สถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยนำคณะสื่อมวลชนไทยเยี่ยมชมเรือยูเอสเอส เมคิน ไอส์แลนด์- USS MAKIN ISLAND (LHD 8) เรือยกพลขึ้นบกที่ร่วมการฝึกคอบร้าโกลด์ประจำปี 2566 มีขึ้นตั้งแต่ 27 ก.พ.-10 มี.ค. ซึ่งจอดเทียบท่าในเขตหวงห้ามบริเวณท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี
คณะเริ่มเดินจากชั้นล่างของเรือไต่ระดับสู่ดาดฟ้าที่ทำการบิน ภายในเรือที่มีความยาวตัวเรือราว 250 เมตร โดยมีนาวาเอกโทนี ชาเวซ ผู้บังคับการเรือและนายลูคัส ดับเบิลยู. เจงคินส์ พันจ่าหัวหน้าฝ่ายปกครองเรือให้การต้อนรับ เริ่มแนะนำยานเบาะอากาศใช้ในปฏิบัติการสะเทินน้ำสะเทินบก เป็นยานเบาะอากาศเบาที่ใช้ลำเลียงคน ซึ่งข้างหลังของเรือลำนี้ มีประตูเปิดให้สามารถถ่วงน้ำหนักลงและให้น้ำเข้ามาเพื่อที่จะได้นำยานเบาะอากาศออกไปข้างนอกได้
และในส่วนพื้นที่ลาดต่ำลงไปเป็นพื้นที่ ใช้เก็บอุปกรณ์และตัวยานพาหนะต่างๆ ส่วนเก็บเครื่องบิน ส่วนใช้สำหรับซ่อมบำรุงเครื่องบิน เพื่อจะได้ไม่ซ่อมบำรุงเครื่องบินบนดาดฟ้า ซึ่งดาดฟ้าจะได้ใช้เป็นพื้นที่ปฏิบัติการได้เลย
สถานการแพทย์ที่ใหญ่ที่สุด
ห้องพยาบาล สามารถทำการผ่าตัดได้และการดำเนินทางการแพทย์ที่ซับซ้อนได้ เรือลำนี้เป็นสถานการแพทย์ที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาเรือรบทั้งหมดรองจากเรือพยาบาล เรือลำนี้สามารถรักษาผู้บาดเจ็บได้ สมมติมีการต่อสู้และผู้บาดเจ็บจำนวนมากอยู่บนฝั่ง และเรือลำนี้ยังมีความสามารถในการปฏิบัติการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมต่างๆและการบรรเทาภัยพิบัติด้วย ซึ่งจะเป็นหน่วยแพทย์ หน่วยรักษา คัดกรองผู้บาดเจ็บ ดูแลรักษาผู้บาดเจ็บในกรณีที่เป็นการกู้ภัยด้วย
ภารกิจหลักคือเพื่อบรรเทาภัยพิบัติและการการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม มีหน่วยแพทย์จากทั้งกองทัพเรือและนาวิกโยธินสหรัฐรวมทั้งสิ้น 60 คน รวมถึงนายแพทย์ พยาบาล นักเทคนิคทางการแพทย์ เพื่อดูแลลูกเรือทั้งหมดบนเรือและภารกิจที่ได้รับมอบหมาย
ในการฝึกคอบร้าโกลด์ ทางนี้ได้ร่วมการฝึกกับแพทย์จากกองทัพไทยด้วย ได้ฝึกการทำงานร่วมกันทั้งบนเรือและบนชายหาด และได้ช่วยเหลือคนจริงๆด้วยในกรณีนี้ โดยได้ช่วยเหลือหน่วยทหารเรือและนาวิกโยธินของเกาหลีที่ได้รับบาดเจ็บและทางทีมแพทย์สหรัฐอเมริกาและไทยที่เป็นทีมแพทย์กองทัพเรือได้ช่วยกัน
ส่วนการรักษาเบื้องต้น ประเมินอาการผู้บาดเจ็บ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้มีอาการบาดเจ็บเฉพาะ มีทั้งการวัดชีพจร จังหวะการเต้นของหัวใจและการจ่ายยาให้ได้ด้วย ที่ช่วยบรรเทาอาการบาดเจ็บ ยาฆ่าเชื้อโรค และจะส่งต่อให้ส่วนอื่น หากจำเป็น ต่อมาห้องผ่าตัด เป็นหนึ่งในสี่ห้องผ่าตัด ห้องผ่าตัดหลักมีความพร้อมตลอดในการผ่าตัดในกรณีฉุกเฉิน แต่โชคดีที่ขณะนี้ไม่มีเคสฉุกเฉิน จึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้ห้องนี้มากเท่าใดนัก อย่างไรก็ตามมีแพทย์ประจำตลอดเวลาในการผ่าตัด และถูกส่งต่อไปห้องไอซียู
กองทัพเดินด้วยท้อง
โรงอาหาร สถานที่ทหารรับประทานอาหาร ปกติเรือมีทหารประจำการทั้งหมด ราว2,400 นาย รวมต้องทำอาหารประมาณ 10,000 ที่ต่อวัน โดยมี 4 มื้อ เช้า กลางวัน เย็นและมื้อดึก กองทัพเรือสหรัฐมองว่า การกินอาหารที่ดีสร้างขวัญกำลังใจที่ดีให้กำลังพล ให้ความสำคัญกับการทำอาหารรวมถึงบุคลากรทั้งหมด
นายลูคัส ดับเบิลยู. เจงคินส์ พันจ่าหัวหน้าฝ่ายปกครองเรือ บุคลากรชั้นประทวนอาวุโส ทำหน้าที่ดูแลทหารชั้นประทวนทั้งหมด รับผิดชอบความเป็นอยู่ที่ดี สุขภาพ ของทหารรวมถึงการดูแลกฎระเบียบต่างๆรวมถึงการดูแลรักษาโรงอาหารด้วย พาไปเยี่ยมชมคาเฟ่ “โอโช่คาเฟ่” เป็นที่สำคัญมาก เนื่องจากทหารเรือและนาวิกโยธินที่นี่ทำงานเฉลี่ย 12-15 ชั่วโมงต่อวัน จึงต้องมีสถานที่ที่พักผ่อนหย่อนใจ กินกาแฟ ทำให้นึกถึงบ้านและตรงนี้มีสตาร์บักด้วย โรงอาหารมีสัญญาณอินเตอร์เน็ตไร้สาย ทหารสามารถใช้โทรศัพท์มือถือพูดคุยกับครอบครัวที่บ้านได้ด้วย
อีกทั้งมีห้องรับประทานอาหารของทหารประทวนชั้นสูง พันจ่าเจงคินส์อธิบายว่า ยศพันจ่าเป็นผู้นำในหน่วยของตนเอง ทำหน้าที่ในการฝึกอบรมและนำทหารน้องๆในทีมก้าวขึ้นไปในเส้นทางอาชีพ เรือลำนี้มีทหารยศพันจ่าประมาณ 80 คน มีทั้งพันจ่าเอก โทและตรี และได้พาไปดูเลาจ์ข้างใน
ภายในเรือมีร้านค้าจำหน่ายของที่ระลึก ซึ่งรายได้กลับคืนสู่กองทุนทหารเรือและนาวิกโยธิน ห้องตัดผม บริการฟรี 100 เปอร์เซนต์ ทั้งทหารเรือและนาวิกโยธิน ส่วนต่อมาโบสถ์และห้องสมุด แนะนำให้รู้จักศาสนจารย์สำหรับหลายศาสนา ขณะนี้บนเรือไม่มีบุคลากรที่สอนศานาพุทธ แต่มีศาสนาอิสลามและมีอีกหลายๆ ความเชื่อ แต่สามารถเชิญศาสนจารย์จากบนฝั่งมาสอนได้ นอกจากบทบาทศาสนจารย์ ยังได้รับการฝึกให้เป็นผู้ให้คำปรึกษาแก่ทหารเรือและนาวิกโยธิน ซึ่งสิ่งที่พูดคุยเก็บเป็นความลับ ในพื้นที่ห้องสมุด ใช้อ่านหนังสือ มีบริการคอมพิวเตอร์เพื่อส่งอีเมลทำงาน
เจ้าหน้าที่ทหารสหรัฐระบุว่า ทหารเรือออกเรือนาน 6 เดือนไกลบ้านไกลครอบครัว ดังนั้นเราจึงทำให้ทหารเรือมีความพร้อมทั้งร่ายกายและจิตใจ และมีความพร้อมด้านจิตวิญญาณด้วยเพื่อให้มีความเข้มแข็งและสามารถออกเรือเป็นเวลานานๆได้ ถ้าเกิดมีปัญหาจะได้มีคนไปคุยไปปรึกษาได้ นับเป็นหนึ่งในส่วนสำคัญของเรือลำนี้ และมีการให้บริการคำปรึกษาด้านการป้องกันการฆ่าตัวตายด้วย รวมถึงการสอนคัมภีร์ไบเบิลและเสริมความเข้มแข็งทางด้านจิตใจให้ด้วย
ส่วนออกกำลังกาย มีความสำคัญเหมือนคาเฟ่ โรงอาหาร เปิด 24 ชั่วโมงต่อวัน มีคนมาใช้บริการทุกวัน ทั้งนาวิกโยธินและทหารเรือมาใช้บริการอย่างมากเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงอยู่สม่ำเสมอสำหรับปฏิบัติภารกิจ
ขึ้นมาสู่ชั้นดาดฟ้า ลานปฏิบัติการบิน
เรือลำนี้มีศักยภาพสะเทินน้ำสะเทินบก เป็นคล้ายๆกับสนามบินบนทะเล มีทหารเรือประมาณ 1,200 คน นาวิกโยธิน 1,300-1,400 คนประจำเรือ ปฏิบัติภารกิจทั้งด้านอากาศ สะเทินน้ำสะเทินบก
“สิ่งที่ทำร่วมกับไทยในการฝึกคอบร้าโกลด์คือการส่งเสริมขีดความสามารถ การเพิ่มสมรรถภาพในการทำงานร่วมกัน การเพิ่มความร่วมมือและความพร้อมโดยเฉพาะในความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการรับมือกับภัยพิบัติต่างๆ” ผู้บังคับการเรือชาเวซระบุ
“จริงๆแล้ว เรือลำนี้ ไม่ได้เน้นด้านการต่อสู้ แต่เป็นเรือเน้นด้านการช่วยเหลือ มีทั้งเครื่องบินเอฟ 35 มีทั้งนาวิกโยธินด้วย นับเป็นส่วนหนึ่งของอาวุธที่มี”ผู้บังคับการเรือชาเวซระบุและว่า การฝึกคอบร้าโกลด์ประสบความสำเร็จมากสำหรับเรา ซึ่งได้เรียนรู้อย่างมากจากกองทัพเรือไทยโดยรวมด้วย ผ่านการร่วมมือกันและฝึกร่วมกัน เป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างมากจากการได้เรียนรู้และแลกเปลี่ยนกัน
ความสามารถในการรองรับในการรักษา สามารถรองรับการรักษาบาดเจ็บที่รุนแรงได้ ซึ่งมีอุปกรณ์กู้ชีพขั้นสูง สามารถผ่าตัดบนเรือได้ด้วย ซึ่งเวลายกพลนาวิกโยธินขึ้นบก จะมีการบาดเจ็บจำนวนมาก เรือสามารถรองรับการรักษาบาดเจ็บจำนวนมาก รวมถึงเน้นการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมบรรเทาภัยและความช่วยเหลือบรรเทาภัย ในการฝึกคอบร้าโกลด์ปีนี้
“น่าเสียดายที่ไม่สามารถบอกได้ว่าเรือลำนี้จะทำภารกิจอะไรต่อไป และออกจากท่าเรือแหลมฉบังเมื่อไหร่ แต่การมาของเรือลำนี้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกองเรือที่ 7 คือให้ความสำคัญและสนับสนุนภาคีและความสามารถในการทำงานร่วมกันกับหุ้นส่วนและพันธมิตรในภูมิภาคนี้” ผู้บังคับการเรือชาเวซระบุ
………………