ล้มแล้ว! น้องธันวา ลูกช้างป่าพลัดหลง หลังต่อสู้อาการบาดเจ็บ หลายสัปดาห์

Home » ล้มแล้ว! น้องธันวา ลูกช้างป่าพลัดหลง หลังต่อสู้อาการบาดเจ็บ หลายสัปดาห์
หน้าปกใหม่-น้องธันวา

ล้มแล้ว! น้องธันวา ลูกช้างป่าพลัดหลง หลังต่อสู้อาการบาดเจ็บ จากการกลิ้งตกเขาจนเป็นแผลทั่วตัว นานหลายสัปดาห์ ทำเอาเอฟซีเศร้า

เชื่อว่าในช่วงนี้หลาย ๆ คนคงได้เห็นข่าว น้องธันวา หรือพังธันวา ลูกช้างป่าที่พลัดหลงกับพ่อแม่ โดยขณะที่เจ้าหน้าที่ไปพบ พังธันวามีอาการอ่อนเพลีย ขาดสารอาหาร และมีแผลแถลกทั่วทั้งตัว จึงนำมาดูแลรักษาต่อที่ศูนย์พัฒนาการจัดการสัตว์ป่าบึงฉวาก

ล่าสุดวันนี้ (21 ธ.ค. 65) เพจเฟซบุ๊ก สวนสัตว์บึงฉวาก จังหวัดสุพรรณบุรี ก็ได้ออกมาโพสต์อัปเดตว่า พังธันวาได้จากโลกนี้ไปแล้ว โดยระบุว่า ‘ไม่เจ็บ ไม่ปวด ไม่ทรมานแล้วนะ “น้องธันวา” หนูเก่งมาก อดทนสู้มาตลอดเพื่อที่จะมีชีวิตรอด หลับให้สบายนะ “ธันวา” ช้างน้อยผู้พลัดพลาก 08.24 น. วันพุธ ที่ 21 ธันวาคม 2565′

  • พี่ศรี ประกาศชัด แพรรี่ ไพรวัลย์ เป็นมิตรหรือศัตรู จับตาปะทะฝีปาก “แย่งซีน”
  • ใครยื่นอย่ารับ! ดีเจสาวโพสต์เตือนภัย เจอแก้วผสมยา วูบสลบ เลือดออกจมูกเกือบตาย
  • ฝันเป็นจริง! ทหารที่รอดจาก เรือหลวงสุโขทัย โผกอดครอบครัวทั้งน้ำตา
น้องธันวา
ภาพจาก สวนสัตว์บึงฉวาก จังหวัดสุพรรณบุรี

น้องธันวา ช้างป่า กลับดาว 21 ธันวาคม 65

ด้าน นายอนันต์ ศรีผุดผ่อง หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงฉวาก และศูนย์พัฒนาจัดการสัตว์ป่าบึงฉวาก สพญ.ลักษณา ประสิทธิชัย นายสัตวแพทย์ชำนาญการพิเศษ สอป.สบอ.3 (บ้านโป่ง) สพญ.ณฐนน ปานเพ็ชร นายสัตวแพทย์ปฏิบัติการ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงฉวาก และศูนย์พัฒนาการจัดการสัตว์ป่าบึงฉวาก และ สพญ.ธชพรรณ ลีลาพตะ นายสัตวแพทย์ กลุ่มงานจัดการสุขภาพสัตว์ป่า เปิดเผยรายละเอียดการดูแลรักษา “ธันวา” ว่าภายใต้การกำกับการของสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 (บ้านโป่ง) และกลุ่มงานจัดการสุขภาพสัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า วันที่ 21 ธ.ค.2565 เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงฉวาก และศูนย์พัฒนาการจัดการสัตว์ป่าบึงฉวาก ขอรายงานการดูแลรักษาช่วยเหลือลูกช้างป่าพลัดหลง มีอาการป่วยและบาดเจ็บ ชื่อธันวา เพศเมีย

รายละเอียดมีดังนี้

วันที่ 21 ธันวาคม 2565

  1. เวลา 00.00 น. ลูกช้างป่าธันวามีภาวะท้องเสีย มีอาการอ่อนแรงมาก ไม่ยอมใช้ขายันพื้นเพื่อยืน แต่ยังคงกินอาหารได้
  2. เวลา 03.00 น. มีอาการอ่อนแรงต่อเนื่อง ทีมสัตวแพทย์ได้ทำการรักษาประคับประคองอาการ โดยการให้สารน้ำ เสริมเกลือแร่เพื่อชดเชยการสูญเสียแร่ธาตุ ให้ออกซิเจน และพยายามควบคุมอุณหภูมิร่างกายให้เกิดความอบอุ่นเนื่องจากอากาศค่อนข้างเย็น (17-18 องศาเซลเซียส)
  3. เวลา 04.00 น. เริ่มอ่อนแรงมากขึ้น ไม่ตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นและหายใจลำบาก ทีมสัตวแพทย์ทำการรักษาต่อเนื่อง
  4. เวลา 08.00 น. ช้างป่าธันวาไม่ตอบสนองต่อการรักษา ทีมสัตวแพทย์ทำการกู้ชีพแต่ไม่มีการตอบสนองของสัญญาณชีพ และได้เสียชีวิตลงอย่างสงบเมื่อเวลา 08.24 น.
  5. สัตวแพทย์ สอป.สบอ.3 (บ้านโป่ง) และกลุ่มงานจัดการสุขภาพสัตว์ป่าจะทำการชันสูตรเและเก็บตัวอย่างอวัยวะภายใน ส่งตรวจเพื่อชันสูตรทางห้องปฏิบัติการ สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ กรมปศุสัตว์ เพื่อรายงานผลต่อไป
น้องธันวา-3
ภาพจาก ภัทรพล ล็อต มณีอ่อน
น้องธันวา-2
ภาพจาก ภัทรพล ล็อต มณีอ่อน

น้องธันวา

สำหรับ น้องธันวา เป็นลูกช้างป่าเพศเมีย ที่ถูกพบโดยพระธุดงค์ในป่าบริเวณพื้นที่ ต.เขาโจด อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี เมื่อวันที่ 27 พ.ย. 65 เมื่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าช่วยเหลือจึงได้ประสานงานส่งต่อมาดูแลที่ศูนย์พัฒนาการจัดการสัตว์ป่าบึงฉวาก ในวันที่ 3 ธ.ค. 65 จึงตั้งชื่อลูกช้างป่าตัวนี้ว่า “ธันวา” นั่นเอง

จากการตรวจสอบสุขภาพของน้องธันวาเบื้องต้นพบว่ามีอาการอ่อนแรง ขาดสารอาหาร และตามเนื้อตัวมีบาดแผลรอยถลอกเต็มไปหมด คาดว่าจะน่าเดินลื่นไถลในป่า เพราะช่วงนั้นมีน้ำป่าไหลหลาก พื้นดินลื่น อาจทำให้น้องล้มจนกลิ้งไปหลายตบ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสาเหตุว่าอาจทำให้พลัดหลงกับพ่อแม่ได้

โดยเมื่อ วันที่ 20 ธ.ค. 2565 เวลา 09.00 – 19.00 น. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงฉวาก และศูนย์พัฒนาการจัดการสัตว์ป่าบึงฉวาก ขอรายงานการดูแลรักษาช่วยเหลือลูกช้างป่าพลัดหลง มีอาการป่วยและบาดเจ็บ ชื่อธันวา เพศเมีย
รายละเอียดมีดังนี้

  1. ถ่ายอุจจาระเหลวแต่ยังคงเป็นเนื้อครีม ปัสสาวะปกติ
  2. ทำการให้สารน้ำป่านทางหลอดเลือดดำ
  3. อาหารให้กินน้ำต้มข้าว เนื้อข้าวต้มเปื่อย และผสมนมผงชนิด EMR (ค่อยๆผสมทีละน้อย) ทุก 3 ชั่วโมง (น้ำข้าวต้ม 500 มิลลิลิตร และ เนื้อข้าวต้ม 16 ช้อน ต่อ 1 มื้อ นมผง ปริมาณ 2 กรัม)
  4. ทำการวิตามินแบบกิน ให้กินน้ำผึ้ง
  5. ทำการให้ยาลดกรด เอนไซน์ช่วยย่อยอาหาร และยาขับลมแบบกิน
  6. ยังคงต้องใช้การพยุงตัวช่วยในการลุก นั่ง ยืน เดิน
  7. มีอาการซึมลง ต้องกระตุ้นให้ตื่นนอน
  8. สภาพอากาศเย็น ต้องให้ความอบอุ่นตลอดเวลา เพื่อรักษาอุณหภูมิร่างกาย
  9. ทำแผลบริเวณลำตัว ทำการเลเซอร์รักษาแผล และทาน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นรักษาแผลและเพิ่มความชุ่มชื้นของผิว
  10. ตรวจวัดระดับน้ำตาลกลูโคส อยู่ที่ 46 mg/dL
  • น.สพ.ดร.สิทธิเดช มหาสาวังกุล ที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสัตวแพทย์ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ เข้าเยี่ยมลูกช้างป่าธันวา พร้อมมอบสารน้ำสำหรับเข้าทางหลอดเลือดดำ
  • น.สพ.เผด็จ ศิริดำรง ผอ.โรงพยาบาลสัตว์เนินพลับหวาน เข้าเยี่ยมลูกช้างป่าธันวา และนำนักศึกษาสัตวแพทย์เข้าร่วมช่วยงานดูรักษาช้างป่า กับทีมสัตวแพทย์กรมอุทยานฯ ระยะเวลา 6 วัน
  • ทีมสัตวแพทย์ เจ้าหน้าที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงฉวาก และเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเอราวัณ ยังคงต้องดูแลลูกช้างป่า (ธันวา) อย่างใกล้ชิด ตลอด 24 ชั่วโมง
-4
ภาพจาก ภัทรพล ล็อต มณีอ่อน

ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ

Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ