20 กรกฎาคม 2565 ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล อัพเดตสถานการณ์โรคโควิด-19 เชื้อโอมิครอน และสายพันธุ์ย่อยที่พบใหม่ในประเทศไทย ระบุว่า ประเทศไทยพบเชื้อโอมิครอน สายพันธุ์ย่อย BA.2.75 แล้ว 1 ราย ที่ จ.ตรัง
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ออกมาโพสต์ภาพและข้อความผ่านทางเพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics พบโอมิครอน สายพันธุ์ย่อย BA.2.75 แล้ว 1 ราย ในประเทศไทยที่ จ.ตรัง (ปรับปรุง 20/7/2565 เวลา 07.07น.)
- ซีซั่นนี้ไม่รอด! นานา ไรบีนา แจ้งข่าวติดโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน BA.4
- อย่าชะล่าใจ! หมอยง เผย โควิด19 ระลอกที่ 6 โอมิครอน BA.5 ยังไม่ถึงจุดสูงสุด
- สรุปง่ายๆ! โอมิครอน BA.5 แพร่เชื้อได้ไวกว่าทุกสายพันธุ์ ติดเพียง 1 คนก็อันตราย
– เก็บตัวอย่างโดยศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12/1 ตรัง เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2565
– กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมและ upload ขึ้นบนฐานข้อมูลโควิดโลก (GISAID) เป็นที่เรียบร้อยเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2565
– มีการกลายพันธุ์ต่างไปจากไวรัสดั้งเดิม “อู่ฮั่น” ประมาณ 90 ตำแหน่ง
– พบ BA.2.75 อุบัติขึ้นครั้งแรกในอินเดีย ขณะนี้มีการแพร่ระบาดไปทั่วโลก นักวิทยาศาสตร์สามารถเก็บตัวอย่างถอดรหัสพันธุกรรมได้ 338 ราย (19/กค/2565)
ถามว่า BA.2.75 หลบภูมิเก่ง ดื้อวัคซีน ดื้อยา หรือไม่ ?
BA.2.75 กลายพันธุ์ไปถึง 100 ตำแหน่ง คาดว่าจะหลบภูมิคุ้มกันจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์ก่อนได้ดี และดื้อต่อวัคซีนที่เตรียมจากไวรัสอู่ฮั่นดั้งเดิม และควรเลือกใช้ยาแอนติบอดีสังเคราะห์ (Monoclonal Antibody) ให้สอดคล้องกับโอมิครอนสายพันธุ์ย่อยที่ผู้ป่วยติดเชื้ออยู่
ที่น่าสังเกตคือการระบาดของ BA.2.75 ในประเทศอินเดีย ประเทศต้นกำเนิดเมื่อต้นเดือนมิถุนายน 2565 มีการระบาดไม่ยาวนาน ขณะนี้ใกล้จะสงบลงแล้ว อาจสืบเนื่องมาจากในอินเดียมีการระบาดใหญ่ของ BA.2 มาก่อน ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นอาจทำให้การระบาดของ BA.2.75 ซึ่งกลายพันธุ์มาจาก BA.2 ไม่ขยายวงกว้าง ประเทศไทยเองก็มีการระบาดใหฐ่ของ BA.2 มาก่อนเช่นเดียวกัน
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY