เมื่อวานนี้ 28 มี.ค. 66 เมื่อเวลาประมาณ 17.30 น. มีการเกิดเหตุจลาจล เมื่อชายปริศนารายหนึ่งกระทำการ พ่นกำแพงวัดพระแก้ว เป็นศิลปินอิสระนามสมมุติว่า ‘บังเอิญ คนจริง’ อยู่กลุ่มศิลปะปลดแอก อายุ 24 ปี ชาว จ.ขอนแก่น โดยพ่นสีข้อความเป็นสัญลักษณ์เฉพาะกลุ่มและมีคำว่า 112 ด้วยสเปรย์สีดำใส่ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) หลังจากก่อเหตุเจ้าหน้าที่ตำรวจนั้นเข้ากระทำการจับกุมอย่างรวดเร็ว ณ ถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กทม.
โดยล่าสุดในเช้าวันนี้ 29 มี.ค. 66 ตำรวจ สน.พระราชวัง ได้แจ้ง 2 ข้อหา กับ บังเอิญ ตาม พ.ร.บ.โบราณสถานและพ.ร.บ.ความสะอาด พร้อมเตรียมส่งตัวไปศาลอาญาเพื่อฝากขัง สำหรับ มาตรา 33 ตาม พ.ร.บ.โบราณสถานฯ ระบุไว้ว่า ผู้ใดบุกรุกโบราณสถานหรือทําให้เสียหาย ทําลายทําให้เสื่อมค่าหรือทําให้ไร้ประโยชน์ซึ่ง โบราณสถาน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินเจ็ดแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
โดยในการกระทำความผิดนี้ บังเอิญ ไม่ต้องโทษ ม.112 และ เวลา 13.20 น. ของวันนี้ 29 มี.ค. 66 บังเอิญ จะถูกนำตัวไปฝากขังที่ศาลอาญาในวันนี้ แต่หพนักงานสอบสวน แจ้งกับทนายว่ายังสอบสวนผู้ต้องหาไม่เสร็จสิ้น แต่จะนำตัวไปฝากขังที่ศาลอาญา เวลาประมาณ 14.00 น.
- ไร้เงา ม.112! สรุปข้อหา ‘บังเอิญ คนจริง’
- เปิดแชท! บังเอิญ มือพ่นกำแพงวัดพระแก้ว จุดประสงค์ขอก่อเหตุในวันเกิด เพราะ…
รู้จัก “อนาคิสต์” (Anarchist)
ซึ่งในผลงานศิลปะหลายๆชิ้นของ บังเอิญ คนจริง นั้นมักจะแนบสัญลักษณ์ อักษรภาษาอังกฤษตัว A และมีวงกลมครอบอยู่ โดยสัญลักษณ์นี้ มีชื่อทางการว่า “อนาคิสต์” (Anarchist) ซึ่งมีความหมายอันลึกซึ้งว่า อนาธิปไตย ซึ่งหากแปลเป็นไทยนั้นจะเข้าใจได้ว่า Anarchist โดยทั่วไปนิยามว่าเป็นปรัชญาการเมืองซึ่งถือว่ารัฐนั้นเป็นสิ่งไม่พึงปรารถนา ไม่จำเป็นและให้โทษ หรืออีกอย่างหนึ่งว่า เป็นการคัดค้านผู้มีอำนาจและองค์การมีลำดับชั้นบังคับบัญชาในการชี้นำความสัมพันธ์ของมนุษย์ ผู้เสนออนาธิปไตย หรือรู้จักกันว่า “ผู้นิยมลัทธิอนาธิปไตย” (anarchist) สนับสนุนสังคมที่ปราศจากรัฐโดยตั้งอยู่บนการรวมกลุ่มอย่างสมัครใจที่ไม่มีลำดับชั้น
เสรีภาพของปัจเจกชนและการลดอำนาจรัฐ คือหลักการที่ชัดเจนของลัทธิอนาธิปไตย สำหรับในเรื่องอื่น ๆ นั้นอาจมีความเห็นที่แตกต่างกันบ้างในหมู่ผู้ที่นิยมแนวคิดนี้ เช่น การใช้ความรุนแรงในการเปลี่ยนแปลงสังคม ชนิดของระบอบเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีและลำดับชั้น การตีความหมายของแนวคิดเกี่ยวกับความสมภาค (egalitarian) และระดับของการจัดองค์กร
คำว่า “อนาธิปไตย” ในความหมายที่นักอนาธิปไตยใช้นั้น มิได้หมายถึงภาวะยุ่งเหยิงหรืออโนมี แต่เป็นรูปแบบของความสัมพันธ์ของมนุษย์ที่เสมอภาค ที่ถูกจัดตั้งขึ้นและรักษาอย่างจงใจ
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY