วันที่ 11 ตุลาคม ของทุกปี องค์การสหประชาชาติ ได้กำหนดให้เป็น วันเด็กหญิงสากล (International Day of the Girl Child) เพื่อให้ทั่วโลกรณรงค์สร้างความตระหนักเกี่ยวกับสิทธิและโอกาสสำหรับเด็กหญิง ให้ได้รับการพัฒนาในด้านต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหา ยกระดับบทบาทและสถานะของสตรี โดยเฉพาะเด็กหญิง เช่น ความไม่เท่าเทียมกันทางเพศ การศึกษา รวมทั้งการพัฒนาด้านสุขภาพ
- วันนี้วันอะไร? 6 กรกฎาคม วันจูบสากล International Kissing Day
- เอ๊ะ! Introvert vs Extrovert แปลว่าอะไร เราเป็นคนแบบไหนกันแน่?
- วันนี้วันอะไร? 13 มิถุนายน วันแห่งการตระหนักถึงคนผิวเผือกสากล
ข้อมูลจาก UNICEF ระบุว่า 90% ของประชากรเด็กกว่า 1,000 ล้านคนทั่วโลก ในจำนวนนี้รวมเด็กผู้หญิงกว่า 600 ล้านคน อาศัยอยู่ในประเทศด้อยพัฒนา และไม่ได้เข้าสู่ระบบการศึกษา รวมถึงไม่ได้รับการคุ้มครองด้านสวัสดิการและแรงงาน สถานการณ์นี้เกิดขึ้นควบคู่ไปกับการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมและตลาดแรงงานที่ต้องการคนที่มีทักษะพิเศษและความคิดสร้างสรรค์
เน้นส่งเสริมให้ประชาชนเปลี่ยนแปลงแนวคิด จิตสำนึกและปฏิบัติการในการแก้ไขความไม่สมดุลทางเพศ สนับสนุนและขจัดการเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมเนื่องจากเหตุทางเพศ ประชาสัมพันธ์ข้อกำหนดของกฎหมายเกี่ยวกับการห้ามการเลือกเพศบุตร ทำการตรวจสอบและประเมินการปฏิบัติแนวทาง กฎหมายและนโยบายของพรรคและรัฐเกี่ยวกับความไม่สมดุลทางเพศและ ความเสมอภาคทางเพศในทุกระดับ
ความคลาดเคลื่อนของประชากร
การเลือกเพศบุตร สร้างผลกระทบต่อโครงสร้างประชากรแน่นอน ศ.ดร.ภัสสร ลิมานนท์ อดีตคณบดีวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่า ตามปกติแล้วสัดส่วนทารกแรกคลอด จะมีเพศชายมากกว่าเพศหญิงเล็กน้อย ก็คือชาย 105 คนต่อหญิง 100 คน เพราะตามหลักฐานทางสถิติเด็กผู้ชายจะอ่อนแอกว่าเด็กผู้หญิง ตรงนี้ก็เหมือนกับธรรมชาติก็เลยเผื่อเอาไว้ เผื่อให้สัดส่วนนั้นสมดุล แต่หากมีการเลือกเพศบุตรเกิดขึ้น ความสมดุลตรงนี้จะหายไปทันที ซึ่งตัวอย่างที่ยืนยันได้เป็นอย่างดี แม้ตอนนั้นจะยังไม่วิทยาการอะไรมากมายนัก ก็คือในประเทศเอเชียตะวันออกหรือเอเชียใต้ เช่น จีน อินเดีย ไต้หวัน ปากีสถาน ฯลฯ ซึ่งนิยมการมีบุตรชายมากกว่าบุตรสาว เพราะฉะนั้นถ้ามีลูกสาวเกิดขึ้นก็จะทำลายทิ้งเสีย เพื่อรอให้มีลูกชายเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม การที่มีชาวญี่ปุ่นมาใช้บริการแพทย์ไทยเพื่อเลือกเพศบุตรมากขึ้น และบางคนก็เลือกบุตรเป็นเพศหญิงนั้น ศ.ดร.ภัสสร มองว่าคงไม่มีผลกระทบอะไรมากนัก และน่าจะเป็นเรื่องเฉพาะบุคคลมากกว่า เพราะปัญหาของคนที่นั่นจริงๆ แล้วคือน่าจะเป็นภาวะการเจริญพันธุ์ที่ถดถอยลงมากกว่า
แต่สำหรับเมืองไทย ศ.ดร.ภัสสร มองว่าไม่มีแนวโน้มที่จะเลือกเพศบุตร เพราะค่านิยมความต้องการมีบุตรชายหรือบุตรสาวนั้นไม่ได้มีมากเท่าใดนัก เพราะคนสมัยเก่าเชื่อว่า ถ้ามีบุตรชายก็ให้บวชเรียน ส่วนบุตรสาวที่บวชไม่ได้ ก็ให้ทำหน้าที่ดูแลปรนนิบัติพ่อแม่แทน ฉะนั้นคุณค่าของเพศจึงมีความเท่าเทียมกัน
หากต้องการได้บุตรเพศหญิง
- หลีกเลี่ยงการร่วมเพศในระยะใกล้วันไข่สุก ซึ่งไข่จะสุกในระยะกึ่งกลางของรอบประจำเดือน ให้ร่วมเพศก่อนหน้านั้น และไม่จำเป็นต้องงดเว้นการร่วมเพศ
- ก่อนร่วมเพศควรสวนล้างช่องคลอดด้วยน้ำที่มีสภาพเป็นกรดอ่อนๆ โดยใช้น้ำส้มสายชู 2 ช้อนโต๊ะผสมกับน้ำสะอาด 1 ขวดเบียร์ใหญ่
- ควรรับหลั่งน้ำอสุจิก่อนที่ฝ่ายหญิงจะถึงจุดสุดยอด หรือพยายามหลีกเลี่ยงมิให้ฝ่ายหญิงมีความรู้สึกถึงจุดสุดยอด หรือพยายามหลีกเลี่ยงมิให้ฝ่ายหญิงมีความรู้สึกถึงขีดดังกล่าว
- ฝ่ายชายควรหลั่งน้ำอสุจิในขณะที่ปลายอวัยวะเพศอยู่ในช่องคลอดเพียงตื้นๆ
ที่มา : ‘หญิงก็ไม่ได้ชายก็ไม่ดี’ ชีวจริยธรรมกับการเลือกเพศลูก , ศูนย์อนามัยที่ 11 , โรงพยาบาลขอนแก่น ราม
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY