จากกรณีเมื่อไม่กี่วันก่อน เครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) ยื่นหนังสือถึงอธิบดีกรมราชทัณฑ์ เพื่อสอบถามกรณี นายทักษิณ ชินวัตร ได้อ้างสิทธิในการเป็นผู้ป่วยแล้วย้ายมารักษาตัวนอกเรือนจำ เมื่อคืนวันที่ 22 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมาและกรมราชทัณฑ์ได้อนุญาตให้มีการรักษาตัวต่อหลังจากที่ผ่านไป 30 วันนั้น โดยอ้างความเห็นของคณะแพทย์ที่อ้างว่ามีการผ่าตัดใหญ่ของนักโทษนั้นสังคมได้มีข้อสงสัยตั้งแต่ต้นว่ากระบวนการส่งตัว น.ช.ทักษิณ ชินวัตร ออกไปรักษาตัวนอกเรือนจำนั้นมีความสงสัยว่าจะเป็นการใช้อภิสิทธิ์โดยการอ้าง ระเบียบราชทัณฑ์ เพื่อเอื้อประโยชน์แก่ผู้ต้องขังคนใดคนหนึ่งหรือไม่
โดย การยื่นหนังสือในครั้งนี้ สืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ (22 ส.ค. 66) นายทักษิณ ชินวัตร เดินทางกลับประเทศไทยและเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม รวมทั้งได้เข้าสู่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ (22 ส.ค. 66) ที่ผ่านมา โดยทางเรือนจำได้มีการตรวจสุขภาพก่อนที่จะรับตัวเข้าดูแล พบว่า นายทักษิณ มีอาการความดันสูง ต่อมา กลางดึกของคืนวันเดียวกัน เมื่อช่วงเวลาประมาณ 00.30 น. นายทักษิณ มีอาการป่วยกำเริบ ความดันขึ้นสูง เจ้าหน้าที่จึงนำตัวส่งรักษาที่โรงพยาบาลตำรวจ เมื่อเวลาประมาณ 01.00 น. เพื่อรักษาต่อไป
- รองนายกฯ ภูมิธรรม หนุนแนวคิด เศรษฐา ดึง ทักษิณ ช่วยบริหารประเทศ
- “เศรษฐา” โร่แจง! ไม่เคยให้สัมภาษณ์ เรื่องดึง “ทักษิณ” เป็นที่ปรึกษา
- นายกฯ เศรษฐา ฉุนสื่อถามปม ปรึกษาทักษิณ ถูกตีความในวงกว้าง
ต่อมา อุ๊งอิ๊ง หรือ แพทองธาร ชินวัตร บุตรสาวได้ทำการเข้าเยี่ยม นายทักษิณ ผู้เป็นพ่อ หลังจากเข้าเยี่ยมเสร็จสิ้นเรียบร้อยได้ออกมาให้สัมภาษต่อสื่อมวลชนว่า นายทักษิณ เพิ่งเข้ารับผ่าตัดใหญ่ ขณะนี้อยู่ในช่วงพักฟื้น ส่วนทางด้าน พล.ต.ท.โสภณรัชต์ สิงหจารุ นายแพทย์ใหญ่โรงพยาบาลตำรวจ เปิดเผยถึง อาการป่วยของ นายทักษิณ ว่า นายทักษิณเข้ารับการผ่าตัดจริงเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา สาเหตุที่ต้องผ่าตัดมีจากหลายอาการ หลายสาเหตุ แต่ขณะนี้ขอยืนยันว่าอาการอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยแล้ว และกำลังดีขึ้นตามลำดับ เมื่อนักข่าวถามย้ำว่า ผ่าตัดด้วยอาการใดเป็นพิเศษหรือไม่ พล.ต.ท.โสภณรัชต์ กล่าวเพียงสั้นๆว่า หลายอาการ ตอนนี้ปลอดภัยแล้ว
ทั้งนี้ จากการเรียกร้องให้เผยแพร่ข้อมูลของผู้ป่วยพบว่า ตาม พรบ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ม.7และ ป.อาญา ม.323 บัญญัติห้ามไว้ อีกทั้ง แพทย์เองได้ปฏิบัติตามข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2549 ข้อ 27 อย่างเคร่งครัด ซึ่งถือว่า สิทธิขั้นพื้นฐานที่ผู้ต้องขังพึงได้รับ โดยประเทศไทยมีการวางมาตรฐาน ข้อกำหนดแมนเดลา ซึ่งเป็นข้อกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง ผู้ต้องขังในฐานะผู้ป่วย ตามข้อกำหนดที่ 26,32 ผู้ต้องขังมีสถานะเป็นผู้ป่วยตามปกติ เมื่อเข้าพบแพทย์ ผู้ป่วยต้องให้ ความยินยอมบนพื้นฐานของข้อมูลที่ถูกต้อง สำหรับการตรวจหรือรักษาทางการแพทย์ ประวัติการรักษาของผู้ต้องขังต้องถูกเก็บเป็นความลับ ซึ่งเรื่องการไม่เปิดเผยข้อมูลเรื่องสุขภาพของผู้ต้องขังนั้น ถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนพึงได้รับเท่าเทียมกัน
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 323 ระบุว่า ผู้ใดล่วงรู้หรือได้มาซึ่งความลับของผู้อื่นโดยเหตุที่เป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ โดยเหตุที่ประกอบอาชีพเป็นแพทย์ เภสัชกร คนจำหน่ายยา นางผดุงครรภ์ ผู้พยาบาล นักบวช หมอความ ทนายความ หรือผู้สอบบัญชีหรือโดยเหตุที่เป็นผู้ช่วยในการประกอบอาชีพนั้นแล้วเปิดเผยความลับนั้นในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-ผู้รับการศึกษาอบรมในอาชีพดังกล่าวในวรรคแรก เปิดเผยความลับของผู้อื่น อันตนได้ล่วงรู้หรือได้มาในการศึกษาอบรมนั้น ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY