พ้นทุกข์แล้ว ช่วยหมาติดตึกร้างนาน 10 ปี ไม่เห็นเดือนเห็นตะวัน ถูกขังรอวันตาย

Home » พ้นทุกข์แล้ว ช่วยหมาติดตึกร้างนาน 10 ปี ไม่เห็นเดือนเห็นตะวัน ถูกขังรอวันตาย
พ้นทุกข์แล้ว ช่วยหมาติดตึกร้างนาน 10 ปี ไม่เห็นเดือนเห็นตะวัน ถูกขังรอวันตาย

สะเทือนใจคนรักสัตว์ รุดช่วยสุนัขถูกขังอยู่ในตึกร้างมานานนับ 10 ปี ไม่เห็นเดือนเห็นตะวัน ถูกขังรอวันตาย

เฟซบุ๊กแฟนเพจ The Hope Thailand ได้แชร์เรื่องราวสุดสะเทือนใจ เมื่อ สุนัขตัวหนึ่ง ถูกขังอยู่ในตึกร้างมานานนับ 10 ปี ได้ความช่วยเหลือจากอาคารข้างเคียงทำให้ยังอยู่มาได้ โพสต์ดังกล่าวได้เล่าเรื่องราว และวิธีการช่วยเหลือ สุนัขตัวนี้ให้พ้นจากความทุกข์ทรมาน

ระบุว่า “ขอให้หนูใช้เวลาชีวิตที่เหลือให้มีความสุขที่สุดนะลูก…..”นวมินทร์” ปิดตำนานหมาติดตึกร้าง 10 ปี… ไม่เคยเห็นเดือนเห็นตะวัน ถูกขังไว้รอวันตาย !! @นวมินทร์ 24

โดย The Hope Thailand ได้รับการร้องขอความช่วยเหลือเรื่องหมาถูกขังในตึกร้างโดยเจ้าของไม่เคยกลับมาให้อาหารเลยนับสิบปี ยังชีพด้วยอาหารที่น้องๆ ศูนย์ฮอนด้า พยายามสอดเข้าไปให้ที่ใต้ประตูเหล็กล็อคแน่น..!

จึงได้ลงพื้นที่พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กองสวัสดิภาพสัตว์ปศุสัตว์ สำนักงานเขตบึงกุ่ม สำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร และได้ประสานให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ สน. บึงกุ่ม เข้ามาร่วมเป็นพยานในการช่วยเหลือครั้งนี้

โดยใช้อำนาจตามมาตรา 25 พระราชบัญญัติการป้องกันการทารุณกรรมสัตว์บุกเข้าพื้นที่ไปช่วยชีวิตออกมา เมื่อช่วยออกมาได้พบว่าสุนัขเป็นสุนัขสูงอายุ สุขภาพปานกลาง และมีประชาชนติดต่อขอรับอุปการะแล้ว อยู่ย่านตลิ่งชัน

จึงได้นำส่งไปยังบ้านที่ขอรับอุปการะพร้อมตรวจสอบความพร้อมทั้งหมด โดยตั้งชื่อน้องหมาตัวนี้ว่า”นวมินทร์”…เป็นสุนัขเพศเมียอายุราว 10 ปี

เมื่อไปถึงบ้านใหม่พบว่าบ้านมีความพร้อมดีเยี่ยม มีรั้วรอบขอบชิด มีบริเวณ และมีเพื่อนหมาอยู่ด้วยหนึ่งตัวเป็นลูกหมา และหลังจากนี้เมื่อน้องปรับตัวได้แล้วก็จะนำไปตรวจเลือดอย่างละเอียดหากพบว่ามีอาการป่วย ทาง The Hope ก็จะช่วยในส่วนของการรักษาต่อไป

ก่อนจาก….อยากฝากให้เคสนี้เป็นกรณีตัวอย่างสำหรับการช่วยเหลือสัตว์ที่ได้รับอันตรายของประเทศนี้ #กรณีที่เจ้าของสถานที่ไม่ยินยอมให้เข้าไปช่วยหรือติดต่อเจ้าของสถานที่ไม่ได้ #ไม่ได้แปลว่าหมดหนทางแล้วต้องปล่อยให้สัตว์ตายโดยที่ไม่ได้รับการช่วยเหลือ

ผู้ที่จะเข้าไปช่วยขอให้ปฏิบัติ ดังนี้…

  1. ประสานงานมูลนิธิองค์กรที่มีความรู้ด้านกฎหมาย
  2. แจ้งเหตุไปยังกองสวัสดิภาพสัตว์สำนักงานปศุสัตว์
  3. ในการลงพื้นที่ช่วยให้ประสานสำนักงานเขตหรือเทศบาลในพื้นที่เพื่อมาร่วมเป็นพยาน
  4. ในการลงพื้นที่ช่วยให้ประสานเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่เพื่อมาร่วมเป็นพยานและให้มีการบันทึกทุกรายละเอียดเป็นภาพเคลื่อนไหวไว้ทั้งหมด
  5. หลังการเข้าช่วยเหลือเสร็จให้ไปลงบันทึกประจำวันไว้ที่สถานีตำรวจในพื้นที่เพื่อไว้เป็นหลักฐานปกป้องกรณีที่คู่กรณีไม่ประสงค์ดีต้องการดำเนินคดี

#การเข้าช่วยจำเป็นต้องใช้เจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติซึ่งหมายถึงเจ้าพนักงานปศุสัตว์ โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 25 พระราชบัญญัติการป้องกันการทารุณกรรมสัตว์เพื่อเข้าช่วยชีวิตสัตว์ในกรณีวิกฤตได้ !! #อย่ากลัวที่จะช่วยชีวิตสัตว์บนความถูกต้องครับ !

ที่อยากฝากไว้อีกเรื่องคือ….. การกระทำใด ๆ ที่ขัดขวางการเข้าช่วยชีวิตโดยเจตนา ถือเป็นการขัดขวางการปฎิบัติงานของเจ้าหน้าที่ซึ่งมีโทษอาญา …. และหากพิสูจน์เจตนาในการขัดขวางได้ก็อาจจะเข้าในส่วนของทารุณกรรมสัตว์อีกคดีหนึ่ง

ส่วนการขัดขวางการปฎิบัติงานของเจ้าหน้าที่ซึ่งมีโทษอาญา และหากพิสูจน์เจตนาในการขัดขวางได้ก็อาจจะเข้าในส่วนของทารุณกรรมสัตว์อีกคดีหนึ่ง”

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ