ชาวเน็ตแห่ ขายประกัน หลัง สปสช. เผย มติเห็นชอบ คุ้มครอง 4 แสนบาท หากพบ ผลข้างเคียง หลังฉีดวัคซีนโควิด-19 บ้างก็บอกได้ไม่คุ้มเสีย
หลังจากประเทศไทยนำเข้าวัคซีนโควิด-19 จากต่างประเทศ ซึ่งในตอนนี้มีวัคซีนโควิด-19ที่ผ่านการอนุมัติจากอย.ทั้วหมด 3 ค่าย และเริ่มทยอยฉีดให้คนไทยแล้ว ซึ่งกลุ่มแรกเป็นบุคลากรทางการแพมย์ และกลุ่มเสี่ยง และตอนนี้ประชาชนทั่วไปกำลังจะได้รับวัคซีนโควิด-19 เริ่มจากกลุ่มผู้สูงอายุ และ 7 กลุ่มโรคอันตราย
ซึ่งประเด็นของวัคซีนโควิด-19ที่เป็นที่พูดถึงคือ ประสิทธิภายของวัคซีนที่ไทยนำเข้ามา มีเปอร์เซนต์ประสิทธิภายการทำงาน้อย อีกทั้งยังมีผลข้างเคียงอีกด้วย ทำให้หลายคนเป็นกังวล และลังเลที่จะรับวัคซีนหรือไม่ ถึงแม้ว่าผลข้างเคียงที่เกิดจะมีน้อยก็ตาม ก็ทำมห้คลายคนกังวลได้เช่นกัน
ทางสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ทราบถึงประเด็นดังกล่าว และได้มีเผยมติที่ประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ได้เห็นชอบให้ปรับเกณฑ์และแนวทางการจ่ายบริการโควิด-19 ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ใน 3 ด้าน ดังนี้
1. เงินจ่ายเพื่อช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีประชาชนไทยทุกคนที่ได้รับความเสียหายจากการรับวัคซีนป้องกันโควิด-19 แบ่งเป็น ตาย/ทุพพลภาพถาวร ไม่เกิน 4 แสนบาท เสียอวัยวะ/พิการ ไม่เกิน 2.4 แสนบาท และบาดเจ็บ/เจ็บป่วยต่อเนื่อง ไม่เกิน 1 แสนบาท โดย สปสช. จะแต่งตั้งกลไกเพื่อให้สามารถจ่ายได้ภายใน 5 วัน หลังยื่นคำร้อง
2.ค่าบริการสาธารณสุขสำหรับโรคโควิด-19 ได้แก่ การเพิ่มเติมการจ่ายสำหรับบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 อัตราครั้งละ 20 บาท
3.เตรียมหลักเกณฑ์แนวทางการจ่าย รองรับกรณีกระทรวงสาธารณสุข ประกาศมาตรฐานบริการดูแลผู้ป่วยโควิดแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation / Home quarantine) รวมถึงผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการพักรักษาที่พักอาศัยภายใต้การดูแลของหน่วยบริการ นอกจากจะจ่ายชดเชยตาม DRG แล้ว ยังจ่ายชดเชยเพิ่มเติมในอัตราไม่เกินวันละ 1,000 บาท รวมอาหาร 3 มื้อ ให้กับหน่วยบริการ และสนับสนุนวัสดุทางการแพทย์ที่จำเป็น 3 อย่าง ได้แก่ “เครื่องวัดความดัน-ปรอทวัดไข้-เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว”ให้กับประชาชน โดยใช้งบประมาณจาก พ.ร.ก.กู้เงินฯ วงเงินไม่เกิน 22 ล้านบาท
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเห็นชอบให้ปรับเพิ่มอัตราจ่ายค่าบริการผู้ป่วยใน กรณีบริการในเขต เพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินให้แก่หน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) โดยจะเพิ่มอัตราการจ่ายตาม DRG ใหม่ จาก 8,350 บาทต่อน้ำหนักสัมพัทธ์ เป็น 8,750 บาท ต่อน้ำหนักสัมพัทธ์ ซึ่งจะประมวลผลจ่ายตามผลงานย้อนหลัง ต.ค.2563 – ก.ย. 2564 ใช้งบประมาณเพิ่ม 2,596.13 ล้านบาท
เมื่อมีมัติเช่นนี้ออกมา ชาวเน็ตบางส่วนเกิดคำถามที่ว่า มติออกมาแบบนี้แสดงว่ายอมรับว่าวัคซีนที่นำเข้ามีลข้างเคียงสูง บ้างก็บอกคุ้มครองแค่ 4 แสน ไม่คุ้มที่จะเสี่ยง บ้างประเทศให้มากกว่านี้อีก ทำให้ชาวเน็ตบางคนนำเสนอประกันจากบริษัทเอกชน ที่มีการคุ้มครองและเงินชดเชนที่มากกว่า เผื่อเป็นทางเลือกของใครหลายคน
สามารถติดตามข่าวสารต่าง และ อัปเดทสถานการณ์โควิด-19 ได้ที่ เว็บไซต์ Bright Today หรือ Facebook Bright TV