“หมอกจางๆ และควัน คล้ายกันจนบางทีไม่อาจรู้” ที่เห็นว่าเป็นหมอก ที่จริงแล้วอาจจะเป็นควันอย่างที่ในเพลงว่า และไม่ได้มาเพื่อบดบังทัศนวิสัยแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังพาความเสี่ยงต่อสุขภาพมาให้กับเราด้วย
จริงๆ แล้วค่าฝุ่นละออง PM 2.5 ในประเทศไทยก็เกิดขึ้นเรื่อยๆ อยู่แล้วโดยเฉพาะภาคเหนือซึ่งมีทั้งฝุ่นและควัน แต่สำหรับสภาพอากาศที่เกิดขึ้นในกรุงเทพและปริมณฑลนี้ มาจากหลายสาเหตุ เช่น การเผาป่า การเผาขยะ การเผาให้ที่โล่ง การเพิ่มพื้นที่ของโรงงานอุตสาหกรรม การเพิ่มขึ้นของจำนวนรถยนต์ แม้แต่การประกอบอาหารที่ใช้เตาถ่านก็ทำให้ฝุ่นละอองเหล่านี้เพิ่มขึ้น ประกอบกับสภาพอากาศในปีนี้ค่อนข้างนิ่ง จึงทำให้ฝุ่นอยู่ในที่แคบๆ ไม่มีการไหลเวียนระบายไปที่อื่น จึงทำให้ค่าฝุ่นละอองที่เกินมาตรฐานในปีนี้เกิดขึ้นเร็วและอยู่กับเรานานกว่าปีก่อนๆ
ดังนั้น เมื่อไรก็ตามที่มีพบเห็นฝุ่นละอองที่มีลักษณะคล้ายหมอกควัน หรือมีการแจ้งเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยา ควรปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้
-
ลด/หลีกเลี่ยงเวลาที่อยู่กลางแจ้งในบริเวณที่มลพิษค่าอากาศอยู่ระดับไม่ปลอดภัย โดยเฉพาะริมถนนใหญ่ ที่มีการก่อสร้างมาก
-
หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ใส่หน้ากากประเภทที่สามารถกรองฝุ่นขนาดเล็กกว่า “0.3 ไมครอน” ได้ เช่น N95, P100
-
หลีกเลี่ยงหรือลดจำนวนชั่วโมงการออกกำลังกายกลางแจ้งในบริเวณมลพิษอากาศไม่ปลอดภัย
-
เมื่ออยู่ในอาคาร ควรปิดประตูหน้าต่างให้เรียบร้อย และหมั่นทำความสะอาดบ้านทุกวัน
-
เมื่ออยู่ในอาคาร หลีกเลี่ยงการจุดเทียน ตะเกียงในอาคาร เพื่อลดการเผาไหม้ในอาคาร
-
หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหรือทำงานนานกว่า 12 ชั่วโมง ในที่โล่งแจ้ง
-
หากต้องการออกกำลังกายจริงๆ แนะนำเปลี่ยนประเภทการออกกำลังกายกลางแจ้งเป็นประเภทที่ใช้พลังงานน้อยลง เช่น จากวิ่งจอกกิ้งเป็นเดินช้าๆ แทน โดยกลุ่มคนที่ต้องระวังเป็นพิเศษ ได้แก่ ผู้มีโรคประจำตัว เช่น โรคปอด โรคหัวใจ รวมถึงกลุ่มผู้สูงอายุ และเด็ก
-
ลดการใช้รถยนต์ และการเผาขยะ
-
ถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น หายใจติดขัด แน่นหน้าอก วิงเวียนศีรษะ หรือหมดสติ ให้รีบไปตรวจรักษาที่สถานพยาบาลโดยเร็ว
- แพทย์เตือน 2 กลุ่มเสี่ยงฝุ่นละออง PM 2.5 พร้อมวิธีดูแลตัวเอง