เรียกได้ว่าปัญญาที่มีอยู่ทุกภาคส่วนของประเทศไทย นั้นคงหนีไม่พ้นเรื่องของ ที่จอดรถ เวลาไปห้างสรรพสินค้า หรือไปร้านอาหารดังๆ ผู้ใช้รถใช้ถนนส่วนใหญ่ มักเจอกับปัญหาเหล่านี้อยู่เสมอ นอกจากเรื่อง ที่จอดรถ จะเป็นปัญหาของคนใช้รถแล้ว บางทีก็เป็นเรื่องของเจ้าบ้านด้วย เพราะอย่างที่เราเห็นกันในสื่อบ่อยๆว่า การจอดรถ ที่เจ้าของรถบางคนมักง่ายเจอที่ว่างก็จ้องจะเสียบอย่างเดียว โดยไม่นึกว่า จอดรถขวางทางเข้า-ออก บ้านใครหรือไม่ ก็ทำให้เกิดเรื่องใหญ่ได้เช่นกัน เพราะในบางครั้งบ้านที่เราไปจอดขวางทางออก อาจจะจ้องรีบไปธุระ หรือ อาจจะมีผู้ป่วยที่ต้องไปโรงพยาบาลด่วน แต่กลับออกจากบ้านไม่ได้เพราะมีรถจอดขวาง หากใครยังจำได้ดีก็มีกรณีตัวอย่าง อย่างข่าว ป้าทุบรถ ให้ดูเป็นอุทาหรณอยู่
คลิปเดือดเจ้าของบ้านถอยรถยับ
เช่นเดียวกับคลิปนี้ที่ล่าสุด ผู้ใช้ tiktok นามว่า narong376 นั้นได้ออกมาโพสต์คลิประทึก เพราะคนที่ จอดรถขวางทางเข้า-ออก นั้นได้เจอคนจริงเข้าให้ เพราะในคลิปนั้น เป็นภาพของการที่รถเจ้าของบ้าน ถอยหลังออกมาจากซอยและชนเข้าที่หน้ารถของคันที่จอดขวางอย่างเต็มแรง จนรถคันที่จอดขวางนั้น ฝากระโปรงยุบ และท้ายรถของเจ้าของบ้านก็ยุบเช่นกัน เมื่อถอยหลังชนจนรถไถลออกไปได้ระยะแล้ว เจ้าของบ้านก็เดินหน้าเลี้ยวออกทันที งานนี้ชาวเน็ตเข้ามาคอมเมนต์กันสนั่นว่า สะใจดีจริงๆยอมรับเลยว่าเข้าใจถึงเวลาเจอรถจอดขวางแบบนี้ผมก็อยากจะทำเหมือนกันนะแต่ใจเราไม่ถึง / ไปจอดปิดทางออกเข้า / ผมก็อยากทำเหมือนพี่เขานะ แต่ยังไม่กล้าซักที
- เอ้า! สาวจอดรถกลางสะพาน ก่อนขว้างถุงขยะ ทิ้งลงข้างทาง หน้าตาเฉย..
- แฟนคลับตะลึง! เจอพระเอกดัง จอดรถมอเตอร์ไซต์ติดไฟแดง แห่แชร์โซเชียลแทบแตก
- อย่าหาทำ! กั๊กที่จอดรถให้ลูกค้า บนพื้นที่สาธารณะ มีความผิดปรับไม่เกินหมื่น
จอดรถขวางหน้าบ้านคนอื่น มีความผิดอย่างไร
- 1. การจอดรถขวางหน้าบ้านคนอื่นเป็นการทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนรำคาญ ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 397 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท และถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวเป็นการกระทำในที่สาธารณสถานหรือต่อหน้าธารกำนัล ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 397 วรรคสอง
- 2. ผู้ได้รับความเสียหายจากการถูกจอดรถขวางหน้าบ้าน สามารถร้องทุกข์ดำเนินคดีได้ รวมทั้งยังฟ้องเรียกค่าเสียหายละเมิดในทางแพ่งได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 และถ้าเป็นที่สาธารณะยังมีโทษตาม พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่สามารถออกใบสั่งและยกรถได้
- 3. กรณีที่ผู้ได้รับความเสียหาย มีเหตุจำเป็นเพื่อป้องกันสิทธิ์ของตน หรือของบุคคลภายนอกจากอันตรายที่มีความฉุกเฉิน ขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานรัฐไม่ได้ สามารถเคลื่อนย้ายรถได้ด้วยตัวเอง แม้จะเป็นการกระทำให้รถบุบสลายหรือเสียหาย ก็ทำได้โดยไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหาย หากความเสียหายนั้นไม่เกินสมควรแก่เหตุ เพราะเป็นข้อยกเว้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 450
ขอบคุณข้อมูลบางส่วน : กระทรวงยุติธรรม
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY