ฟังอีกมุม! ตำนาน ‘ครูกายแก้ว’ หรือแท้จริงท่านเป็น พรหมรากษส

Home » ฟังอีกมุม! ตำนาน ‘ครูกายแก้ว’ หรือแท้จริงท่านเป็น พรหมรากษส
อีกมุมครูกายแก้ว-min

เพจดังเล่าอีกหนึ่งมุม กับตำนาน ‘ครูกายแก้ว’ (รูปปั้นครูกายแก้ว) หรือแท้จริงท่านเป็น พรหมรากษส ทั้งนี้แล้วแต่ความเชื่อแต่ละบุคคล

สืบเนื่องจากกรณีการบวงสรวงใหญ่ รูปปั้นครูกายแก้ว ณ บริเวณโรงแรมเดอะบาซาร์ รัชดาภเษก บริเวณแยกรัชดา-ลาดพร้าว สะพานลอยคนข้ามที่ถนนรัชดาภิเษกขาใกล้ซอยรัชดาภิเษก 36 โดยมีมวลชนผู้ศรัทธาหลั่งไหลเข้าร่วมพิธี บวงสรวง รูปปั้นครูกายแก้ว เต็มพื้นที่กว่า 200 คน ซึ่งตามความเชื่อ ครูกายแก้ว สามารถประทานพรให้ประสบความสำเร็จ และประทานพรโชคลาภ

ซึ่งมีหลายตำนานเล่าต่อกันมารุ่นสู่รุ่น โดยตำนานที่ทุกคนจะรู้จักดีนั้นคือ ครูกายแก้ว เป็น  “พ่อใหญ่ บรมครูผู้เรืองเวทย์” ซึ่งมีพระธุดงค์รูปหนึ่งจากจังหวัดลำปาง ได้เดินทางไปทำสมาธิที่ประเทศกัมพูชา ระหว่างเดินทางได้พบกับ อาจารย์ถวิล มิลินทจินดา นักร้องเพลงไทยเดิมของกองดุริยางค์ทหาร จึงมอบองค์ครูกายแก้วขนาดประมาณ 2 นิ้วไว้ให้ และอาจารย์ถวิลได้นำองค์ครูกายแก้วมาบูชา จนตนเองเริ่มมีชื่อเสียงและเงินทอง ต่อมาจึงได้มอบองค์กายแก้วไว้ให้กับ อาจารย์สุชาติ รัตนสุข ซึ่งก็ได้นำไปหล่อขึ้นรูปองค์ใหญ่ เพื่อบูชาครูเป็น องค์กายแก้ว อย่างที่รู้จักกันจนถึงปัจจุบัน

แต่ก็มีอีกหนึ่งตำนานและความเชื่อ ที่ทางด้านเพจเฟซบุ๊ก Eager of Know ได้ออกมาตีความและเล่าให้ฟัง โดยทางเพจนั้นระบุว่า นี้เป็นเพียงอีกหนึ่งความเชื่อเท่านั้นส่วนการเหลื่อมใสศรัทธาขึ้นอยู่แต่ละบุคคล และขึ้นอยู่วิจารณญาณของแต่ละคน โดยมีข้อมูล ดังนี้

เปิดประวัติ ‘ครูกายแก้ว’ หมอเวทย์จากเขมร เทพครึ่งคนครึ่งนก

5 เรื่องจริงของ ครูกายแก้ว

  • พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงศรัทธาในพุทธศาสนาอย่างมาก ทรงสร้างพระพุทธรูปตามหัวเมืองจักรวรรดิขอมโบราณ ในจารึกระบุถึงพระพุทธรูปในเมืองที่ปัจจุบันเป็นจังหวัดของไทย เช่น วัชรปุระ (เพชรบุรี) , ชัยราชปุระ (ราชบุรี) , สุวรรณปุระ (สุพรรณบุรี) เป็นต้น
  • ไม่มีหลักฐานระบุว่าพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงมีความเชื่อในไสยศาสตร์ แต่มีหลักฐานว่าท่านส่งเสริมให้ประชาชนในดินแดนหัวเมืองกราบไหว้บูชาพระพุทธเจ้า และ ให้พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งให้เกิดความสำเร็จ หลักฐานเหล่านี้บ่งบอกว่าพระองค์มีพระรัตนตรัยเป็นสรณะ
  • ประวัติศาสตร์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มีเกี่ยวกับการทำบุญทำทาน สร้างวัด พุทธสถาน และ สร้างสถานรักษาพยาบาลให้ประชาชนได้ใช้ในการรักษาโรคที่เจ็บป่วย
  • พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เป็นผู้สร้าง “ไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา” ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าที่มีความเชื่อว่ามีพลังในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ หรือที่คนนิยมเรียกกันว่า “พระหมอ” หรือ “พระกริ่ง”

แท้จริงแล้วครูกายแก้วคือ ?

  • สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มี ศาสนาฮินดู(พราหมณ์) ได้เข้ามามีอิทธิพลในภูมิภาคนี้ และ การศึกษาของเหล่าราชครูที่เป็นอาจารย์ของชนชั้นกษัตริย์ คือ คัมภีร์พระเวท , คัมภีร์ไสยเวท , คัมภีร์อาถรรพ์เวท และ คัมภีร์ปุราณะ
  • การฝึกตนของพราหมณ์ที่เน้นไปในแนวทางโลกียญาณ เป็นการฝึกให้ที่มีอิทธิฤทธิ์ เช่น หูทิพย์ ตาทิพย์ และ คุณวิเศษอื่นๆ ผู้ฝึกตนสามารถสามารถบำเพ็ญไปได้สูงที่สุด คือ ระดับชั้นพรหม ***โลกียญาณ : เป็นญาณที่สามารถเสื่อมได้ ***โลกุตตระญาณ : เป็นญาณแห่งการรู้แจ้ง
  • จากประวัติศาสตร์พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงศรัทธาในพุทธศาสนาอย่างมาก ในจารึกราชครูของท่านมีเพียง “ศรี ชัยมังคลารถะเทวะ” หรือ “ศรี ชัยกีรติเทวะ” เพียงคนเดียวเท่านั้น
  • แต่ราชครูของกษัตริย์ทุกพระองค์ไม่ได้มีเพียงคนเดียว ครูกายแก้วอาจเป็นหนึ่งในราชครูเหล่านั้นที่มีแนวทางความเชื่อทางไสยศาสตร์ และ คงเป็นผู้ฝึกตนที่คุณวิเศษสูง ไม่เช่นนั้นคงไม่ได้เป็นราชครูด้านไสยศาสตร์ได้
  • ด้วยความที่ไม่สามารถเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ถึงขั้นไม่ได้ถูกจารึกในประวัติศาสตร์ ทั้งที่การประกอบพิธีกรรมต่างๆก็ยังคงเป็นศาสนาฮินดู(พราหมณ์) โดยมีภาพสลักหินพระพรหม , พระศิวะ และ พระนารายณ์ เป็นหลักฐาน
  • เรื่องนี้อาจเป็นเหตุที่ทำให้ครูกายแก้วเมื่อสิ้นกายเนื้อไปแล้ว ไปกำเนิดตามภพชาติใหม่เป็นพระพรหม ทำให้ท่านมีหน้าตาเหมือนอสูรตามที่คนไทยเข้าใจผิดกันมา แต่ที่แท้จริง คือ รากษส
  • จากทั้งหมดที่ประมวลออกมาแท้จริงแล้ว ครูกายแก้ว คือ พรหมรากษส

พรหมรากษส คือ รากษสที่เป็นพราหมณ์

  • ผู้ที่จะเป็น “พรหมรากษส” คือ พราหมณ์ที่ประกอบกรรมชั่ว เช่น การนำความรู้ไปใช้ในทางที่ไม่สมควร , การไม่ยอมสอนวิชาให้กับศิษย์ที่คู่ควร หรือ การละเมิดหน้าที่บางอย่างของพราหมณ์ ทำให้พราหมณ์ผู้นั้นต้องไปเกิดใหม่เป็น “พรหมรากษส”
  • คำว่า “พฺรหฺม” หมายถึง พราหมณ์ – คำว่า “รากฺษส” หมายถึง อมนุษย์ประเภทหนึ่ง
  • พรหมรากษส มีทั้งความเป็นพราหมณ์ และรากษสในตัว มีความรู้ขั้นสูงแบบพราหมณ์ และ รู้เรื่องในคัมภีร์พระเวท , คัมภีร์ไสยเวท , คัมภีร์อาถรรพ์เวท และ คัมภีร์ปุราณะ แต่ยังคงมีโทสะ โมหะ ดุร้าย และ นิสัยโหดร้าย กินเนื้อมนุษย์เป็นอาหาร
  • ในตำนานของชาวฮินดูเชื่อว่า พรหมรากษสเป็นรากษสที่มีพลังอำนาจมาก น้อยคนนักที่จะสามารถต่อสู้ , เอาชนะ หรือ ปลดปล่อยพวกเขาจากสภาวะของการเป็นพรหมรากษสได้
ครูกายแก้ว2-min

ขอบคุณโพสต์ต้นฉบับ

ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่นๆ

Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ