ซอฟต์พาวเวอร์สะดุด “กางเกงแมวโคราช” คนบางส่วนไม่สบายใจ มีลวดลายสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ อยู่บนกางเกงแล้วเป็นตำแหน่งที่ต่ำ
จากกรณีที่ทางเพจ Korat Daily ได้มีการนำเสนอความคิดเห็นของประชาชนชาวโคราชบางส่วนที่ได้มีการแสดงความคิดเห็นแสดงความไม่สบายใจเกี่ยวกับลายบนกางเกงแมวที่กำลังเป็นที่นิยมอยู่ในขณะนี้ โดยได้มีการแสดงความคิดเห็นเอาไว้ว่า “ขออนุญาตนำเรียนสักเรื่องนะครับ พอดีน้องๆ ที่กรุงเทพฯ ไปซื้อกางเกง ที่ผลิตโดย อปท.แห่งหนึ่ง ซึ่งเป็น Soft Power กางเกงแมว แต่ดูจากลวดลาย ไม่ใช่แมวอย่างเดียว มีลายปราสาทหินพิมายและประตูชุมพลด้วย ซึ่งเห็นแล้วไม่สบายใจครับ เพราะทั้งสองสถานที่เป็นที่เคารพสักการะของชาวโคราช ไม่เหมาะที่จะเอามาทำไว้บนกางเกง ถ้าทำบนเสื้อไม่มีปัญหาอะไร ไม่ทราบว่าผ่านการพิจารณาออกมาได้อย่างไร ยังไงฝากช่วยเป็นสื่อช่วยเป็นกระบอกเสียงไปทาง อปท. ด้วยนะครับว่า อย่าทำลวดลายแบบนี้เลย เห็นแล้วมันรู้สึกไม่สบายใจครับ ขอบคุณครับ” และบอกอีกว่า “ผมคงเป็นส่วนหนึ่งของคนที่คิดเยอะ เพราะมีความเคารพศรัทธาในย่าโมและประตูชุมพลซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์”
ล่าสุดวันนี้ (27 ก.พ.67) ผู้สื่อข่าวได้สอบถามไปยัง นายจิรพิสิฐ์ รุจน์เจริญ หนึ่งในผู้ที่ร่วมนำลายโคราชโมโนแกรมมาผลิตเป็นกางเกงแมวเพื่อส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ของจังหวัดนครราชสีมา โดยนายจิรพิสิฐ์ฯ บอกว่า ส่วนตัวแล้วไม่อยากออกมาตอบโต้อะไรกับประเด็นดราม่าเรื่องกางเกงแมว เพราะสังคมชาวโคราชได้ให้คำตอบแล้วเพราะเท่าที่ไปอ่านในคอมเมนท์กระแสของชาวโคราชส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการนำลายโคราชโมโนแกรมที่มีลายแมว ประตูชุมพล หรือแม้กระทั่งปราสาทหินพิมาย นำมาผลิตเป็นกางเกงและสินค้าอื่นๆ เพราะตนเชื่อว่าการนำเอกลักษณ์ของโคราชมาใส่ลงบนสินค้าหรือกางเกงนั้นเป็นการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดนครราชสีมาได้ดีที่สุด
นอกจากนี้ผู้สื่อข่าวยังได้ไปสอบถามประชาชนชาวโคราชที่บริเวณอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี(ย่าโม) ว่ามีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนี้ นายวรรณพรต (สงวนนามสกุล) อายุ 58 ปี ชาวโคราช กล่าวว่า ความคิดเห็นส่วนตัวนั้นตนมองว่าการนำลายปราสาทหินพิมาย โดยเฉพาะประตูชุมพลซึ่งเป็นประตูเมืองและที่เคารพสักการะของชาวโคราชมาเป็นลายอยู่บนกางเกงนั้นไม่ค่อยเหมาะสมและสมควรเท่าไรนัก แต่เรื่องนี้ก็มองได้อีกมุมหนึ่งก็คือการส่งเสริมสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดนครราชสีมา เนื่องจากประสาทหินพิมายและประตูชุมพลนั้นเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและเปรียบเหมือนเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดนครราชสีมา แต่ถามว่าอยากให้ผลิตกางเกงแมวต่อไปมั้ยนั้นตนคงพูดไม่ได้ เพราะมันมีมุมมองที่ไม่เหมือนกัน แต่ถ้ามองถึงเรื่องของวัฒนธรรมแล้วไม่สมควรนำประตูชุมพลไปอยู่บนกางเกง
ขณะเดียวกัน นางสมจิตร (สงวนนามสกุล) อายุ 55 ปี ชาวโคราช กล่าวว่า ในฐานะที่ตนเป็นชาวโคราช ตนนั้นไม่เห็นด้วยกับการจะนำปราสาทหินพิมายและประตูชุมพลซึ่งเป็นเคารพสักการะของชาวโคราชไปผลิตเป็นกางเกง เนื่องจากเป็นสิ่งที่อยู่คู่คนโคราชราชมาตั้งแต่บรรพบุรุษ เพราะการนำไปผลิตเป็นกางเกงนั้นถือว่าอยู่ในตำแหน่งที่ต่ำเหมือนเป็นการไม่ให้ความเคารพ แต่ถ้าหาไปอยู่บนเสื้อหรือสินค้าชนิดอื่นนั้นตนเห็นด้วยแ