เปิดหลักเกณฑ์การตั้งชื่อ "เรือหลวง" ที่มาของแต่ละลำ หมายเลขแต่ละตัวบอกอะไร

Home » เปิดหลักเกณฑ์การตั้งชื่อ "เรือหลวง" ที่มาของแต่ละลำ หมายเลขแต่ละตัวบอกอะไร
เปิดหลักเกณฑ์การตั้งชื่อ "เรือหลวง" ที่มาของแต่ละลำ หมายเลขแต่ละตัวบอกอะไร

เปิดหลักเกณฑ์การตั้งชื่อ “เรือหลวง” ที่มาของชื่อแต่ละลำ หมายเลขแต่ละตัวบอกอะไร

ระเบียบการใช้คำนำหน้าชื่อเรือ

  • เรือ ที่มีระวางขับน้ำปกติตั้งแต่ 150 ตันขึ้นไป กองทัพเรือใช้คำว่า “เรือหลวง” หรือคำย่อว่า “ร.ล.” เป็นคำนำหน้าชื่อเรือ อันเป็นการแสดงถึงความเป็นเรือรบของพระมหากษัตริย์ โดยในภาษาอังกฤษจะ ใช้คำว่า “His Thai Majesty’s Ship” หรือใช้คำย่อว่า “HTMS” เป็นคำนำหน้าชื่อเรือ เช่น เรือหลวงนเรศวร หรือ ร.ล.นเรศวร หรือ HTMS Naresuan ทั้งนี้ชื่อเรือเหล่านี้ให้ขอพระราชทานพระมหากษัตริย์ทรงตั้ง

  • เรือ ที่มีระวางขับน้ำปกติต่ำกว่า 150 ตันลงมา กองทัพเรือใช้ตัวอักษรระบุชนิด/หน้าที่ของเรือ เป็นคำนำหน้า และมีหมายเลขเรือต่อท้าย เช่น ต.991 ทั้งนี้ชื่อเรือเหล่านี้กองทัพเรือเป็นผู้ตั้งเอง

ระเบียบการตั้งชื่อเรือ

  • เรือพิฆาต ตั้งตามชื่อตัว ชื่อบรรดาศักดิ์ หรือชื่อสกุล ของบุคคลที่เป็นวีรบุรุษของชาติ เช่น ร.ล.ตากสิน ร.ล.ปิ่นเกล้า

  • เรือฟริเกต ตั้งตามชื่อแม่น้ำสายสำคัญ เช่น ร.ล.เจ้าพระยา ร.ล.ตาปี

  • เรือคอร์เวต ตั้งตามชื่อเมืองหลวงหรือเมืองสำคัญในประวัติศาสตร์ เช่น ร.ล.สุโขทัย ร.ล.รัตนโกสินทร์

  • เรือเร็วโจมตี

    • เรือ เร็วโจมตี (อาวุธปล่อยนำวิถี) ตั้งตามชื่อเรือรบในทะเลสมัยโบราณที่มีความหมายเหมาะสมแก่หน้าที่ของเรือ นั้นๆ เช่น ร.ล.ราชฤทธิ์ ร.ล.ปราบปรปักษ์

    • เรือเร็วโจมตี (ปืน) และเรือเร็วโจมตี (ตอร์ปิโด) ตั้งตามชื่อจังหวัดชายทะเล เช่น ร.ล.ชลบุรี ร.ล.ภูเก็ต

  • เรือดำน้ำ ตั้งตามชื่อผู้มีอิทฤทธิ์ในนิยายหรือวรรณคดีเกี่ยวกับการดำน้ำ เช่น ร.ล.มัจฉานุ

  • เรือทุ่นระเบิด ตั้งตามชื่อสมรภูมิที่สำคัญ เช่น ร.ล.บางระจัน ร.ล.ลาดหญ้า

  • เรือยกพลขึ้นบก เรือส่งกำลังบำรุง เรือน้ำมัน เรือน้ำ เรือลากจูง และเรือลำเลียง ตั้งตามชื่อเกาะ เช่น ร.ล.สีชัง ร.ล.สิมิลัน

  • เรือตรวจการณ์

    • เรือตรวจการณ์ (ปืน) ตั้งชื่อตามอำเภอชายทะเล เช่น ร.ล.สัตหีบ ร.ล.หัวหิน

    • เรือ ตรวจการณ์ (ปราบเรือดำน้ำ) ตั้งตามชื่อเรือรบในลำน้ำสมัยโบราณที่มีความเหมาะสมแก่หน้าที่ของเรือนั้น เช่น ร.ล.คำรณสินธุ, ร.ล.ล่องลม

  • เรือสำรวจ ตั้งชื่อตามดาวสำคัญ เช่น ร.ล.ศุกร์ ร.ล.พฤหัสบดี

  • เรือหน้าที่พิเศษ ตั้งชื่อด้วยถ้อยคำที่มีความหมายเหมาะสมแก่หน้าที่ของเรือนั้นๆ

  • เรือ ที่ไม่ได้กล่าวไว้ ให้พิจารณาตั้งชื่อตามความเหมาะสมเป็นคราวๆ ไป เช่น ร.ล.จักรีนฤเบศร ซึ่งเป็นเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ หรือเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ตั้งตามชื่อจังหวัดชายทะเล เช่น ร.ล.ปัตตานี ร.ล.นราธิวาส

เรือหลวงตากสิน

หลักการกำหนดหมายเลขเรือ

  • หมายเลขตัวที่ 1 แสดงประเภทเรือ (Type) ซึ่งกำหนดไว้ 9 ประเภท คือ

    • หมายเลข 1 เรือบัญชาการและสนับสนุนการยกพลขึ้นบก

    • หมายเลข 2 เรือดำน้ำ

    • หมายเลข 3 เรือเร็วโจมตี

    • หมายเลข 4 เรือพิฆาต เรือฟริเกต และเรือคอร์เวต

    • หมายเลข 5 เรือตรวจการณ์

    • หมายเลข 6 เรือทุ่นระเบิด

    • หมายเลข 7 เรือยกพลขึ้นบก

    • หมายเลข 8 เรืออุทกศาสตร์ เรือช่วยรบ และเรือประเภทอื่นๆ

    • หมายเลข 9 เรือบรรทุกอากาศยาน

  • หมายเลขตัวที่ 2 แสดงชุดหรือชั้นของเรือ (Class) โดยเรือที่มีคุณลักษณะใกล้เคียงกันจะมีการจัดรวมไว้ในชุดเดียวกัน

  • หมาย เลขตัวที่ 3 แสดงลำดับที่ของเรือในชุดนั้นๆ โดยเริ่มจากลำดับที่ 1 เรียงต่อกันไปตามลำดับ หากเรือชุดมีเกิน 9 ลำ เรือลำที่ 10 จะเพิ่มเป็น 4 ตัว

ระเบียบการเขียนชื่อเรือ

  • ชื่อ เรือที่มีระวางขับน้ำปกติตั้งแต่ 150 ตันขึ้นไป ให้ทำด้วยทองเหลืองบนพื้นสีน้ำเงิน ติดกับตัวเรือตอนท้ายสุดเหนือแนวน้ำ ยกเว้นเรือบางลำหรือบางประเภท ถ้าติดชื่อเรือบริเวณดังกล่าวไม่สะดวก ให้ติดไว้ข้างเรือตอนท้ายทั้งสองข้าง ส่วนเรือดำน้ำ ให้ติดไว้กับตัวเรือทั้งสองข้างค่อนทางหัวเรือเหนือแนวน้ำขณะลอยลำเต็มที่

  • ชื่อ เรือที่มีระวางขับน้ำปกติต่ำกว่า 150 ตันลงมา ให้เขียนด้วยสีขาวไว้กับตัวเรือทั้งสองข้างตอนหัวเรือ ตรงกึ่งกลางระหว่างแนวน้ำกับแนวกราบเรือ

  • ให้ติดป้ายชื่อเรือที่มี ระวางขับน้ำตั้งแต่ 100 ตันขึ้นไป และเรือประเภทเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ที่ข้างสะพานเดินเรือทั้งสองกราบ เป็นภาษาไทยอยู่ด้านบน และภาษาอังกฤษอยู่ด้านล่าง โดยลักษณะของป้ายชื่อเรือ ให้เป็นไปตามที่กองเรือยุทธการกำหนด

  • การเขียนหมายเลขเรือให้ใช้ตัวเลขอาระบิค

ระเบียบการแบ่งชั้นเรือ

  • เรือที่มีอัตราผู้บังคับการเรือ ให้จัดแบ่งตามชั้นยศของผู้บังคับการเรือ คือ

    • เรือชั้น 1 คือ เรือที่มีผู้บังคับการเรือยศนาวาโทขึ้นไป

    • เรือชั้น 2 คือ เรือที่มีผู้บังคับการเรือยศนาวาตรี

    • เรือชั้น 3 คือ เรือที่มีผู้บังคับการเรือยศเรือเอก เรือโท หรือเรือตรี

  • เรือที่มีอัตราผู้ควบคุมเรือ จะไม่จัดเข้าอยู่ในชั้นใด และให้ถือเป็นเรือขนาดเล็ก

ระเบียบการแบ่งชั้นหมู่เรือ

  • หมู่เรือชั้น 1 คือ หมู่เรือที่ประกอบด้วยเรือชั้น 1 ทั้งหมด หรือเรือชั้น 1 กับเรืออื่นๆ

  • หมู่เรือชั้น 2 คือ หมู่เรือที่ประกอบด้วยเรือชั้น 2 ทั้งหมด หรือเรือชั้น 2 กับเรืออื่นๆ ที่ไม่ใช่เรือชั้น 1

  • หมู่เรือชั้น 3 คือ หมู่เรือที่ประกอบด้วยเรือชั้น 3 ทั้งหมด หรือเรือชั้น 3 กับเรือขนาดเล็ก หรือเรือขนาดเล็กทั้งหมด

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ