8 สาเหตุที่พบบ่อยของ "อาการหน้ามืดเป็นลม"

Home » 8 สาเหตุที่พบบ่อยของ "อาการหน้ามืดเป็นลม"
8 สาเหตุที่พบบ่อยของ "อาการหน้ามืดเป็นลม"

อาการหน้ามืด ตาพร่า ค่อยๆ ดำมืดจนมองอะไรไม่เห็น เหงื่อออก มือเย็น ใจเต้นรัว ไม่มีแรง ไปจนถึงเป็นลมล้บพับไม่ได้สติ อาการเหล่านี้มีสาเหตุของอาการแตกต่างกัน แต่ที่พบได้บ่อยๆ มีอยู่ 7 สาเหตุ ดังนี้

8 สาเหตุที่พบบ่อยของ “อาการหน้ามืดเป็นลม”

  1. เป็นลมธรรมดา

เป็นสาเหตุที่พบได้มากที่สุด เกิดจากร่างกายอ่อนแอ เพิ่งฟื้นไข้ อดนอน หิวข้าว หิวน้ำ อดอาหาร อยู่ในที่ร้อนอบอ้าวหรือแออัด ไปจนถึงจิตใจอ่อนแอ เช่น เครียด วิตกกังวล หงุดหงิด โกรธ หรือหวาดกลัว

อาการที่พบ หัวใจเต้นช้าลง ความดันโลหิตตก ผู้ป่วยไม่มีสติอยู่ในระยะสั้นๆ เมื่อได้นอนในที่ราบจะค่อยๆ ฟื้นภายใน 5-10 นาที แต่อาจจะยังมึนงง อ่อนเพลีย คลื่นไส้ ไม่มีแรงอยู่อีก 1-2 ชั่วโมง หรือนานกว่านี้เล็กน้อย

การป้องกัน รักษาสุขภาพร่างกายและจิตใจให้แข็งแรงอยู่เสมอ ไม่อยู่ในที่ร้อนอบอ้าว ไม่อดข้าวอดน้ำหรืออดหลับอดนอน หากมีอาการมึนหัว ใจสั่น ใจเต็นเร็ว เหงื่อแตก มือเย็น ให้รีบหาที่นั่งพัก หรือนอนราบ ก่อนที่จะเป็นลมจนหมดสติ เพราะจะฟื้นตัวได้เร็วกว่ามาก

  1. เป็นลมเมื่อเปลี่ยนท่า

อาการที่พบ อาการเป็นลมเมื่อเปลี่ยนท่านั่ง ท่ายืน โดยเฉพาะหากนั่งหรือนอนอยู่แล้วลุกขึ้นยืนอย่างรวดเร็ว หรือเกิดจากการยืนอยู่เฉยๆ นานๆ มักเกิดกับ

  • ผู้สูงอายุ 
  • กินยาที่ทำให้ความดันโลหิตลดลง 
  • คนที่ปริมาตรเลือดหรือน้ำในร่างกายพร่อง (ลดลง) เช่น คนที่มีอาการตกเลือด มีอาการท้องเดินมากๆ
  • ระบบประสาทผิดปกติ

การป้องกัน ค่อยๆ เปลี่ยนท่านั่ง ท่ายืน ลุกขึ้นจากเตียงและเก้าอี้อย่างช้าๆ หรือตอนที่ลุกจากที่นอนให้นั่งก่อนสักพักค่อยลุกจากเตียง ขณะเปลี่ยนท่าอย่างช้าๆ ให้เกาะสิ่งต่างๆ รอบตัว เช่น หัวเตียง ก่อนลุก นอกจากนี้การออกกำลังกายบริหารขาโดยการเดินหรือการย่อตัว วันละหลาย ๆ ครั้ง ๆ ละหลาย ๆ นาที ก็ช่วยลดอาการเป็นลมเมื่อเปลี่ยนท่าได้

  1. เป็นลมเพราะเบ่ง

อาการที่พบ หน้ามืด เป็นลม เพราะกลั้นหายใจและเบ่งมากเกินไป เช่น เบ่งอุจจาระเมื่อท้องผูกมากๆ ยกของหนักๆ หรือผลัก/ดันของหนักๆให้เคลื่อนที่ การเบ่งทำให้เลือดเข้าสู่หัวใจน้อยลง เพราะต้องกลั้นหายใจแล้วเบ่ง ทำให้หัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายและสมองน้อยลง

การป้องกัน ไม่ควรเบ่งอย่างรุนแรง

  1. เป็นลมเพราะไอ

อาการที่พบ หน้ามืดหรือเป็นลมเพราะไอติดต่อกันนานๆ เช่น ผู้ป่วยโรคไอกรน (พบมากในเด็ก) โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง หรือโรคถุงลมพอง ที่มาจากการสูบบุหรี่ โดยการการไอหนักๆ ติดๆ กัน ทำให้ต้องกลั้นหายใจ และหัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายและสมองไม่เพียงพอ เช่นเดียวกันกับการเบ่ง

การป้องกัน อย่าไออย่างรุนแรง หรือไอติดๆ กัน หากเป็นโรคที่มีอาการไอ ควรรีบรักษา

  1. เป็นลมเพราะปัสสาวะ

อาการที่พบ ในบางรายเบ่งปัสสาวะเพราะปัสสาวะ จึงเกิดอาการเป็นลมหน้ามืดเหมือนการเบ่งอุจจาระ รวมถึงคนที่เป็นลมหลังปัสสาวะ เพราะกระเพาะปัสสาวะโป่ง (เพราะไม่ได้ปัสสาวะเป็นเวลานาน หรือเพราะดื่มสุรา หรือน้ำ ทำให้มีปัสสาวะมาก) พอพอถ่ายปัสสาวะจนสุด กระเพาะปัสสาวะที่โป่งแล้วแฟบลงทันที ทำให้หลอดเลือดทั่วร่างกายขยายตัว ทำให้ความดันเลือดตก เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ จึงเกิดอาการหน้ามืดเป็นลมได้ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับผู้ชายที่ดื่มแอลกอฮอล์มากๆ

การป้องกัน อย่ากลั้นปัสสาวะนานๆ ถ้ากลั้นปัสสาวะมานานแล้วควรนั่งปัสสาวะ (ไม่ยืน) อย่าปัสสาวะจนสุด ค่อยกลับมาปัสสาวะต่อในอีก 5-10 นาที หากมีอาการบ่อยๆ หลังดื่มแอลกอฮอล? ควรลดการดื่มลง

  1. เป็นลมจากอารมณ์

อาการที่พบ มีทั้งเป็นลมจากอารมณ์เสียใจ ตกใจ โกรธ เครียด หรือหลวาดกลัว รวมถึงเป็นลมจากการอุปาทานจากการผิดหวังอย่างรุนแรง หรือรู้สึกถูกทอดทิ้ง โดยผู้ป่วยจะยังมีอาการปกติ (ไม่หมดสติ) ไม่มีอาการหน้าซีด มือเท้าซีด ตัวเย็น หรือเหงื่อแตก ไม่ดีขึ้นแม้จะนอนราบลงแล้ว แต่อาการจะดีขึ้นหรือหายไปถ้าอยู่คนเดียวนอกจากเป็นลมยังอาจพบอาการอื่นๆ เช่น ชัก ปวดศีรษะรุนแรง ปวดท้องรุนแรง เป็นต้น

การป้องกัน แก้ไขความผิดหวังที่เป็นสาเหตุให้เบาบางลง อธิบายให้เข้าใจ ไม่ดุด่าหรือว่าว่าผู้ป่วยแกล้งเป็นลม เพราะที่จริงแล้วผู้ป่วยไม่ได้แกล้ง แต่ความผิดหวังนั้นถูกเปลี่ยนเป็นอาการทางกาย ครอบครัวควรให้ความใกล้ชิด ความอบอุ่น และความช่วยเหลือแก่คนไข้ จะป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเป็นลมเพราะอารมณ์อีก

  1. เป็นลมเพราะหัวใจ

อาการที่พบ หัวใจทำงานผิดปกติ เช่น หัวใจเต้นผิดปกติ หัวใจหยุดเต้น หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ หรือหัวใจเต้นเร็วเกินไป รวมไปถึงความผิดปกติของหัวใจอื่นๆ เช่น  ลิ้นหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจถูกบีบอัด หลอดเลือดปอดถูกอุด หลอดเลือดเอออร์ตาแยก

การป้องกัน รักษาโรคหัวใจที่เป็นอยู่ให้อาการดีขึ้น

  1. เป็นลมเพราะสมองหรือระบบประสาท

อาการที่พบ เป็นหนึ่งในอาการของโรคประจำตัวที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคลมชัก แต่พบอาการเป็นลมได้เพียงส่วนน้อย

การป้องกัน รักษาโรคประจำตัวที่เกี่ยวกับระบบประสาทให้ดี

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ