นักวิชาการ ชี้นโยบาย แจกเงินดิจิทัล เอาไปใช้อย่างอื่นคุ้มค่ากว่า

Home » นักวิชาการ ชี้นโยบาย แจกเงินดิจิทัล เอาไปใช้อย่างอื่นคุ้มค่ากว่า

แจกเงินดิจิทัล

แจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท นักวิชาการภาคเอกชน ชี้ นำงบประมาณกว่า 5 แสนล้าน ไปใช้อย่างอื่นคุ้มกว่า แถมความสมดุลกับผู้มีรายได้น้อยด้วย

วันที่ 3 กันยายน 2566 ภาคเอกชนจัดเสวนา “ฝากการบ้าน ครม. เศรษฐา 1” นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย แสดงความเห็นถึงนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ว่า แจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต ประชาชนคนละ 10,000 หมื่นบาท รัฐบาลต้องมีความชัดเจนถึงเงื่อนไขในการใช้เงิน ชี้แจงให้ชัดเจนว่าจะแจกเมื่อไร จะหาเงินจากไหน เพื่อไม่ให้กระทบกับการเงินการคลัง และหนี้ของประเทศในอนาคต

แจกเงินดิจิทัล-2

ซึ่ง นายนิติรัตน์ ทรัพย์สมบูรณ์ ผู้ประสานงานเครือข่ายรัฐสวัสดิการเพื่อความเท่าเทียมและเป็นธรรม มองว่า นโยบาย แจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ต้องใช้งบประมาณกว่า 5 แสนล้านบาท ควรนำงบตรงนี้ไปใช้กับ นโยบายรัฐสวัสดิการถ้วนหน้า จะคุ้มค่า และตรงโจทย์กว่า ซึ่งหากนำเงิน 13,500 ล้านบาท อุดหนุนเด็กในครรภ์ เดือนละ 3,000 บาท, เงิน  52,000 ล้านบาท อุดหนุนเด็กแรกเกิดถึง 6 ปี เดือนละ 1,000 บาท, 30,000 ล้านบาท อาหารกลางวันฟรี นมฟรี, 75,000 ล้านบาท เรียนฟรีการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือนำเงิน 150,000 ล้านบาท ไปใช้ในหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อให้เกิดความสมดุลกับผู้มีรายได้น้อย เป็นต้น

  • วันแถลงนโยบาย ก้าวไกล จองกฐิน ครม.เศรษฐา 1 จ่ออภิปรายพรึบ
  • ภคมน-ก้าวไกล แฉ กสทช. ฮั้วประมูล แถมสอบถามไปแต่ก็ไร้คำตอบ
  • ชื่นมื่น เศรษฐา – สุทิน ร่วมวงผู้นำเหล่าทัพ เผย จัดเต็มเรื่องงบไม่มีตัด

โดย นายนณริฏ พิศลยบุตร  นักวิชาการอาวุโส สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ได้มีการแสดงความคิดเห็นถึงเรื่องนี้ว่า การใช้งบประมาณเพื่อ แจกเงินดิจิทัลวอเล็ต ที่ต้องใช้งบประมาณกว่า 5.6 แสนล้านบาทนั้น  อาจจะมากเกินไป การใช้เงินกระตุ้นเศรษฐกิจมาก ๆ ยังต้องระวังเรื่องความเสี่ยงที่จะเกิด “สภาวะเงินเฟ้อ” และอาจส่งผลให้เป็นภาระการคลังของประเทศได้

แจกเงินดิจิทัล-1

ทั้งนี้ นายธนิต โสรัตน์ กล่าวว่า คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ในรัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน คือความคาดหวัง เนื่องจากประเทศอยู่ในช่วงที่เศรษฐกิจต้องการฟื้นตัว จากวิกฤตโควิด และวิกฤตเศรษฐกิจโลก ปัญหาหนี้ครัวเรือน ประชาชนเกิดเงินขาดสภาพคล่อง จึงเสนอนโยบายเร่งด่วน 6 เรื่อง คือ
1.ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะเร่งด่วน
2.แก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนและหนี้ธุรกิจ
3.โปรโมทการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นความหวังเดียวของเศรษฐกิจไทยในปีนี้
4.แก้ปัญหาส่งออกหดตัว  รวมถึงต้องเรียกความเชื่อมั่นให้กลับมาโดยเฉพาะด้านการลงทุนจากต่างชาติ
5.ทบทวนการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 600 บาท และปริญญาตรี 25,000 บาท เนื่องจากมองว่า ช่วงนี้ไม่ใช่จังหวะที่เหมาะสม
6.ความชัดเจนเรื่องกระเป๋าเงินดิจิทัล

ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ