อึ้ง! เคสหายาก เด็ก 1 ขวบพัฒนาการช้า สุดท้ายพบ ‘แฝดปรสิต’ ในสมอง

Home » อึ้ง! เคสหายาก เด็ก 1 ขวบพัฒนาการช้า สุดท้ายพบ ‘แฝดปรสิต’ ในสมอง
หน้าปกไบรท์-แฝดปรสิต

อึ้ง! แพทย์พบเคสหายาก หลังเด็กหญิงวัย 1 ขวบมีพัฒนาการช้า สุดท้ายตรวจพบ ‘แฝดปรสิต‘ ที่ยังมีชีวิตอยู่ในสมองของเด็ก

เป็นอีกหนึ่งข่าวที่ถูกแชร์ในโลกออนไลน์ของประเทศจีน และประเทศอื่น ๆ อย่างแพร่หลาย เมื่อแพทย์ในนครเซี่ยงไฮ้ ของจีน พบ “แฝดปรสิต” หรือ “Fetus-in-Fetu” ในสมองของเด็กหญิงอายุ 1 ขวบ หลังเข้ารับการรักษาความผิดปรกติทางทักษะการพัฒนากล้ามเนื้อ (motor skills) และมีขนาดของศีรษะที่ใหญ่ผิดปรกติ ซึ่งการค้นพบในครั้งนี้ ถูกตีพิมพ์ลงในวารสารประสาทวิทยา ฉบับเดือนธ.ค. 2565 โดยระบุว่า จากการลำดับจีโนมทำให้รู้ว่าตัวอ่อนปรสิตนี้เป็นฝาแฝดของเด็กหญิงคนดังกล่าว

การศึกษาดังกล่าวระบุว่า “ส่วนที่เชื่อมต่อกันของแฝดทั้งสองได้พัฒนาเป็นสมองส่วนหน้าของเด็กหญิงที่รอดชีวิต โดยห่อหุ้มตัวอ่อนอีกตัวไว้ในแผ่นประสาท (neural plate)

สำหรับ Fetus-in-Fetu เป็นความผิดปกติของการเจริญของแฝดหนึ่งตัว และถูกกลืนเข้าไปอยู่ในร่างกายของแฝดที่เจริญเติบโตตามปกติ ซึ่งในเคสนี้คือสมองส่วนหน้า จากข้อมูลของ IFL Science เว็บไซต์ข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ ระบุว่า การเกิดแฝดปรสิต หรือ แฝดกาฝากนี้ จะเกิดขึ้นตั้งแต่ในระยะแรกของการตั้งครรภ์ เมื่อตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสต์ (Blastocyst) ซึ่งเป็นกลุ่มเซลล์ที่แบ่งตัวซึ่งเกิดจากไข่ที่ปฏิสนธิแล้ว ไม่สามารถแยกตัวได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้เซลล์ตัวอ่อนหนึ่งตัว ถูกเซลล์อีกตัวห่อหุ้มเอาไว้ ทำให้ไม่สามารถเจริญเติบโตขึ้นได้ แต่ยังคง “มีชีวิต” อยู่ เพราะยังมีเลือดไปหล่อเลี้ยง

อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่สามารถช่วยชีวิตเจ้าของร่างจากแฝดปรสิตไว้ได้ ในปี 1997 มีการค้นพบแฝดกาฝากในช่องท้องของเด็กชายวัยรุ่นชาวอียิปต์อายุ 16 ปี และเมื่อเดือนพ.ย.ปีที่แล้ว แพทย์อินเดีย ได้นำตัวอ่อน 8 ตัว ออกจากถุงน้ำดีของทารกหญิงวัย 21 วัน โดยขนาดของตัวอ่อนในครรภ์มีตั้งแต่ 3-5 ซม.

ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ

Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ