วันที่ 12 กันยายน 2566 นายสุรพงษ์ กองจันทึก ประธานมูลนิธิผสานวัฒนธรรม เรียกร้องให้รัฐบาลนายเศรษฐา เร่งส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ด้วยการปฏิรูปตำรวจ เนื่องจากเมื่อวันที่ (11 ก.ย. 66) นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง แถลงนโยบายต่อรัฐสภา ก่อนการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งข่าวที่โด่งดังที่สุดในช่วงนั้น คือ เจ้าหน้าที่ตำรวจทางหลวงถูกยิงเสียชีวิตที่บ้านกำนันนก ผู้มีอิทธิพลในจังหวัดนครปฐม ซึ่งน่าจะเกี่ยวกับส่วยทางหลวง
นายสุรพงษ์ เปิดเผยว่า นโยบายของรัฐบาลไม่มี เรื่องการปฏิรูปตำรวจ ทั้งที่เป็นประเด็นที่สังคมให้ความสนใจ และเรียกร้องกันมาโดยตลอด ซึ่งในรัฐบาลชุดก่อน นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ แม้จะยืนยันเรื่องการปฏิรูป สั่งการเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2564 ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติเร่งปฏิรูปในระยะเร่งด่วน 7 ด้าน คือ
1. ด้านโครงสร้างของตำแหน่งข้าราชการตำรวจ
2. ด้านพัฒนาทรัพยากรบุคคล
3. ด้านระบบงานสอบสวนและการบังคับใช้กฎหมาย
4. ด้านการนำระบบเทคโนโลยีมาสนับสนุนการรักษาความปลอดภัย
5. ด้านส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
6. ด้านการตรวจสอบและกำกับการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใส
7. ด้านสวัสดิการตำรวจ
- บิ๊กโจ๊ก เอาจริง! จ่อสอบ ตำรวจขู่นักข่าว ลั่น ระวังปืนมันจะลั่นใส่พวกเอ็ง
- คลี่ปมปริศนา ผู้กำกับเบิ้ม จบชีวิตตัวเอง ฆ่าตัวตาย หรือ ฆ่าตัดตอน
- ผลชันสูตรพลิกศพ ผู้กำกับเบิ้ม สอดคล้อง พยานหลักฐานที่พบ
ซึ่ง 2 ปีผ่านไปจนหมดวาระ กลับไม่มีความคืบหน้าในการปฏิรูป ตรงกันข้ามกลับมีข่าวที่ไม่มีของตำรวจออกมาเรื่อยๆ แม้นโยบายของรัฐบาลนายเศรษฐา แม้จะไม่ได้กล่าวถึงการปฏิรูปตำรวจโดยตรง แต่ได้ระบุว่า จะส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยอ้างอิงว่าเป็นหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ที่ให้รัฐพึงจัดระบบการบริหารงานในกระบวนการยุติธรรมทุกด้านให้มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม และไม่เลือกปฏิบัติ และให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยสะดวก รวดเร็ว และไม่เสียค่าใช้จ่ายสูงเกินควร ส่วนตัวตนมองว่า ตำรวจนับเป็นช่องทางแรกสุดของกระบวนการยุติธรรม และมีความสำคัญมากที่สุด ดังนั้นการส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม จึงมีความจำเป็นที่สุดต้องปฏิรูปตำรวจ
นายสุรพงษ์ จึงเรียกร้อง ข้อเสนอของเครือข่ายประชาชนปฏิรูปตำรวจและองค์กรภาคประชาชนทั่วประเทศ 102 องค์กร ขอเรียกร้องให้ดำเนินการปฏิรูป 8 เรื่อง ดังนี้
1. เร่งโอนตำรวจ 11 หน่วย เช่น ตำรวจรถไฟ ตำรวจทางหลวง ไปให้กระทรวง ทบวง กรมที่รับผิดชอบ เป็นการกระจายอำนาจไปยังหน่วยงานที่จำเป็น เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายเฉพาะด้านมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นภายในเวลา 2 ปี
2. แยกระบบงานสอบสวน ออกจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.)
3. ให้พนักงานอัยการมีอำนาจตรวจสอบควบคุมการสอบสวนคดีที่มีโทษจำคุกเกิน 5 ปี หรือคดีที่เห็นว่าจำเป็น
4. การสอบสวนต้องกระทำในห้องสอบสวนที่จัดเฉพาะ มีระบบบันทึกภาพ และเสียงอัตโนมัติเป็นหลักฐานไว้ให้อัยการและศาลเรียกตรวจสอบได้
5. ยุบกองบัญชาการทุกภาค เพื่อลดความซ้ำซ้อน และไม่จําเป็นในระบบการบังคับบัญชา
6. ปรับโครงสร้างตำรวจจังหวัด ให้ตำรวจอยู่ประจำพื้นที่จังหวัด ตรวจสอบประเมินผลโดย คณะกรรมการจังหวัด และการบังคับบัญชาของผู้ว่าราชการจังหวัด
7. กำหนดหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง เลื่อนตำแหน่ง และโยกย้ายตํารวจทุกระดับ ให้พิจารณาตามอาวุโสการครองตำแหน่ง เพื่อสร้างความเป็นธรรม ลดการวิ่งเต้น ซื้อขายตำแหน่ง
8. การเปรียบเทียบปรับความผิดจราจร ซึ่งเป็นอำนาจตุลาการ ต้องกระทำโดยดุลยพินิจของศาล เพื่อให้เกิดความยุติธรรมต่อประชาชน และยกเลิกรางวัลค่าปรับซึ่งไม่มีเหตุผล
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY