย็น ทั้งยังเป็นผู้ผลิตเตาไฟฟ้าไมโครเวฟรายใหญ่ที่สุด และเป็นผู้รับจ้างผลิตสินค้าแบบ OEM ให้กับหลายๆ แบรนด์ ไม่เพียงเท่านั้น ไมเดียยังมีประสบการณ์ยาวนานในด้านการผลิตอุปกรณ์ระบบทำความร้อน ระบบระบายอากาศ และระบบปรับอากาศสำหรับการใช้งานภายในบ้านและเพื่อการพาณิชย์ และยังเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์และระบบหุ่นยนต์สำหรับใช้ในเชิงอุตสาหกรรมรายใหญ่ที่สุดในโลก
Smart Factory โรงงานอัจฉริยะที่ Midea ทำ
เมื่อเทียม Sanook Htech ได้ก้าวเดินเข้าโรงงานพบว่าแต่ละสายการผลิตของโรงงานนั้นมีสายเคเบิ้ลน้อยมาก โดยมากแล้วจะเป็นรางสำหรับการขนส่ง โดยภายในนั้นมีการนำเทคโนโลยี 5G+ แบบ Private Network ซึ่งไว้สำหรับควบคุมอุปกรณ์ภายในเท่านั้น ซึ่งสามารถตั้งค่าได้ 15 สถานะากรณ์ และสามารถเชื่อมโยทั้งระบบผ่าน 5G+ แต่จะมีบางจุดที่อาจจะใช้ระบบเครือข่ายภายในอยู่ โดย Solution ต่างๆ ภายใมนก็มีการทำงานร่วมกับ AI เช่นเดียวกัน ประกอบไปด้วย
- การตรวจตราด้วยระบบ 5G AI: สามารถลดข้อผิดพลาดและขั้นตอนการจัดการ เพิ่มประสิทธิภาพและให้ผลตอบแทน (First Time Yeild) เพิ่มขึ้น 4% ในอดีต โรงงานเคยประสบปัญหาอุปกรณ์กว่า 4,000 ชิ้นจำเป็นต้องนำกลับมาแก้ไขใหม่ในสายการผลิตเนื่องจากความสะเพร่า หลังจากมีการตรวจตราด้วยระบบ AI จำนวนชิ้นงานที่ต้องนำกลับมาแก้ไขใหม่ลดลงเหลือเพียง 1,000 ชิ้น และอัตราการแก้ไขชิ้นงานลดลงถึง 75%
- แขนกลหุ่นยนต์ 5G: ด้วยเทคโนโลยีแขนกลหุ่นยนต์ 5G พนักงานในสายการผลิตไม่ต้องเสี่ยงทำงานที่อันตราย เดิมๆ ซ้ำๆ และใกล้กับเครื่องจักรที่ร้อน พนักงานสามารถใช้สมาร์ทโฟนสัญญาณ 5G จากระยะไกลในการสตาร์ทการทำงานของแขนกลหุ่นยนต์ ซึ่งหุ่นยนต์เหล่านี้สามารถปรับการไหลของวัตถุดิบต่างๆ ในสายการผลิตได้อย่างแม่นยำและเป็นระบบตามความต้องการของผู้สั่งการ พนักงานจึงไม่ต้องทำงานที่เสี่ยงอันตรายด้วยตัวเอง และคุณภาพของสินค้ายังได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นด้วย
- รถลำเลียงสินค้าอัตโนมัติ 5G (AGV): เทคโนโลยี 5G ได้เข้ามาปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานของรถ AGV อย่างแท้จริง ขณะที่รถ AGV แบบดั้งเดิมขับเคลื่อนไปตามเส้นทางที่กำหนดไว้ก่อนแล้วร่วมด้วยเครื่องหมายต่างๆ ที่ติดตั้งไว้ ซึ่งในหลายโอกาสยังเป็นการจำกัดของเขตการใช้งานและสมรรถภาพสูงสุดของรถ อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยี 5G ได้เข้ามาช่วยเสริมศักยภาพด้านการประมวลผลข้อมูลและการสื่อสารของรถ AGV ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ปลดล็อคให้รถสามารถวางแผนเส้นทางที่ดีที่สุด ด้วยการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลสภาพแวดล้อมในแบบเรียลไทม์ เป็นการเพิ่มความยืดหยุ่นให้สามารถรับมือกับสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อนได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ ด้วยคุณสมบัติของเทคโนโลยี 5G ที่มีความเร็วสูง ความจุสูง และเวลาแฝงต่ำ สามารถยกระดับประสิทธิภาพการทำงานของรถ AGV และด้วยเครือข่ายสัญญาณ 5G รถ AGV สามารถระบุตำแหน่งได้อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพ ทั้งยังสามารถสำรวจและควบคุมการทำงานได้อย่างดีเยี่ยมแม้ในสภาพแวดล้อมโรงงานที่มีความซับซ้อนสูง จึงสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและลดข้อผิดพลาดในกระบวนการทำงานลงได้มาก
- ห้องปฏิบัติการ 5G: สายพานการประกอบเครื่องปรับอากาศแต่ละสายจะมีห้องปฏิบัติการ 5G เพื่อจำลองและทดสอบสถานะการทำงานของคอมเพรสเซอร์ที่อยู่ข้างนอก ข้อมูลการทำงานของเครื่องปรับอากาศแต่ละตัวจะถูกรวบรวมไว้ในตัวเครื่องเพื่อส่งต่อไปยังเซอร์เวอร์ผ่านสัญญาณไวไฟหรือสายเคเบิลเพื่อนำไปใช้ในการวิเคราะห์ ปัญหาคือสัญญาณไวไฟถูกรบกวนสูงและยังเกิดข้อผิดพลาดในการเก็บรวบรวมข้อมูลอยู่บ่อยครั้ง โซลูชัน 5g backhaul ได้เข้ามาแก้ปัญหาการสูญหายของข้อมูล ทั้งยังรองรับการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่ต้องการใช้เวลาแฝงต่ำในการรับส่งข้อมูล
- การรวบรวมข้อมูลด้วย 5G: เทคโนโลยี 5G ประกอบด้วยการเชื่อมต่อที่มากมายและยังต้องการความความเสถียรสูง อุปกรณ์ CPE แบบไร้สายสามารถใช้เชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เข้ากับเครือข่าย 5G เพื่อรวบรวมข้อมูลอัตราและกำลังการผลิต รวมไปถึงข้อมูลจากเครื่องจักรอุปกรณ์ต่างๆ ในโรงงานได้ในแบบเรียลไทม์ พร้อมๆ ไปกับการตรวจตรา และวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมมา อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อสัญญาณ 5G สามารถตรวจจับและวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในโรงงานผลิตได้ในแบบเรียลไทม์ ซึ่งก่อนหน้านี้จำเป็นต้องตรวจสอบโดยแรงงานคนอย่างเป็นระยะๆ จึงนับเป็นการยกระดับการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ภายในโรงงานผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทั้งยังช่วยลดผลกระทบที่เกิดจากความผิดพลาดของอุปกรณ์ และปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้งานอุปกรณ์เครื่องจักรต่างๆ ด้วย
ไม่ได้มีเท่านี้เพราะ 5G เป็นแค่เหมือนสะพานเชื่อมไปสู่ระบบ AI, Big Data และ Cloud เพื่อให้สามารถสั่งงานได้ และมีความปลอดภัยเนื่องจากเป็นเครือข่าย แบบ Private ซึ่งจะไม่ทำให้กระทบต่อผู้ใช้งานรอบๆ หรือ การใช้งานแบบปกติ ซึ่งโรงงานนี้ได้ใช้เครือข่าย AIS ซึ่งวันนั้นทีมพกซิมการ์ดของ AIS ไปสังเกตว่า เน็ตค่อนข้างไวกว่าข้างนอกโรงงานเล็กน้อย โดยมือถือขึ้น 5G ตลอดเวลา
โรงงานอื่นสามารถทำแบบนี้ได้หรือไม่
จากที่ได้พูดคุยกับทาง AIS ก็ให้คำตอบว่า ทำได้ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นกับขนาดและความต้องการของโรงงาน เพราะ AIS เองก็มีให้เลือกที่หลากหลายมาก และการจับมือกับ HUAWEI ซึ่งเป็นผู้ผลิต Hardware ชั้นนำที่มีอุปกรณ์ทั้ง CPE ที่ใส่ซิมการ์ด 5G และปล่อยสัญญาณแบบที่ทำงานเฉพาะบางจุด หรือ การติดระบบ 5G กับรถ AGV เลยก็สามารถทำได้ครับ
เรียกว่าการทำอุตสาหกรรม 4.0 ในประเทศไทย ก็ขึ้นกับการลงทุนและความคุ้มค่าว่าคุณเลือกที่จะหรือไม่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เห็นได้ชัดว่า 5G ไม่ได้มีไว้เล่นเน็ตแต่สามารถทำให้เกิดผลประโยชน์ในระยะยาวรวมถึงการผลิตสินค้าที่แม่นยำด้วยเช่นเดียวกัน