วันที่ 2 ก็ยังคึกคัก “มติชนxเดลินิวส์ โพลเลือกตั้ง ’66 รอบสอง” ร่วมโหวตชี้อนาคตไทย

Home » วันที่ 2 ก็ยังคึกคัก “มติชนxเดลินิวส์ โพลเลือกตั้ง ’66 รอบสอง” ร่วมโหวตชี้อนาคตไทย


วันที่ 2 ก็ยังคึกคัก “มติชนxเดลินิวส์ โพลเลือกตั้ง ’66 รอบสอง” ร่วมโหวตชี้อนาคตไทย

วันที่ 2 ก็ยังคึกคัก “มติชนxเดลินิวส์ โพลเลือกตั้ง ’66 รอบสอง” ร่วมโหวตชี้อนาคตไทย

วันที่ 23 เมษายน 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้าการทำโพลออนไลน์ชี้อนาคตการเมืองไทย “มติชนxเดลินิวส์ โพลเลือกตั้ง ’66 รอบสอง” ระหว่างวันที่ 22-28 เมษายน ซึ่งเป็นความร่วมมือครั้งสำคัญระหว่างสองสื่อใหญ่ของไทย ได้แก่ เครือมติชน ประกอบด้วย มติชน ข่าวสด ประชาชาติธุรกิจ มติชนสุดสัปดาห์ มติชนทีวี และเดลินิวส์

จากข้อมูล ณ เวลาประมาณ 15.00 น. วันอาทิตย์ที่ 23 เมษายน ซึ่งเป็นการโหวตวันที่สอง สถิติยอดผู้กดโหวต “มติชนxเดลินิวส์ โพลเลือกตั้ง ’66 รอบสอง” อยู่ที่ 29,258 ราย ผ่านวิธีการโหวตออนไลน์แบบไม่ซ้ำไอพีแอดเดรส (IP Address) ขณะที่อัตราการเข้าถึง หรือ ยอดรีช (Reach) ตัวโปรโมทคอนเทนต์เชิญร่วมทำโพลบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย อยู่ที่ประมาณ 260,000 รีช

ทั้งนี้ ประชาชนและผู้สนใจร่วมโหวตโพลสะท้อนอนาคตการเมืองไทยครั้งนี้ สามารถเข้าร่วมโหวตได้ผ่านลิงก์ https://www.matichon.co.th/thai-election66-poll/poll2/ ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 22 เมษายน 2566 เป็นต้นไปจนถึงศุกร์ที่ 28 เมษายน และสื่อเครือมติชน อาทิ มติชน ข่าวสด ประชาชาติธุรกิจ มติชนสุดสัปดาห์ มติชนทีวี ฯลฯ รวมทั้งเดลินิวส์ ก็ยังได้เตรียมโปรโมทเผยแพร่ช่องทางการเข้าไปทำโพลเอาไว้ให้กับประชาชนผ่านทุกแพลตฟอร์ม ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ ออนไลน์ และโซเชียลมีเดีย พร้อมจัดทำ “คิวอาร์โค้ด” ส่องสแกนร่วมโหวตแคมเปญขึ้นมาโดยเฉพาะอีกด้วย

สำหรับการโหวตรอบสองมีหัวข้อคำถามทั้งสิ้น 4 หัวข้อ เพื่อสอบถามความความเห็นประชาชนกลุ่มตัวอย่างทั่วประเทศผ่านช่องทางออนไลน์ กล่าวคือ ข้อที่ 1 ท่านจะเลือกผู้สมัคร ส.ส.เขตจากพรรคการเมืองใดในการเลือกตั้ง 2566 นี้, ข้อ 2 ท่านจะเลือก ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ (ส.ส.บัญชีรายชื่อ) พรรคใด โดยทั้งสองข้อแรกดังกล่าวคำตอบจะมีให้เลือกเป็นการคัดรายชื่อจาก 10 พรรคการเมืองที่ได้รับการโหวตสูงสุดสิบอันดับแรกจากผลโพลรอบแรก, ข้อ 3 ท่านจะสนับสนุนใครเป็นนายกรัฐมนตรี และคำตอบจะมีให้เลือกเป็นการคัดรายชื่อจาก 10 แคนดิเดตนายกฯ ที่ได้รับการโหวตสูงสุดสิบอันดับแรกจากโพลรอบแรก ปิดท้ายด้วยคำถามที่ 4 ส.ว. ควรโหวตเลือกแคนดิเดตนายกฯ จากพรรคที่ได้ ส.ส. มากที่สุดหรือไม่

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ