ตัวการ์กอยล์ (Gargoyle) มักถูกพบเห็นได้ตามอาคารสำคัญหลายแห่งในทวีปยุโรป โดยเฉพาะ ศาสนสถาน และขณะนี้กำลังเป็นที่พูดถึงในวงกว้างขึ้น หลังจากมีผู้เชื่อมโยงว่ามีลักษณะคล้ายครูกายแก้ว แต่ 2 สิ่งนี้กลับมีเรื่องราวและการใช้งานที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
หากสืบประวัติไปจะพบว่าย้อนกลับไปได้ถึงอารยธรรมโบราณหลายอารยธรรม เช่น ราชวงศ์ที่ 5 ของอาณาจักรอียิปต์โบราณ ราว 2,400 ปีก่อนคริสตกาล เลยทีเดียว
ตัวการ์กอยล์เป็นที่แพร่หลายมากขึ้นในยุคมืดของยุโรป โดยเฉพาะในคริสตทศวรรษที่ 12 ที่มีนำมาประดับโบสถ์และอาสนวิหารหลายแห่ง
Dan Kitwood/Getty Images
แต่การตกแต่งดังกล่าวไม่ใช่แค่นำมาติดไว้เพื่อความสวยงาม แต่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นรางน้ำฝนไม่ให้ฝนที่ตกลงมาสร้างความเสียหายแก่อาคาร
ขณะเดียวกัน รูปปั้นอสูรคล้ายการ์กอยล์ที่ใช้ตกแต่งอาคารเฉยๆ โดยไม่ใช้เป็นรางน้ำฝนจะเรียกว่าโกรเทสก์ (Grotesque) หรือ ชีแมร์ (Chimère) ในภาษาฝรั่งเศส
Chip Somodevilla/Getty Images
ด้านฝรั่งเศสก็มีตำนานเกี่ยวกับตัวการ์กอยล์ว่า สาเหตุที่มีการนำตัวการ์กอยส์มาใช้ในงานสถาปัตยกรรมมาจากเรื่องราวของนักบุญฝรั่งเศสรูปหนึ่งที่ต่อสู้กับมังกร
อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาผ่านไปการออกแบบและการใช้งานตัวการ์กอยล์ก็ถูกพัฒนาให้มีประโยชน์ใช้สอยอื่นๆ ด้วยนอกจากเป็นรางน้ำฝน และมีความซับซ้อนขึ้นให้มีความเป็นสัตว์ในตำนานหรืออสูรมากขึ้น ทั้งยังถูกนำมาเป็นสัญลักษณ์ในการปัดเป่าและปกป้องอาคารจากสิ่งชั่วร้าย