ฝุ่นควันพิษ ยังวิกฤต จุดความร้อนปะทุต่อเนื่อง คุณภาพอากาศแย่สุดรั้งอันดับ 2โลก

Home » ฝุ่นควันพิษ ยังวิกฤต จุดความร้อนปะทุต่อเนื่อง คุณภาพอากาศแย่สุดรั้งอันดับ 2โลก


ฝุ่นควันพิษ ยังวิกฤต จุดความร้อนปะทุต่อเนื่อง คุณภาพอากาศแย่สุดรั้งอันดับ 2โลก

เชียงใหม่ ไฟป่าปะทุหนักกว่า 200 จุด ผ่านเมษา 17 วัน ยอดจุดความร้อนพุ่ง กระทบคุณภาพอากาศติดอันดับ 2 เมืองที่อากาศแย่สุดที่ของโลก

17 เม.ย. 66 – จังหวัดเชียงใหม่ ยังต้องผจญกับปัญหาฝุ่นควันพิษ PM 2.5 ต่อเนื่องเกินค่ามาตรฐาน 2 เดือนเศษ ซึ่งพบว่าเดือนเมษายน ผ่านมาได้ 17 วัน มีจุดความร้อนสะสมเกือบ 5 พันจุด

อำเภอโซนเหนือที่พบมากที่สุด อำเภอเชียงดาว 1,664 จุด รองลงมา อำเภอพร้าว จำนวน 732 จุด และอำเภอแม่แตง จำนวน 716 จุด ส่วน อำเภอทางใต้ มี 3 อำเภอที่มีจุดความร้อนใกล้เคียงกันขึ้นหลักพันจุด คือ อำเภออมก๋อย จำนวน 1,192 จุด อำเภอแม่แจ่มจำนวน 1,185 จุด และอำเเภอฮอดจำนวน 1,061 จุด ยังพบวาการเกิดไฟป่าส่วนใหญ่มากจากการเผาเพื่อหาของป่า

จากการรายงาน ศูนย์บัญชาการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 จังหวัดเชียงใหม่ พบจุดความร้อน (Hotspot) ประจำวันที่ 17 เมษายน 2566 รอบเช้าจังหวัดเชียงใหม่พบจุดความร้อน จำนวน 209 จุด เกิดในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าอนุรักษ์ เขตสปก. และเขตชุมชนและอื่นๆ

พบมากที่สุดอำเภอแม่แจ่มจำนวน 34 จุด อำเภอแม่อายจำนวน 20 จุด และอำเภอแม่วาง 18 จุด พบว่าจุดความร้อนสะสมตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2566 ถึงปัจจุบัน ทั้งหมดจำนวน 11,712 จุด

ส่งผลให้ คุณภาพอากาศของจังหวัดเชียงใหม่ ยังคงรั้งอันดับ 2 คุณภาพอากาศแย่ที่สุดของโลก จากการตรวจสอบ เว็บไซต์ https://www.iqair.com รายงานคุณภาพอากาศและการจัดอันดับเมืองที่มีมลพิษทางอากาศ US AQI . พบว่าจังหวัดเชียงใหม่ มีค่า 171 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

เช่นเดียวกับการตรวจวัดคุณภาพของกรมควบคุมมลพิษ เว็บไซต์ http://air4thai.com ช่วงเวลา 08.00 น. มีค่า 51-220 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร พื้นที่มีค่าฝุ่นมากที่สุด ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว, เชียงใหม่ พบปริมาณฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) มีค่า 220 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร บาศก์เมตร

ส่วนพื้นที่กลางเมืองเชียงใหม่ ตำบลศรีภูมิ มีค่า 100 ไมโครกรัมต่อลูกเมตร และพื้นที่ศาลากลาง จังหวัดเชียงใหม่อำเภอเมืองเชียงใหม่ มีค่าเท่ากัน 100 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และพื้นที่ดอยสุเทพ มีค่า 76 ไมโครกรัมต่อลูกเมตร

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ