ส.ว. เช็กเสียง เกือบ 90% ไม่โหวต พิธา เป็นนายกฯ พร้อมมีแผนลับ

Home » ส.ว. เช็กเสียง เกือบ 90% ไม่โหวต พิธา เป็นนายกฯ พร้อมมีแผนลับ

พิธา

พิธา พรรคก้าวไกล ส่อแววงานเข้า ส.ว. เช็กเสียง พบเกือบ 90% ไม่โหวตให้นายพิธา เป็นนายกรัฐมนตรี เผยข่าวลืออาจมีแผนลับสวนกลับ

วันที่ 10 กรกฎาาคม 2566 ถือว่าเหลืออีกเพียง 3 วันเท่านั้น ก่อนที่จะมีการนัดประชุมสภา เพื่อทำการโหวตเลือก นายกรัฐมนตรี คนที่ 30 ของประเทศไทย แน่นอนว่าบุคคลที่น่าจับตามองมากที่สุดคือ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ที่เป็นแคนดิเดตเบอร์ 1 ในการลงชื่อชิงตำแหน่งนายกฯ แน่นอนว่าหากใครที่ติดตามข่าวการเมืองคงจะพอทราบดีว่า เส้นทางสู้ความสำเร็จนั้นมีอุปสรรค์จำนวนมาก ทั้งเรื่องคดีหุ้นสื่อ ร่วมไปถึง เสียงของ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ที่กำลังมีการถกเถียงว่าจะยกมือโหวตให้ “พิธา” หรือไม่

พิธา-1-1

ล่าสุด มีรายงานจากข่าววงในอย่างไม่เป็นทางการว่า วันนี้ (10 ก.ค. 66) สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ได้มีการเช็กเสียงกันเป็นการภายในพบว่า ส่วนใหญ่จะลงมติงดออกเสียง ในวันที่ 13 กรกฎาคม 2566 เกือบ 90% และมีเพียง 5-10 คน ที่ยืนยันยกมือโหวตให้ นายพิธา เป็นนายกรัฐมนตรี และมี สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) อีกไม่กี่เสียงที่จะลงมติไม่สนับสนุนนายพิธา และในการโหวตรอบ 2 ในวันที่ (19 ก.ค. 66) จะมีการเสนอชื่อผู้แทนรายอื่นเพื่อแข่งกับนายพิธาด้วย

  • บิ๊กตู่ ชูผลงาน ‘รถไฟฟ้าสายสีชมพู’ เช็กก่อนใช้งาน 17 สถานี ปลายปี 66
  • สนธิญา ร้องอัยการสูงสุด สอบเรื่องโหวต ประธานสภาผู้แทนราษฎร
  • หมอวรงค์ ซัด ‘ก้าวไกล’ ปม เอาเด็ก 10 ขวบ จับไมค์ ขึ้นเวที เชียร์ ‘พิธา’

ซึ่งตามแผนเดิม หากการโหวตนายกรัฐมนตรีไม่เป็นผลสำเร็จ จะมีการให้โหวตใหม่จำนวน 3 ครั้ง ตามที่รองประธานสภาผู้แทนราษฎร เคยมีการให้สัมภาษณ์ โดยรอบที่ 2 จะมีการโหวตในวันที่ (19 ก.ค. 66) และรอบที่ 3 ในวันที่ (20 ก.ค. 66) ที่จะถึงนี้ ในการประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา ที่มี นายเสรี สุวรรณภานนท์ เป็นประธาน กมธ. มีความเห็นว่า ตามข้อบังคับการประชุมร่วมรัฐสภา ข้อ 41 ที่ระบุว่า ญัตติใดที่เสนอที่ประชุมรัฐสภา หากไม่ได้รับความเห็นชอบถือว่าตกไป และห้ามนำญัตติซึ่งมีหลักการเดียวกันขึ้นเสนออีกในสมัยประชุมเดียวกัน เว้นแต่ญัตติที่ประธานรัฐสภาจะอนุญาต เมื่อพิจารณาเห็นว่าเหตุการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป

พิธา-2-1

ซึ่งมีรายงานว่า ในวันที่ (19 ก.ค. 66) หากมีการเสนอชื่อ นายพิธา พรรคก้าวไกล ชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีก จะมี ส.ว.ลุกคัดค้านกับที่ประชุมรัฐสภา โดยอ้างอิงข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ข้อที่ 41 หากประธานรัฐสภายังยืนยันให้เสนอชื่อนายพิธาได้ ต้องรับผิดชอบในกรณีที่มีผู้ยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้ตีความข้อบังคับการประชุมรัฐสภาข้อ 41 สุดท้ายจะขึ้นอยู่กับประธานรัฐสภาใช้ดุลพินิจของตนเอง หรือลงมติในที่ประชุมเพื่อตัดสินเพื่อชี้ขาด

ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ