ทุ่นเตือนสึนามิ สรุปง่ายๆผ่านนิทานเรื่อง ทุ่น-หนู-งูเห่า ขั้นตอนการทำงานรวมถึงความสำคัญ ทุ่นเตือนสึนามิ มีความสำคัญอย่างไรต่อประชาชน
จากกรณี แผ่นดินไหว บริเวณใกล้ ภูเก็ต และโซน หมู่เกาะอันดามัน เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมานี้ มีการเตือนภัยจากหลายแห่งและประชาชนหวาดกลัว หวั่นเกิด สึนามิ อีกครั้ง เนื่องจาก แผ่นดินไหว นั้นเกิดขึ้นติดต่อกันกว่า 32 ครั้งแล้ว และยังมีประเด็นเรื่อง ทุ่นเตือนสึนามิ ไม่ทำงานจำนวน 2 ทุ่นและทั้ง 2 ทุ่นเคยหลุดออกจากรัศมีการส่งข้อมูล จึงค่อนข้างน่าเป็นห่วง หากเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงขนาด 7 ขึ้นไป
ทุ่นเตือนสึนามิ ระบบเตือนภัยสึนามิ (Tsunami Warning System, TWS) เป็นระบบที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อเอาไว้ตรวจจับและเตือนภัย สึนามิ ก่อนที่จะซัดเข้าฝั่ง ซึ่งเป็นความร่วมมือร่วมแรงกันของทั้งเครื่องมือตรวจวัดที่จะต้องเข้าไปอยู่ประชิดแหล่งกำเนิด สึนามิ และระบบการส่งสารแบบความเร็วสูง ทั้งหมดทั้งมวลนี้ก็เพื่อที่จะให้มนุษย์ที่ใช้ชีวิตอยู่บนฝั่งไหวตัวทันกันตั้งแต่สึนามิเริ่มเกิดขึ้นมา ให้มีเวลาพอที่จะเตรียมเนื้อเตรียมตัวอพยพ
และสำหรับประชาชนหลายๆคนที่ยังไม่เข้าใจความสำคัญของ ทุ่นเตือนสึนามิ ว่ามีหน้าที่หรือมีขั้นตอนการทำงานอย่างไร ด้านเพจ มิตรเอิร์ธ – mitrearth ได้ออกมาสรุปง่ายๆ ผ่านนิทานเรื่อง ทุ่น-หนู-งูเห่า
ประเด็น #ทุ่นเตือนสึนามิดับ นิทาน ทุ่น – หนู – งูเห่า by ทนาย ทอม โสดครับ
- สมมุติว่ามี #หนู กับ #งูเห่า หน้าตาหล่อเหลาเหมือนกัน
- หนูตัวยาว 1 เมตร ส่วน งูเห่ายาว 300 เมตร
- ทั้ง รูหนู และ รูงู อยู่ห่างบ้านเราไป 400 เมตร
- เราไม่กลัวหนู แต่เรากลัวงู เราเลยวาง #ทุ่นดักหนูดักงู ไว้ข้างๆ รูหนู และ รูงู
- อยู่มาวันหนึ่ง ก็ไม่รู้ว่าหนูหรืองู ออกจากรูมา (หน้าเหมือนกัน)
- ทางเดียวที่ทุ่นจะบอกได้ว่าเป็น #หนูหรืองู คือ ต้องคลำๆ ลูบๆ ตัวดูให้รู้ตลอดหัวถึงหาง
- พอลูบดู แค่ 1 เมตรก็ทั่วทั้งตัว อันนี้ไม่มีปัญหา ว๊ายยย !!! หนู
- แต่กว่าจะลูบตัวงูให้ถึงหาง ถามว่า #หัวงู จะอยู่ที่ไหน
- กระดาษทดต้องมา !!! 400 – 300 = 100 เมตร
- ใช่ครับ !!! กว่าที่ทุ่นจะรู้ว่าเป็น งู หัวงูก็เข้าใกล้บ้านเรามากแล้ว
- ปัจจุบัน เราเลยไม่ได้ใช้ทุ่น เพื่อเตือนภัยงู หรือเตือนภัยสึนามิ
- #ทุ่น ใช้ยืนยันว่าเป็นสึนามาจริงหรือเปล่า ถ้าไม่ใช่จะได้ยกเลิกการเตือนภัย
แล้วปัจจุบันเราใช้อะไรเตือน ? สึนามิ เกิดจาก
1) มีการปริแตกของพื้นดินใต้ทะเล และ
2) รอยแตกนั้นเลื่อนตัวในแนวดิ่ง ทำให้มวลน้ำ ยก-ยุบ เป็น สึนามิ
- 1) #ขนาดแผ่นดินไหว (earthquake magnitude) 7.0 ขึ้นไป แผ่นดินถึงมีโอกาสแตกลั่นมาถึงพื้นผิว
- 2) #กลไกแผ่นดินไหว (focal mechanism) ช่วยบอกว่า เหตุการณ์แผ่นดินไหวนั้นๆ เกิดจากการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนแบบไหน เช่น เลื่อนดิ่งแบบปกติ เลื่อนดิ่งแบบย้อน หรือ เลื่อนไปตามแนวราบ (เลื่อนซ้าย-เลื่อนขวา)
ข้อมูลทั้ง 2 ข้อ หาได้จาก #คลื่นแผ่นดินไหว (seismic wave) ภายในช่วงเวลาที่ ทุ่นเพิ่งจะเริ่มลูบหัว หนูกับงู
ทุกวันนี้ เราจึงตัดสินใจตัดริบบิ้นเตือน #สึนามิ จาก #ข้อมูลแผ่นดินไหว ไม่ใช่ #ทุ่น
ขอบคุณข้อมูล : มิตรเอิร์ธ – mitrearth , https://www.mitrearth.org/
อ่านข่าวที่น่าสนใจ
- จับตา! ใกล้ ภูเก็ต หวั่นเกิด สึนามิ หลังแผ่นดินไหวรอบที่ 32 เช้าวันที่ 06 ก.ค. 65
- แผ่นดินไหว ไม่ใช่ สึนามิ ตื่นตัวแต่อย่าตระหนก จะเกิดได้ต้องรุนแรงระดับ 6.5 ขึ้นไป
- #สึนามิ ขึ้นเทรนด์ทวิตเตอร์อันดับหนึ่ง หลังเกิดเหตุ แผ่นดินไหว ติดต่อกัน 32 ครั้ง