11 ยาห้ามนําเข้าญี่ปุ่น 2566 รู้ไว้ถ้าไม่อยากโดนจับ!

Home » 11 ยาห้ามนําเข้าญี่ปุ่น 2566 รู้ไว้ถ้าไม่อยากโดนจับ!
11 ยาห้ามนําเข้าญี่ปุ่น 2566 รู้ไว้ถ้าไม่อยากโดนจับ!

การเตรียมตัวเดินทางไปต่างประเทศนอกจากจะต้องเตรียมเสื้อผ้าของใช้แล้ว อีกอย่างที่สำคัญก็คือยาประจำตัวต่างๆ แต่รู้หรือไม่ว่า ในปัจจุบันมียาบางประเภทที่มีข้อกำหนดว่าห้ามนำเข้าประเทศนั้นๆ ซึ่งแต่ละประเทศก็อาจกำหนดแตกต่างกันไป สำหรับวันนี้พี่เห็ด มัชรูมทราเวล เราจะมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับ ยาห้ามนําเข้าญี่ปุ่น เพื่อที่เวลาไป ทัวร์ญี่ปุ่น จะได้เตรียมตัวกันอย่างถูกต้อง และจะได้ไม่ทำผิดกฎหมายโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ค่ะ

สถานเอกอัครราชทูตไทย กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ได้ออกมาประกาศเตือนยา 11 ชนิด ที่ห้ามนำเข้าประเทศญี่ปุ่นอย่างเด็ดขาด เพราะเป็นยาที่มีส่วนผสมต้องห้าม ผิดกฏหมายของประเทศญี่ปุ่น ดังนั้นใครที่จะไปเที่ยวประเทศญี่ปุ่นต้องระวังและควรศึกษาข้อมูลก่อนเดินทางให้ดีค่ะ

ทางสถานเอกอัครราชทูตไทย กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ได้มีการประกาศเตือนเกี่ยวกับ ยาห้ามนำเข้าญี่ปุ่น 11 ชนิด เนื่องจากยาชนิดต่างๆ เหล่านี้ มีส่วนผสมต้องห้ามภายใต้กฎหมายของญี่ปุ่น โดยจัดเป็นกลุ่มยาบรรเทาอาการหวัดที่มีส่วนผสมของ ซูโดอีเฟดรีน (Pseudoephedrine) และยาแก้ท้องเสีย เนื่องจากญี่ปุ่นไม่อนุญาตให้นำเข้ายาที่มีฤทธิ์กระตุ้นประสาท ไม่ว่าจะนำไปใช้เพื่อรักษาตัวหรือใช้ทางการแพทย์ และหากตรวจพบจะถูกยึดและดำเนินคดีทันที

 jp-mush-768x960

 
สำหรับ ยาห้ามนําเข้าญี่ปุ่น ในปัจจุบันมี 11 รายการ แต่ก็ไม่ต้องกังวลใจกันจนเกินไปนะคะ เพราะยาส่วนใหญ่นี้ไม่มีวางขายในประเทศไทย หรือบางตัวก็ถูกห้ามขายในประเทศไทยแล้ว แต่เพื่อความมั่นใจก็อย่าลืมตรวจสอบกันอีกครั้ง แบ่งรายชื่อกลุ่ม ยาห้ามเข้าญี่ปุ่น ได้ดังนี้ค่ะ

กลุ่มที่ 1 ยาที่มีส่วนผสมซูโดอีเฟดรีน จำพวกยาแก้หวัด แก้แพ้ ลดน้ำมูก

1. TYLENOL COLD
2. SUDAFED
3. ADVIL COLD & SINUS
4.ACTIFED
5. DRISTAN COLD/ “NO DROWSINESS”
6. DRISTAN SINUS
7. DRIXORAL SINUS

กลุ่มที่ 2 ยาแก้หวัดที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนในประเทศไทย

8. NYQUIL
9. NYQUIL LIQUICAPS
10. VICKS INHALER

กลุ่ม 3 ยาแก้ท้องเสีย ที่มีการยกเลิกการขึ้นทะเบียนในประเทศไทยแล้ว

11. LOMOTIL

ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จึงฝากข้อแนะนำสำหรับผู้ที่จะต้องนำยาติดตัวเพื่อใช้เฉพาะตนเองเมื่อเดินทางไป เที่ยวญี่ปุ่น ว่า อย่าแกะยาออกจากแผงบรรจุยาที่มีชื่อยาระบุไว้ และปริมาณที่นำไปไม่ควรเกินการใช้ 30 วันในกรณีเพื่อรักษาตนเอง ส่วนในกรณีที่จำเป็นต้องใช้เกิน 30 วัน หรือเป็นยาที่มีส่วนผสมของยาเสพติดให้โทษที่ใช้ทางการแพทย์ ต้องมีมาตรการควบคุมเป็นกรณีพิเศษ เช่น ยาแก้ปวดที่มีส่วนประกอบเฟนทานิล (Fentanyl),เพทิดีน (Pethidine) เป็นต้น จะต้องทำเรื่องขอและได้รับใบอนุญาตจากรัฐบาลญี่ปุ่น เพื่อใช้รักษาเฉพาะตัวก่อนออกเดินทาง

และขอให้จำให้ขึ้นใจว่า กลุ่ม ยาห้ามนำเข้าญี่ปุ่น คือ ยาเสพติดให้โทษ ยาที่มีฤทธิ์กระตุ้นประสาทส่วนกลาง เช่น ซูโดอีเฟดรีน (Pseudoephedrine) เป็นต้น โดยรัฐบาลญี่ปุ่นมีระบบการตรวจสอบการนำเข้ายาอย่างเข้มงวด ทั้งยาที่นำมาด้วยตัวเอง ทางเครื่องบินโดยสาร หรือยาที่ส่งมาทางพัสดุไปรษณีย์ หากนำเข้าไปก็มีความเป็นไปได้ที่จะถูกควบคุมตัวและดำเนินคดีตามกฎหมายของญี่ปุ่นนะคะ

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ