เป็นแนวทาง! ลองโควิด การป้องกันและรักษาที่เกิดได้ทุกเพศทุกวัย

Home » เป็นแนวทาง! ลองโควิด การป้องกันและรักษาที่เกิดได้ทุกเพศทุกวัย

โควิด 19 : ผลกระทบ ลองโควิด มีแนวทางการป้องและรักษาเบื้องต้นอย่างไรบ้าง อยากให้ทุกคนรู้ไว้เพราะเกิดได้ทุกเพศทุกวัย

สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ โควิด 19 ในประเทศไทยในขณะนี้ ผู้ติดเชื้อรายใหม่ต่อวันอยู่ในหลักพันต่อวัน และผู้เสียชีวิตหลักสิบต่อวัน รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประชุมผู้บริหารระดับสูงกระทรวงสาธารณสุข หารือเตรียมความพร้อมการเดินหน้า “โควิด” สู่โรคประจำถิ่นอย่างปลอดภัย และด้วยตัวเลขที่ไม่สูงมากหนักอย่างวันนี้ 2 ส.ค. 65 ติดเชื้อเพิ่ม 1,843 เสียชีวิต 27 ราย

อาจเป็นรูปภาพของ ข้อความพูดว่า "ศูนย์ข้อมูล COVID-19 กรมประซาสัมพันธ์ สถานการณ์ COVID-19 ในประเทศไทย 2 สิงหาคม 2565 หายป่วยวันนี้ +2,514 หายป่วยสะสม ตังแต่ มกราคม 2565 2,372,190 จำนวนผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล รายใหม่วันนี้ (By RT-PCR& ATK) +1,843 ผู้ป่วยในประเทศ ผู้ป่วยจากต่างประเทศ +1,843 ป่วยสะสม ตั้งแต่ มกราคม 2565 2,370,692 กำลังรักษา 22,012 ผู้ป่วยปอดอักเสบ รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 916 สรุปสถานการณ์ ศนย์ข้อมูลCOVID-19 ศูนย์ข้อมูล COVID-19 สายด่วน111 เสียชีวิตเพิ่ม 27 เสียชีวิตสะสม 9,733 *เนื่องจากตั้งแต่ 5เป็นต้นมามีการปรับระบบรายงาน ha ทีต้องรับการรักษาในโรงพยาบาส"
ขอบคุณรูปภาพ : ศูนย์ข้อมูล COVID-19
  • ข่าวดี! รัฐบาลเชิญชวน ผู้มีภูมิคุ้มกันต่ำ ฉีด LAAB เสริมภูมิคุ้มกันโควิด 19
  • อย่าตื่นตระหนก! กรมการแพทย์ เผย ฝีดาษลิง หายเองได้ใน 2-4 สัปดาห์
  • กรมทางหลวง เผย สาเหตุกรณี สะพานถล่มพระราม 2 ลั่น เรื่องนี้คือบทเรียน

ล่าสุด ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ในเฟซบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha เกี่ยวกับงานวิจัยและพัฒนาเชิงรุก ผลกระทบลองโควิด ของศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช) โดยมีข้อมูลมาก

Sick woman in a mask having a difficulty breathing during coronavirus pandemic
ขอบคุณรูปภาพ : freepik

ผลกระทบ “ลองโควิด”

ลองโควิด” ..การป้องกันและรักษาหมอดื้อ
ลองโควิด เป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นหลังจากที่การติดเชื้อได้จบสิ้น (เชื้อไม่พบแล้ว)

  • 1- อาการของลองโควิด ไม่ขึ้นอยู่กับความหนักเบาของอาการที่เป็นตอนแรก
  • 2-เกิดได้ทุกอายุ ได้ทุกเพศ แต่แนวโน้มในต่างประเทศ อาจเจอในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย อายุ 18 ถึง 30 ปี และทุกอายุที่สูบบุหรี่อ้วน และแน่นอนมีโรคประจำตัวต่างๆ
  • 3-เกิดอาการได้ตั้งแต่หัวจดเท้า หลายระบบหรืออวัยวะพร้อมกัน และทางความรู้สึกทางเพศ ลด หรือหายไป ทั้งชาย หญิง และประจำเดือนผิดปกติ ร่วมเพศมีอาการเจ็บปวด
  • 4- เป็นอาการเดิมขณะติดเชื้อที่สามารถทอดยาวนานกว่าสามเดือน หรือ อาการที่เกิดขึ้นเป็นอาการใหม่
  • 5- กลุ่มอาการเป็นลักษณะที่เรารู้จักกันดีมานานแล้ว เกือบ 80-90 ปีในรูปของ chronic fatique syndrome หรือ Myalgia encephalomyelitis ในไวรัสต่างๆ แต่โควิดเกิดได้รุนแรง และยาวนานกว่าไวรัสตัวอื่นๆมาก
Young asia lady using computer laptop talk about a disease in video conference call with senior doctor online consultation in living room at home.
ขอบคุณรูปภาพ : freepik
  • 6- กลุ่มอาการทางสมองและจิตอารมณ์พบได้ 30% หรือมากกว่า และส่งผลทำให้เฉื่อยชา คิดช้า ความจำสั้น สมองเสื่อมและอารมณ์แปรปรวน โดยเฉพาะคนที่เป็นอยู่แล้วหรือกำลังจะเป็น โรคสมองเสื่อม เช่น อัลไซเมอร์ หรือพาร์กินสัน
  • 7- หลักในการบำบัด ต้องทำการยับยั้งการอักเสบ โดยคำนึงถึงผลข้างเคียงของยาที่ใช้รักษาด้วย และยังต้องประกอบด้วยการหลีกเลี่ยงที่จะทำให้มีการกระตุ้นการอักเสบในร่างกายเพิ่มขึ้น ได้แก่ หลีกเลี่ยงอาหารร้อนแรงที่ทำให้เกิดการอักเสบ เช่น เนื้อแดง ระวังพืชผักผลไม้ที่ปนเปื้อนด้วยสารเคมีฆ่าหญ้าฆ่าแมลง รวมกระทั่งถึงมลพิษพีเอ็ม 2.5 เป็นต้น
  • 8- จากปรากฏการณ์นี้อาจเป็นเครื่องเตือนใจว่าไม่ควรปล่อยตัวให้ติด เพราะอาจเคราะห์ร้ายระยะยาว และยิ่งติดซ้ำ ลองโควิดจะยิ่งรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
  • 9- วิธีที่ “อาจ” ป้องกัน การเกิดลองโควิด ได้คือการให้การรักษาเร็วที่สุดเมื่อรู้ว่าติด เพื่อให้ระยะของการติดเชื้อสั้นที่สุด
  • 10-ตากแดด เดินหมื่น อบร้อน เข้าใกล้มังสวิรัติ ลดแป้งเพียงขยันเท่านั้น ไม่เสียสตางค์ ลดการอักเสบ อัตโนมัติ กินผักผลไม้กากไยให้มาก เท่านี้เองถูกแดดเช้า หรือ บ่าย เย็น และอากาศร้อน อาบน้ำร้อน มีหลักฐานแล้ว ลด mitochondrial stress ลดอนุมูลอิสระ จนเพิ่ม innate immunity เดินวันละ 10,000 ก้าว
Woman wearing black t-shirt and medical protective mask feeling sick
ขอบคุณรูปภาพ : freepik

ถึงเวลาสร้างความแข็งแกร่ง ทุกระบบ ของ ภูมิคุ้มกัน ต่อสู้ การติดเชื้อ เพราะวัคซีนตามไวรัสไม่ทัน และแม้พลาดท่า ติดแล้ว มีลองโควิด ก็เอาอยู่งานวิจัยและพัฒนาเชิงรุกผลกระทบลองโควิด ของศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่คณะแพทยศาสตร์จุฬา ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช)

ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ

Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ