เคล็ด(ไม่)ลับ ไหว้ ‘พระแม่ลักษมี’ อย่างไรให้สมดั่งใจหวัง ในวัน ‘เทศกาลดิวาลี’

Home » เคล็ด(ไม่)ลับ ไหว้ ‘พระแม่ลักษมี’ อย่างไรให้สมดั่งใจหวัง ในวัน ‘เทศกาลดิวาลี’

พระแม่ลักษมี-min

‘พระแม่ลักษมี’ เทวีแห่งโชคลาภ และความมั่งคั่ง เผยเคล็ดลับสายมูเตลูไหว้พระแม่อย่างไรให้สมปรารถนาทันตาเห็น ต้อนรับ เทศกาลดิวาลี วันมงคล 1 ปีมี 1 ครั้ง

‘ดิวาลี’ หรือ ‘ดีปาวลี’ วันมงคลของชาวฮินดูที่ใน 1 ปีจะมีเพียง 1 ครั้ง ถือเป็นวันที่เราจะทำพิธีบูชา ‘พระแม่ลักษมี’ เทวีแห่งโชคลาภและความมั่งคั่ง ด้วยการตกแต่งบ้านเรือน อาคาร หรือศาสนสถานด้วยดวงไฟ/ประทีปให้สว่างไสว อีกทั้งยังถือเป็นวันปีใหม่ของชาวฮินดูด้วย โดย “ดิวาลี2566” ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 12 พฤศจิกายน 2566

วันนี้ทีมข่าว ไบรท์ทูเดย์ (Bright Today) จึงขอมาเอาใจสายมูเตลูกันเสียหน่อย โดยเราได้นำเอาเคล็ดลับที่ไม่ลับเกี่ยวกับวิธีการไหว้บูชา และขอพร “พระแม่ลักษมี” ต้อนรับวันมงคล ‘เทศกาลดิวาลี’ นั่นเอง เพื่อให้เหล่าสายมูทุกท่านสมหวังสมปรารถนาแบบรวดเร็วทันใจอย่างกับเป็นลูกรักพระแม่กันเลย ซึ่งก็มาพร้อมกับบทสวด รวมไปถึงแจกพิกัดสถานที่จัดงาน ดิวาลี2566 ด้วย หากพร้อมแล้วไปเริ่มเดินทางสายมูกันเลยค่ะ

ดิวาลี-2566-หรือ-ดีปาวลี-พระแม่ลักษมี-1-min

รู้จัก “พระแม่ลักษมี” คือใคร?

พระแม่ลักษมี เป็นเทวีในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นพระชายาของพระวิษณุ พระองค์เปรียบเสมือนเป็นเจ้าแห่งความมั่งคั่ง โชคลาภ และความเจริญรุ่งเรือง

ในศิลปะอินเดีย พระลักษมีทรงเครื่องแต่งกายงดงาม หรูหรา พร้อมด้วยเครื่องประดับต่าง ๆ ผิวกายสีทองอร่าม และมีพาหนะเป็นนกฮูก ประทับอยู่ในท่านั่งและ/หรือยืน บนฐานดอกบัว ในพระหัตถ์ถือดอกบัว อันเป็นสัญลักษณ์ของโชคลาภ การเข้าใจตัวเอง และการเป็นอิสระเชิงจิตวิญญาณ

ความเชื่อเกี่ยวกับพระแม่ลักษมี

ผู้ที่นับถือ และบูชา “พระแม่ลักษมี” มักเชื่อกันว่าพระองค์มักจะประทานพระความเร็จในเรื่องของหน้าที่การงาน การเงิน และยังรวมไปถึงในเรื่องของความรักอีกด้วย เนื่องจากเรื่องเล่าของพระองค์ที่มีศรัทธาในความรักได้เลือกพระวิษณุเป็นพระสวามีนิรันดร์ ไม่ว่าพระวิษณุจะอวตารไปเป็นร่างใด ๆ ก็ตาม พระแม่ลักษมีก็จะอวตารไปเป็นพระชายาอยู่เคียงข้างตลอด นั่นจึงถือว่าพระแม่ลักษมีเป็นตัวแทนของผู้ที่มีความรักที่ซื่อสัตย์โดยแท้ ทำให้นอกเหนือจากการมาขอเรื่องโชคลาภเงินทองแล้ว ผู้คนจึงนิยมมาขอพรให้ได้พบเจอกับความรักที่ดีด้วยเช่นกัน ทำให้ปัจจุบันเกิดกระแส เทรนด์ I told พระแม่ลักษมี about you นั่นเอง

วันสำคัญที่นิยมไหว้บูชาพระแม่ลักษมี

  • วันสีดา นวมี : ขึ้น 9 ค่ำ เดือนอัษฐะ หรือระหว่างเดือนมิถุนายน ถึงเดือนกรกฎาคม
  • วันดิวาลี หรือ วันดีปาวลี พิธีแห่งแสงสว่าง : แรม 14 ค่ำ เดือนการติก หรือระหว่างเดือนตุลาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน (ขอพรเรื่องความมั่งคั่ง ร่ำรวย โชคลาภ)
  • วันวาราลักษมี วรัทตัม : ตรงกับวันข้างขึ้นของเดือนศรวณะตามปฏิทินฮินดู ซึ่งมักจะตรงกับวันศุกร์ ในช่วงประมาณเดือนกรกฎาคม หรือเดือนสิงหาคม (เป็นวันที่จะขอพรเรื่องความรักโดยเฉพาะ)

‘ดิวาลี 2566’ ตำนานเทศกาลแห่งแสงไฟ เพื่อบูชา ‘พระแม่ลักษมี’

พิกัดไหว้ขอพร พระแม่ลักษมี

  • ตึกเกษรวิลเลจ ชั้น 4 (แยกราชประสงค์) เปิดบริการทุกวัน เวลา 10.00 – 18.00 น.
  • วัดแขก (สีลม) หรือ วัดพระศรีมหาอุมาเทวี เปิดทำการทุกวัน เวลา 06.00 – 20.00 น. (จ.- พฤ. และส. – อา.) และเวลา 06.00 – 21.00 น. (เฉพาะวันศุกร์)
  • วัดวิษณุ ยานนาวา เปิดทำการทุกวัน 2 ช่วงเวลา คือ ช่วงเช้า 06.00 – 12.00 และช่วงเย็น 15.00 – 20.30 น.
  • วัดไผ่เงินโชตนาราม กรุงเทพฯ เปิดทำการทุกวัน เวลา 07.00 – 22.00 น.
  • ศาลพระแม่ลักษมีมหาเทวี เซ็นทรัลลาดพร้าว กรุงเทพฯ เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 10.00 – 22.00 น.
  • โบสถ์เทพมณเฑียร เสาชิงช้า กรุงเทพฯ เปิดทำการทุกวัน เวลา 06.00 – 20.00 (โบสถ์จะปิดชั่วคราวเวลา 12.00 – 15.00 น.ของทุกวัน)

การเตรียมตัว พร้อมของไหว้ ‘พระแม่ลักษมี’

  • แนะนำให้ไปไหว้พระแม่ลักษมีใน *วันศุกร์
  • แต่งตัวให้มีสีสันสดใส เน้นไปที่ สีแดง, สีชมพู หรือสีบานเย็น (เพราะพระแม่ชอบสีชมพู)
  • ธูป 9 ดอก
  • ดอกบัว สีชมพู 8 ดอก (หรือดอกไม้ชนิดอื่น ๆ ที่มีสีแดง หรือสีชมพู)
  • น้ำเปล่า
  • นม
  • ผลไม้ 5 อย่าง
  • ขนมหวานที่มีชมพู หรือจะเป็นขนมของอินเดีย เช่น ขนมดอกบัวชมพู, ขนมดอกกุหลาบ, โมทกะ และลาดู
  • กำยาน
  • น้ำอ้อย, น้ำมะพร้าว ,น้ำตาลสด (สามารถถวายเพิ่มได้)

ของต้องห้าม!

  • สิ่งที่ทำมาจากเนื้อสัตว์ หรือมีเนื้อสัตว์เป็นส่วนประกอบ
  • ขนมที่มีไข่เป็นส่วนประกอบ

บทสวดบูชาพระแม่ลักษมี และพระพิฆเนศ

โดยปกติแล้วชาวฮินดูมักจะบูชาองค์พระพิฆเนศ และพระแม่ลักษมีไปพร้อม ๆ กัน เพื่อช่วยเสริมความปัง ดังนั้นก่อนที่จะสวดบูชาพระแม่ลักษมี ควรสวดบูชาพระพิฏเนศก่อน โดยใช้บทสวดดังนี้

คาถาบูชาพระพิฆเนศ

โอม ศรี คเณศายะ นะมะฮา

คาถาบูชาพระแม่ลักษมี (แบบสั้น)

โอม ศรี มหาลักษมี เจ นะมะฮา

โอม พระลักษมี อิตถีเทวะ เมตตัญจะ มหาลาโภ

ทุติยัมปิ พระลักษมี อิตถีเทวะ เมตตัญจะ มหาลาโภ

ตะติยัมปิ พระลักษมี อิตถีเทวะ เมตตัญจะ มหาลาโภ

คาถาบูชาพระลักษมี (แบบยาว)

โอม ชยะ ศรี ลักษมี มาตา (3 จบ)

โอม ศรี ลักษะมิไย นะมะห์ (3 จบ)

โอม มหาลักษะ มิไย นะโม นะมะห์ โอม วิษณุ ปรียาไย นะโม นะมะห์ โอม ธะนะ ประทาไย นะโม นะมะห์ โอม วิศวา จะนันไย นะโม นะมะห์ ยา เทวี สะระวะ ภูเตชุ ลักษมี รูเปนะ สัม สะถิตา นะมัส ตัสไย / นะมัส ตัสไย / นะมัส ตัสไย นะโม นะมะห์

เมื่อสวดคาถาเสร็จแล้วให้ต่อด้วย…วันนี้ข้าพเจ้าได้มาสักการะองค์พระแม่ลักษมีเทวี วันนี้ลูกได้น้อมนำสิ่งของมาถวาย (กล่าวชื่อสิ่งของที่นำมาถวายแต่ละอย่าง)

คำกล่าวนี้ไม่มีบทกล่าวที่ตายตัว ขึ้นอยู่กับตัวเราเองว่าต้องการจะเล่าเรื่องราว พูดคุย หรืออธิบายกับองค์ท่านอย่างไรบ้างให้เกี่ยวข้องกับพรที่เราจะขอ แต่ให้คิดเอาไว้อยู่เสมอว่าเราต้องคุยกับท่านก่อน เล่าเรื่องราวต่าง ๆ สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตว่าเป็นอย่างไร และเมื่อบอกเล่าทุกอย่างเสร็จสิ้นแล้ว ก็จึงเริ่มขอพร โดยให้กล่าวในสิ่งที่ตนปรารถนา *การมาขอพรกับพระแม่ลักษมีนั้น ควรขอพรทีละข้อต่อการมาสักการะ และให้ขอพรสิ่งนั้นซ้ำ ๆ จนกว่าจะได้สิ่งที่เราหวังไว้*

ที่มา : wikipedia, wongnai, sanook

ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ

Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ