ทำไม? e-Refund ถึงใช้ ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ในการลดหย่อน

Home » ทำไม? e-Refund ถึงใช้ ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ในการลดหย่อน
ใบกำกับภาษี 171166-min

รู้หรือไม่? ทำไม โครงการ e-Refund ถึงใช้ ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ในการลดหย่อนภาษี จับจ่ายสินค้าและบริการ มูลค่ารวมไม่เกิน 50,000 บาท

หลังจากที่ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ รมว.การคลังได้เปิดเผย ถึงโครงการ “e-Refund” ที่ประชาชนจะได้รับภาษีคืน จากการจับจ่ายสินค้าและบริการ มูลค่ารวมไม่เกิน 50,000 บาทนั้น หลังจากที่ไม่เข้าเกณฑ์ เงินดิจิทัลวอลเล็ต 1 หมื่นบาทนั้น เพื่อปลอบใจ โดยโครงการนี้จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2567 และคาดระยะเวลาใช้จ่ายนาน 45 วัน หลังจากเริ่มโครงการ ซึ่งโครงการจะสิ้นสุดในวันที่ 15 ก.พ.2567

วันนี้พวกเราชาวไบรท์ทูเดย์ จะพามาทำความรู้จักเกี่ยวกับ e-Refund ในส่วนของ ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ที่จะต้องใช้ลดหย่อนภาษีในโครงนี้นี้ ว่าจริงๆแล้วมีลักษณะอย่างไร แล้วเมื่อเราจำเป็นจะต้องใช้ จะต้องแจ้งข้อมูลอะไรบ้าง เพราะ โครงการนี้จะส่งเสริมให้ผู้ประกอบการร้านค้า รวมถึงเป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศไทยอีกด้วย

ใบกํากับภาษี (Tax Invoice) คืออะไร?

ใบกํากับภาษี (Tax Invoice) คือ เอกสารหลักฐานที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มีหน้าที่ต้องจัดทำ และออกให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ทุกครั้งที่ขายสินค้าหรือให้บริการ และต้องจัดทำอย่างช้าในทันทีที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น เพื่อแสดงมูลค่าของสินค้าหรือบริการ และจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการเรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บ จากการขายสินค้าหรือให้บริการในแต่ละครั้ง

เว้นแต่ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าชนิดและประเภทเดียวกันให้แก่ผู้ซื้อสินค้ารายหนึ่งรายใดเป็นจำนวนหลายครั้งในหนึ่งวันทำการ ผู้ประกอบการจดทะเบียนดังกล่าวสามารถจัดทำใบกำกับภาษีรวมเพียงครั้งเดียวในหนึ่งวันทำการสำหรับผู้ซื้อสินค้ารายนั้นก็ได้

ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Tax Invoice คืออะไร?

ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) คือ เป็นเอกสารที่กรมสรรพากรกำหนดให้ผู้ประกอบการจัดทำใบรับ/ใบกำกับภาษีเพื่อเป็นหลักฐานในการขายสินค้าและการให้บริการทุกครั้ง เมื่อมีการชำระเงิน พร้อมทั้งต้องส่งมอบต้นฉบับใบรับ/ใบกำกับภาษีนั้น ในรูปแบบกระดาษให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ซึ่งถือเป็นภาระต้นทุนส่วนหนึ่งในการดำเนินธุรกิจ ดังนั้น เพื่อส่งเสริมการทำธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) และดำเนินการภายใต้ พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 กรมสรรพากรจึงได้พัฒนาระบบการออกใบรับ/ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์แทนรูปแบบกระดาษ เพื่อช่วยลดภาระต้นทุนและเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการไทย อันเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในเวทีโลก

e-Tax Invoice หรือ ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ คือ ทางเลือกใหม่ ที่จะมาแทนใบกำกับภาษีแบบกระดาษที่คุ้นเคย ช่วยให้คุณไม่จำเป็นต้องจัดทำเอกสารที่ยุ่งยากอีกต่อไป สามารถส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ถึงลูกค้าและกรมสรรพากรได้อย่างสะดวกรวดเร็วผ่านทางอีเมล์ เว็บไซต์กรมสรรพากร หรือส่งข้อมูลถึงเซิร์ฟเวอร์ของกรมสรรพากรโดยตรงได้เช่นกัน

pexels-nataliya-vaitkevich-6863332
  • ‘ก้าวไกล-ศิริกัญญา’ เคลียร์ชัด! นโยบายแจกเงิน ดิจิทัลวอลเล็ต 10,000
  • พีระพันธุ์ เดือด! ‘น้ำมัน’ ไม่ใช่หุ้น ขึ้นลงทุกนาที แล้วให้ปชช.มาแบกรับ
  • อัปเดต! คู่รักหนีทัวร์เกาหลี ล่าสุด ปลดบล็อกแล้ว แต่ขอเที่ยวต่ออีกนิด

รูปแบบของใบกำกับภาษี

  1. ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป
  2. ใบกำกับภาษีอย่างย่อ
  3. ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ออกโดยเครื่องบันทึกการเก็บเงิน
ใบกำกับภาษี-171166-6-min

รายละเอียดเพิ่มเติม : กรมสรรพกร

ความแตกต่างระหว่าง ‘ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์’ และ ‘ใบกำกับภาษีทั่วไป’

  1. รูปแบบ
    ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ : เป็นไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถส่งหรือรับผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้
    ใบกำกับภาษีทั่วไป : เป็นเอกสารกระดาษที่พิมพ์ออกมา
  2. การลงลายมือชื่อ
    ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ : มีการลงลายมือชื่อดิจิทัล ซึ่งเป็นเปรียบเสมือนลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการยืนยันตัวตนและรับรองความถูกต้องของข้อมูล เพื่อป้องกันไม่ให้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ถูกปลอมแปลงหรือแก้ไขข้อมูลได้
    ใบกำกับภาษีทั่วไป : มีการลงลายมือชื่อด้วยปากกา ซึ่งอาจทำให้ใบกำกับภาษีทั่วไปถูกปลอมแปลงหรือแก้ไขข้อมูลได้
  3. ระบบรักษาความปลอดภัย
    ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ : มีระบบรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวด เพื่อป้องกันไม่ให้ข้อมูลสูญหายหรือถูกโจรกรรม เช่น ระบบการเข้ารหัสข้อมูล ระบบตรวจสอบสิทธิ์ และระบบป้องกันการเข้าถึงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต
    ใบกำกับภาษีทั่วไป : มีระบบรักษาความปลอดภัยที่ขึ้นอยู่กับผู้ออกใบกำกับภาษี ซึ่งอาจไม่เข้มงวดเท่าใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์
  4. การตรวจสอบข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และ ใบกำกับภาษีทั่วไป สามารถตรวจสอบข้อมูลได้
    ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ : สามารถตรวจสอบข้อมูลได้ผ่านระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากร ซึ่งสะดวกและรวดเร็วกว่า
    ใบกำกับภาษีทั่วไป : เป็นการตรวจสอบข้อมูลผ่านเอกสารกระดาษ
  1. การบันทึกข้อมูล
    ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ : บันทึกข้อมูลในระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากร ซึ่งทำให้สามารถตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังได้
    ใบกำกับภาษีทั่วไป : บันทึกข้อมูลในเอกสารกระดาษ ซึ่งอาจทำให้ข้อมูลสูญหายหรือถูกทำลายได้
  2. ระยะเวลาการเก็บรักษา ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบกำกับภาษีทั่วไปต้องเก็บรักษาอย่างน้อย 5 ปี
    ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ : สามารถเก็บรักษาในระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากร ตลอดอายุภาษี ซึ่งสะดวกและประหยัดพื้นที่กว่า
    ใบกำกับภาษีทั่วไป : เก็บรักษาในเอกสารกระดาษ อย่างน้อย 5 ปี

ที่มา : กรมสรรพกร

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ