รู้หรือไม่ ชลบุรีไม่มีศาลหลักเมือง เปิดที่มาศาลศักดิ์สิทธิ์ประจำจังหวัด ที่บางคนเข้าใจผิด

Home » รู้หรือไม่ ชลบุรีไม่มีศาลหลักเมือง เปิดที่มาศาลศักดิ์สิทธิ์ประจำจังหวัด ที่บางคนเข้าใจผิด
รู้หรือไม่ ชลบุรีไม่มีศาลหลักเมือง เปิดที่มาศาลศักดิ์สิทธิ์ประจำจังหวัด ที่บางคนเข้าใจผิด

รู้หรือไม่ ชลบุรี ไม่มีเสาหลักเมือง เปิดประวัติศาลเจ้าพ่อหลักเมือง สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำจังหวัด ที่คนแห่กราบไหว้วันเสาร์แรกของปี  

เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศที่ศาลหลักเมืองทั่วประเทศเป็นไปด้วยความศึกคัก มีประชาชนจำนวนมาก ออกมาสักการะสถานที่ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ในภูมิลำเนาต่างๆ ในเสาร์แรกของปี ตามความเชื่อ เพื่อเป็นสิริมงคลในชีวิตตลอดปีใหม่ พ.ศ.2567

เช่นเดียวกับที่จังหวัดชลบุรี ประชาชนได้เดินทางไปสักการะ ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองชลบุรี ตั้งอยู่ใกล้ศาลาฟังธรรม ตำบลบางปลาสร้อย อำเภอเมือง กันไม่ขาดสาย แต่อย่างไรก็ตาม ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองดังกล่าว ไม่ถือว่าเป็นศาลหลักเมือง เพราะจังหวัดชลบุรี ไม่มีเสาหลักเมืองแต่อย่างใด

ข้อมูลของกรมศิลปากร ระบุว่า ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองชลบุรี สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย ตั้งอยู่บริเวณเชิงสะพานยาว ปัจจุบันคือซอยฑีฆามารค หันหน้าลงทะเล ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองนี้ไม่ใช่ศาลหลักเมือง เนื่องจากชลบุรีในสมัยก่อนนั้นเป็นเมืองชั้นจัตวา จึงไม่มีเสาหลักเมืองหรือรับพระราชทานพระราชแสงอาญาสิทธิ์ ในปี พ.ศ.2550 สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศวิหาร ประทานชื่อศาลเจ้าพ่อหลักเมืองนี้ว่า “สิริมหามงคลชลบุรี” 

ประวัติศาลเจ้าพ่อหลักเมืองชลบุรี

ศาลนี้สร้างขึ้นเมื่อใดไม่ปรากฎหลักฐาน จากคำบอกเล่าและสันนิษฐานกันว่า สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ใกล้เคียงกับวัดใหญ่อินทารามกับศาลาฟังธรรม ทั้งสามนี้ ได้ขึ้นบัญชีเป็นศิลปกรรมโบราณสถานของจังหวัดชลบุรี ในสมัยก่อนนั้น ตำบลบางปลาสร้อย เป็นตำบลที่มีชุมชนอยู่อย่างหนาแน่นกว่าชุมชนในตำบลอื่น ๆ ในจังหวัดชลบุรี มีตลาดการค้าใหญ่ เรียกกันว่า ท่าเกวียน ซึ่งอยู่ระหว่างวัดใหญ่อินทารามกับวัดต้นสน และศาลาฟังธรรม ชาวป่า ชาวไร่ ชาวสวน จะนำผลผลิตของตนใส่เกวียนมาลงขายที่ตลาดนี้ แล้วก็ซื้อสิ่งของที่ต้องการกลับไป ที่นี่จึงเป็นที่นัดพบของผู้มีเกวียน มีควาย จึงเป็นจุดที่ก่อให้เกิดประเพณีวิ่งควาย ครั้งแรกของจังหวัดชลบุรี ผลิตผลที่นำมาขายนี้ พ่อค้าก็ซื้อนำใส่เรือ (เรือใบ เรือแจว) ไปขายยังต่างจังหวัดต่อไป

ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ตั้งอยู่เชิงสะพานยาว หันหน้าศาลลงทะเล ข้างศาลจะมีต้นโพธิ์ใหญ่ 1 ต้น หลังศาลฯ จะมีบ่อน้ำ ๅ บ่อ ชาวบ้านเรียกกันว่าบ่อศาลเจ้า หน้าศาลจะมีสะพาน พุ่งตรงไปทะเล สะพานนี้มีชื่อว่าสะพานยาว สะพานนี้ยาวกว่าสะพานอื่น ๆ ในสมัยนั้น จึงเป็นท่าเรือขนส่งสินค้าติดต่อไปมากับต่างจังหวัดอีกด้วย ต่อมาสะพานได้ถูกรื้อถอนไป กลายเป็นซอยมีชื่อใหม่ว่า ซอยฑีฆามารค ซึ่งแปลว่า ทางยาว ความหมายเหมือนเดิมเดิมศาลเจ้าพ่อหลักเมืองชลบุรี นี้จะมีงานประจำปี ประเพณีการกองข้าว เข้าทรงในวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 6 เป็นเวลาติดต่อกัน 3 วัน ตอนเย็นมีการเข้าทรงทำพีธีกองข้าวที่ข้างซอยบางปลาสร้อย ประเพณีการกองข้าว ก็เริ่มจากศาลเจ้าพ่อหลักเมืองชลบุรี นี้ เป็นแห่งแรกของจังหวัดชลบุรี

 

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ