หนึ่งอย่างที่ประชาชนหลายคนรู้กันกันเป็นอย่างดีนั้นก็คือสิทธิกรักษาทางการแพทย์ต่างๆ อาทิ สิทธิประกันสังคม หรือ สิทธิบัตรทอง รวมไปถึง บัตร 30 บาทรักษาทุกโรค แต่หลายๆคนคงไม่รู้ว่าแต่ละอย่างนั้นแตกต่างกันอย่างไร เพราะประชาชนแต่ละคนได้รับสิทธิไม่เหมือนกัน หากพนักงานประจำส่วนใหญ่ก็มักจะคุ้นชินกับ สิทธิประกันสังคม แต่หากเป็นชาวบ้านหรือผู้ที่มีอายุ มักจะคุ้นกับ สิทธิบัตรทอง เสียมากกว่า เพราะฉะนั้นวันนี้ เราจึงขอแยกขอแตกต่างและเปรียบเทียบให้ดูกันว่าแต่ละสิทธินั้น ใครสามารถใช้ได้บ้าง โดยข้อมูลดังกล่าวนั้นมาจาก สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) นั้นเอง
บัตรทอง หรือบัตร 30 บาท (สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ)
- ไม่มีค่าใช้จ่าย ใช้ได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง และไม่มีวงเงิน เพียงลงทะเบียนเลือกหน่วยบริการหรือสถานพยาบาลประจำตัวแล้วใช้สิทธิได้ทันทีโดยใช้บัตรประชาชนใบเดียว
- ใช้กับสถานพยาบาลประจำที่ลงทะเบียนไว้ หรือเจ็บป่วยต่างพื้นที่เข้าสถานพยาบาลปฐมภูมิที่ไหนก็ได้
- เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติถึงแก่ชีวิต (สีแดง) เข้าสถานพยาบาลรัฐและเอกชนที่อยู่ใกล้ (สิทธิ UCEP เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ มีสิทธิทุกที่)
มีอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย/เบื้องต้น ไม่ว่าสิทธิบัตรทองจะอยู่ที่สถานพยาบาลใด ก็เข้ารับบริการตามรายการนี้ได้
- เจ็บป่วยเล็กน้อย 16 กลุ่มโรค/อาการ ปรึกษาเภสัชกรและรับยาที่ร้านยากว่า 1,000 แห่งที่เข้าร่วมได้ทั่วประเทศ
- เจ็บป่วยเล็กน้อย 32 กลุ่มโรค/อาการ รับบริการที่คลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่นกว่า 600 แห่งที่เข้าร่วมได้ทั่วประเทศ
- เจ็บป่วยเบื้องต้น 42 กลุ่มโรค/อาการ พบหมอออนไลน์ รอรับยาจัดส่งถึงบ้านได้ ในพื้นที่ กรุงเทพฯ-ปริมณฑล 5 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม สมุทรปราการ สมุทรสาคร
- การย้ายหรือเปลี่ยนสถานพยาบาลประจำตัวทำได้ 4 ครั้งต่อปีงบประมาณ ใช้สิทธิได้ทันทีเมื่อเปลี่ยนแล้ว
- ใช้ได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง และไม่มีวงเงิน ครอบคลุมการบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข สร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ตรวจวินิจฉัยโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็น
- ครอบคลุมค่าอาหารและค่าห้องสามัญเมื่อต้องแอดมิทที่โรงพยาบาล
- ได้เพียงสิทธิรักษาฟรี (บริการทางการแพทย์และสาธารณสุข) ไม่มีเงินชดเชยว่างงาน เกษียณ เสียชีวิต เหมือนประกันสังคม
ประกันสังคม (ผู้ประกันตน)
- ประกันสังคม ต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนทุกเดือน ตามเงื่อนไขจึงจะสามารถใช้สิทธิได้
- ใช้กับโรงพยาบาลที่เลือกสิทธิไว้ กรณีฉุกเฉินเข้าที่ไหนก่อนก็ได้โดยไม่ต้องสำรองจ่าย
- เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกกฤติเข้าสถานพยาบาลรัฐและเอกชนที่อยู่ใกล้ (สิทธิ UCEP เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติมีสิทธิทุกที่)
- ใช้ได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ไม่มีวงเงิน และไม่เสียค่าใช้จ่ายครอบคลุมการบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข สร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ตรวจวินิจฉัยโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็น
- การย้ายสถานพยาบาลประจำตัวย้ายได้ปีละ 1 ครั้ง
- ถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน ไม่เกิน 900 บาท/ปี
- ค่าห้องและค่าอาหาร ไม่เกิน 700 บาท/วัน
- ได้รับเงินชดเชย กรณีว่างงาน เกษียณ เสียชีวิต
หมายเหตุ
1. บัตรทองหรือบัตร 30 บาทมีได้ทุกคน หากไม่มีสวัสดิการรักษาพยาบาลอื่นของรัฐ (ประกันสังคม สวัสดิการข้าราชการและครอบครัว เป็นต้น)
2. พนักงานบริษัทได้สิทธิประกันสังคมอัตโนมัติ
3. กรณีลาออกจากงาน และไม่อยากส่งประกันสังคมต่อ (มาตรา 39 ) สามารถใช้สิทธิบัตรทองหรือบัตร 30 บาทได้ แต่ต้องลงทะเบียนเลือกหน่วยบริการประจำก่อน
4. ผู้ประกันตนมาตรา 40 ใช้สิทธิ ‘บัตรทองหรือบัตร 30 บาท’ รักษาพยาบาล หรือหากได้รับสิทธิเบิกจ่ายตรงจากกรมบัญชีกลาง ก็ยังคงได้รับสิทธิได้ตามปกติ (มาตรา 40 ไม่ได้ให้ความคุ้มครองในเรื่องค่ารักษาพยาบาล แต่ให้เป็นเงินทดแทนการขาดรายได้ กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย และกรณีทุพพลภาพ รวมถึงได้รับเงินค่าทำศพ กรณีตาย ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด)