วันที่ 8 กันยายน 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าพบปลาหลากหลายชนิดตายเกลื่อนอยู่ในบริเวณชายหาดบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี สำนักงานประมงจังหวัดฯ เร่งตรวจสอบสาเหตุ คาดการณ์ว่าเกิดจากปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี หรือแพลงก์ตอนบลูม
จากการลงพื้นที่ตรวจสอบของสำนักงานประมงจังหวัดชลบุรี รายงานว่า
“พบว่ามีปลาหลากหลายชนิดถูกคลื่นซัดมาตายเกลื่อนบริเวณชายหาดบางพระ เช่น ปลากระบอก ปลาแป้น ปลาเจ๊กเล้ง ปลาคุด ปลากระพง เป็นต้น สาเหตุของการตายของปลาดังกล่าว คาดว่าอาจเกิดจากปรากฏการณ์ธรรมชาติ หรือแพลงก์ตอนบลูม ที่ทำให้น้ำทะเลเป็นสีเขียว และมีกลิ่นแรง ทำให้ค่าออกซิเจนที่ละลายน้ำลดต่ำลงในช่วงเช้ามืด หรือในกรณีที่แพลงก์ตอนบลูมได้ตายลง จะทำให้ออกซิเจนลดต่ำลงในทุกช่วงเวลาที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม สำนักงานฯ จะประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อตรวจสอบสาเหตุการตายดังกล่าว ต่อไป”
ก่อนหน้านี้ประมาณ 2 – 3 วัน เกิดสภาพอากาศที่หนาวเย็น ในทะเลมีคลื่นสูงกว่า 2 – 3 เมตร ทำให้ชาวประทมงต้องหยุดออกหาปลาชั่วคราว คลื่นที่มีความแรงบวกกับสภาพอากาศที่แปรปรวนก็อาจทำให้พืชหรือพลงก์ตอนใต้น้ำที่เสียถูกคลื่นซัดขึ้นมา ทำให้น้ำทะเลเปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้มนั่นเอง อย่างไรก็ตาม หลังจากคลื่นลมสงบแล้ว น้ำทะเลที่เป็นสีเขียวและมีกลิ่นก็จะกลับมาเป็นเหมือนเดิม
- แพลงก์ตอนบลูมเกิดจากอะไร? หรือเป็นคำเตือนมนุษย์ทำลายธรรมชาติ รอวันถูกเอาคืน