ภาคประชาชนโชว์จุดยืน หนุน “พิธา” นั่งนายกฯ สุดผิดหวังบทบาท ส.ว.

Home » ภาคประชาชนโชว์จุดยืน หนุน “พิธา” นั่งนายกฯ สุดผิดหวังบทบาท ส.ว.
ภาคประชาชนโชว์จุดยืน หนุน “พิธา” นั่งนายกฯ สุดผิดหวังบทบาท ส.ว.

ภาคประชาชน แสดงจุดยืนหนุน “พิธา” นั่งนายกฯ จี้ ส.ว.-พรรครัฐบาลเดิม โหวตเห็นชอบ มอง 19 ก.ค.เป็นโอกาสกลับใจ แนะ 8 พรรคร่วมมัดกันให้แน่น ป้องกันกลุ่มอำนาจเก่าพลิกขั้ว

คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) และภาคประชาชน จัดเวทีแถลงวิพากษ์บทบาทส.ว. และข้อเสนอในการเลือกนายกรัฐมนตรี วันที่ 19 ก.ค.66 ผู้ร่วมแถลงประกอบด้วย นายเมธา มาสขาว เลขาธิการ ครป., นายจำนงค์ หนูพันธุ์ ประธานขบวนการการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (P-Move), นางสุนทรี หัตถี เซ่งกิ่ง สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) นายเยี่ยมยอด ศรีมันตะ ที่ปรึกษาสหภาพครูแห่งชาติ และนายอมร รัตนานนท์ อดีตเลขาธิการเครือข่ายเดือนตุลา

โดยนายเมธา กล่าวว่า สืบเนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองหลังจากส.ว.โหวตไม่เห็นชอบ และงดออดเสียง ในการเลือกนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 ก.ค.ที่ผ่านมา ทำให้ไม่สามารถเลือกนายกฯ จากพรรคเสียงข้างมากได้ โดยรัฐธรรมนูญ มาตรา 272 ให้อำนาจส.ว.เลือกนายกฯ โดยจะหมดวาระเดือน พ.ค.66 ซึ่งเป็นการเขียนไว้รองรับเพื่อสืบทอดอำนาจ แต่หลังการเลือกตั้งเกิดความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ฝ่ายประชาธิปไตยชนะการเลือกตั้ง ได้เสียงข้างมากมโหฬาร เป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้งอย่างชัดเจนของฝ่ายประชาธิปไตยกับฝ่ายคสช.

นายเมธา กล่าวว่า ภาคประชาชนรู้สึกผิดหวังบทบาทส.ว. ที่งดออกเสียง และไม่เห็นชอบ ซึ่งการงออกเสียงเท่ากับไม่เห็นชอบอยู่แล้ว ถือเป็นความไม่รับผิดชอบต่อสังคม การพัฒนาระบอบประชาธิปไตย และไม่รับผิดชอบต่อรัฐสภา เรายังไม่อยากประณามส.ว.มาก เพราะส.ว.ยังมีโอกาสโหวตนายกฯในวันที่ 19 ก.ค.นี้ จากการโหวตงดออกเสียง ส.ว.บางคนอาจจะเข้าใจผิดว่าเป็นการไม่แสดงบทบาทในการเลือก

ดังนั้น ภาคประชาชนขอโอกาสอีกครั้ง ว่าส.ว.ควรโหวตตามเสียงข้างมากในสภาฯ และอย่าโหวตงดออกเสียงอีก เพราะจะเท่ากับไม่เห็นชอบ แต่หากยังเป็นแบบเดิม จะทำให้บทบาทส.ว. ถูกตั้งคำถามอย่างหนักว่าส.ว. เป็นปฏิปักษ์กับระบอบประชาธิปไตยหรือไม่ ส.ว.มีความหมาย และมีคุณค่าหรือไม่ และหากถึงเวลาร่างรัฐธรรมนูญใหม่โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ก็อาจมีคำถามว่าควรต้องมีส.ว.อีกต่อไปหรือไม่

เราอยากขอโอกาสพรรคการเมืองทุกพรรคเพื่อผ่าทางตันการเมืองไทยไปอย่างสันติ โดยขอให้พรรครัฐบาลเดิม ทั้งพรรคชาติไทยพัฒนา พรรคประชาธิปัตย์ ที่งดออกเสียงซึ่งมีนัยสำคัญ ดังนั้น เพื่อหยุดวงจรสืบทอดอำนาจ พรรคร่วมรัฐบาลเดิมที่ไม่ใช่พรรคตัวแทนคสช.โดยตรง น่าจะรวมกันเปลี่ยนผ่านการเมืองไทยช่วงนี้ รวมถึงพรรคภูมิใจไทยด้วย

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ